ประเทศไทยในช่วงก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ข่าวทั่วไป Tuesday December 24, 2013 12:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--คอลลิเออร์ส ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงปลายปีพ.ศ.2558 ซึ่งรัฐบาลและเอกชนต่างคาดว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในครั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนตอนบน (ลาวกัมพูชาเมียนมาร์และเวียดนาม)ซึ่งน่าจะมีความสำคัญมากขึ้นหลังจากเข้าสู่AEC ในปีพ.ศ.2558 โดยเฉพาะเรื่องของการทำธุรกิจการค้าการท่องเที่ยวและธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันจังหวัดตามแนวชายแดนสำคัญและจังหวัดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในทุกภาคของประเทศไทยขยายตัวมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยก็มีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สุรเชษฐกองชีพรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยคอลลิเออร์สอินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า“กรุงเทพมหานครและจังหวัดข้างเคียงจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องต่อไปในอนาคตเพราะว่ากรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการลงทุนและการทำธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศไทย” ตลาดอาคารสำนักงานกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้นหลังจากที่มีการเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2554 - 2556 “อัตราการเช่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง1 – 2 ปีที่ผ่านมาค่าเช่าเองก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอาคารสำนักงานเกรดA ในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ (CBD) โดยบางอาคารมีค่าเช่ามากกว่า800 บาทต่อตารางเมตรเพราะว่าในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ (CBD) อุปทานพื้นที่อาคารสำนักงานมีจำกัดในขณะที่ความต้องการจากบริษัทในประเทศไทยและต่างชาติมีมากขึ้นอัตราการเช่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรดA เพพิ่มขึ้นมากกว่า12% จากปีพ.ศ.2553” สุรเชษฐกล่าว แบรนด์สินค้าต่างชาติต่างก็มองหาลู่ทางในการเปิดร้านหรือขยายสาขาในศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นๆดังนั้นตลาดพื้นที่ค้าปลีกมีความน่าสนใจและน่าดึงดูดมากกว่าช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ “แม้ว่าคอมมูนิตี้มอลล์จะยังคงเป็นรูปแบบพื้นที่ค้าปลีกที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกแต่ยังมีศูนย์การค้าหลายแห่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและบางแห่งจะมีผลกระทบต่อตลาดพื้นที่ค้าปลีกเมื่อเปิดให้บริการพื้นที่ที่มีที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากได้กลายเป็นทำเลที่มีการพัฒนาโครงการพื้นที่ค้าปลีกมากขึ้นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายโครงการเริ่มการพัฒนาโครงการใมนพื้นที่เหล่านี้แล้วเช่นโครงการเซ็นทรัลเวสต์เกทเมกาบางใหญ่และเมการังสิตนอกจากนี้จังหวัดตามแนวชายแดนและจังหวัดท่องเที่ยวบางจังหวัดทั่วประเทศไทยก็ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ในการพัฒนาโครงการพื้นที่ค้าปลีก”เขากล่าว ผู้ประกอบการโครงการที่อยู่อาศัยหลายรายมีการเปิดขายโครงการใหม่ในบางจังหวัดทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมซึ่งนอกจากจังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดชายทะเลแล้วจังหวัดเชียงใหม่ขอนแก่นอุดรธานีก็ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม“โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายในกรุงเทพมหานครจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยมากขึ้นนอกจากนี้ในอีกหลายจังหวัดและโดยเฉพาะจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญของแต่ละภาคมีโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2556 - 2558” สุรเชษฐกล่าวเพิ่มเติม จังหวัดขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทยมีการขยายตัวค่อนข้างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของแต่ละจังหวัดเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากหลายปีก่อนหน้านี้รายได้ขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและรายได้ต่อหัวของประชากรในพื้นที่รวมทั้งจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัดก็เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดเศรษฐกิขนาดใหญ่นอกจากนี้รัฐบาลก็มีแผนที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและตลาดให้มีความน่าสนใจมากขึ้น “หลายจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทยได้กลายเป็นเป้าหมายในการลงทุนใหม่ของนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติเพราะว่าอยู่ไม่ไกลจากเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันเพราะว่าระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในประเทศอื่นๆยังคงไม่มีความพร้อมดังนั้นชาวต่างชาติจำนวนมากเลือกที่จะพักอาศัยในประเทศไทยและข้ามชายแดนไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นโดยสถิตสูงที่สุดคือในปีพ.ศ.2555 ที่มีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านบาทและอาจจะมากกว่านั้นในปีพ.ศ.2556 โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีเส้นทางติดต่อโดยตรงกับกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางสะพานมิตรภาพ”สุรเชษฐกล่าว “ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสูงAEC นั้นทุกประเทศได้มีการเปลี่ยนกฎหมายและกำระเบียบข้อบังคับต่างๆรวมทั้งมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลายประเทศมีการประกาสเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติซึ่งประเทศเหล่านี้ต่างก็ต้องการการลงทุนจากต่างชาติเพื่อพัฒนาและยกระดับรายได้ของประเทศตนเองซึ่งบางความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเขตเศรษฐกิจพิเศษในลาวและเมียนมาร์รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นถนนในแต่ละประเทศให้มีการเชื่อมต่อกันทั้งภูมิภาคนั้นได้ส่งผลบวกต่อประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดตามแนวชายแดน”เขากล่าว การที่รัฐบาลมีแผนจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับจังหวัดตามแนวชายแดนบางจังหวัดและจังหวัดที่อยู่ในแนวเส้นทางการพัฒนาซึ่งสุรเชษฐได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า“จังหวัดเชียงใหม่ขอนแก่นอุดรธานีนครราชสีมาอุบลราชธานีชลบุรีระยองเพชรบุรีปรจวบคีรีขันธ์นครศรีธรรมราชและสงขลาเป็นจังหวัดที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ที่จะมีการขยายตัวต่อเนื่องต่อไปในอนาคตซึ่งการขยายตัวของจังหวัดเหล่านี้จะส่งผลให้จังหวัดขนาดเล็กที่อยู่รอบๆและจังหวัดชายแดนบางจังหวัดเช่นเชียงรายตากลำพูนราชบุรีกาญจนบุรีและหนองคายขยายตัวมากขึ้นนอกจากนี้บางจังหวัดอย่างเช่นพิษณุโลกจะมีความสำคัญมากขึ้นเพราะว่าตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดีตามแนวเส้นทางการพัฒนาจังหวัดตามแนวชายแดนและจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญมีความน่าสนใจมากขึ้นในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาและจะคงความน่าสนใจต่อเนื่องไปในอนาคตแม้ว่าโครงการพัฒนาต่างๆของจากภาครัฐจะเลื่อนออกไปหรือว่าไม่เกิดขึ้นก็ตามเพราะว่าปัจจัยภายนอกประเทศอีกหลายอย่างจากประเทศเพื่อนบ้านเช่นเขตเศรษฐกิจพิเศษในลาวเมียนมาร์และกัมพูชารวมทั้งการที่บางประเทศรอบๆประเทศมีการเปิดประเทศต้อนรับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น” ปัญหาทางการเมืองเป็นปัจจัยภายในเพียงอย่างเดียวที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและการพัฒนาของประเทศนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งคนไทยต่างก็หวังว่าจะมีทางออกที่นุ่มนวลต่อทุกฝ่ายในเร็ววันนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ