ราคูเท็นตลาดดอทคอมเผย 10 แนวโน้มอีคอมเมิร์ซ ใน ปี พ.ศ.2557

ข่าวเทคโนโลยี Thursday February 20, 2014 09:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.พ.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่น คุณภาวุธพงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง ราคูเท็น ตลาดดอทคอม คาดการณ์ถึงปี พ.ศ.2557 ว่าเป็นปีที่น่าจับตามาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับวงการอีคอมเมิร์ซของไทย สังเกตได้จากจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรกผ่านทางโทรศัพท์มือถือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บริการทางการช้อปปิ้งออนไลน์มีแนวโน้มดีขึ้นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ก็เข้าถึงอีคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้น คุณภาวุธในฐานะผู้บุกเบิกของวงการอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยผู้ซึ่งเห็นการพัฒนาของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทยมาอย่างยาวนานได้แชร์มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยในปี พ.ศ.2557 นี้ 1.การค้าผ่านมือถือจะเติบโตสูงมาก (M-Commerce) ยอดขายสมาร์ทโฟนคิดเป็นครึ่งหนึ่งของยอดขายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย จากปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปในปี พ.ศ.2557 โดยปีนี้จะเป็นปีที่โทรศัพท์มือถือกลายเป็นช่องทางหลักของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้คนราคูเท็นตลาดดอทคอมพบว่าการขายสินค้าผ่านทางมือถือเติบโตขึ้นถึง 158% แสดงให้เห็นว่า คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์มือถือในการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อติดตามข่าวสารเพียงอย่างเดียว 2.โมบายแช็ทและโซเชี่ยลมีเดียจะเป็นช่องทางในการช่วยร้านค้าเพื่อเพิ่มยอดขาย (Mobiel Chat & Social Media)โมบายแช็ท หรือ การส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นทางมือถือกำลังได้รับความนิยมในหมู่คนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ แอพพลิเคชั่น LINE ที่พบว่ามีจำนวนผู้ใช้ถึง 20 ล้านคน บันทึกเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2556 และในเดือน ธันวาคมปีที่ผ่านมานั้น ราคูเท็น ตลาดดอทคอม ได้เปิดตัว Official Account ผ่านแอพพลิเคชั่น LINE เพื่อติดต่อสื่อสารโดยตรงกับนักช้อป รวมไปถึงเพื่ออัพเดตและแชร์ข้อมูลของร้านค้าและโปรโมชั่นพิเศษต่างๆหลังจากเปิดตัวเพียง 3 เดือน พบว่ามีจำนวนยอดผู้ติดตามถึง 6 ล้าน และเราวางแผนว่าจะใช้ช่องทางนี้ในการเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้าของเราในปี พ.ศ.2557 นี้ 3. จำนวนผู้แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ในขณะนี้การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยสูงขึ้นเนื่องจากจำนวนคู่แข่งในตลาดไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งต่างชาติหรือคู่แข่งในไทยต่างก็อยากที่จะสร้างแพลตฟอร์มในไทยกันทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะให้บริการกับนักช้อปได้อย่างดีกว่าเจ้าอื่นๆ ในโอกาสนี้ ราคูเท็นตลาดดอทคอม จึงเตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจของคุณง่ายดายกว่าที่ผ่านมา คราวนี้ทั้งนักช้อปและร้านค้าต่างจะได้รับประโยชน์จากแพลตฟอร์มใหม่นี้แน่นอน 4. การแข่งขันทางราคาจะเป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น นักช้อปทุกคนชอบที่จะชิ้ปปิ้งสินค้าที่ราคาถูกที่สุด เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาทั้งหลายจึงคอยช่วยเหลือนักช้อปในการค้นหาข้อเสนอที่มีราคาที่ดีที่สุดมาให้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ www.attackprice.comหรือwww.priceza.com ต่างก็ช่วยนักช้อปเฟ้นหาร้านค้าที่มีราคาดีที่สุดเช่นกัน และแน่นอน คุณจะพบร้านค้าของราคูเท็นตลาดดอทคอมในเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาเหล่านี้แน่นอน! 5. การค้าออนไลน์กับคนเฉพาะกลุ่มจะมีมากขึ้น (Vertical E-Commerce) การขายออนไลน์กำลังเติบโตขึ้นอย่างมา จึงทำให้เกิดการค้าขายกับตลาดและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ เพราะต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้เป็นอย่างดีราคูเท็นตลาดดอทคอมพบว่า จำนวนตัวเลขของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น 46%โดยมีความหลากหลายของประเภทสินค้ามากขึ้น วงการอีคอมเมิร์ซไทยยังคงเติบโตได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อแม่และเด็ก ร้านสัตว์เลี้ยง เครื่องมื่อคเรื่องใช้ในครัว และสินค้าสำหรับกลุ่มชายรักชายเป็นต้น 6. สินค้าดิจิตอลจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า (Digital Content) สินค้าดิจิตอลประเภทซอฟต์แวร์, แอพพลิเคชั้น, e-book หรือบริการทางออนไลน์ต่างๆ จะขายดีมากขึ้นในปีนี้ เห็นได้ชัดว่าคนไทยนิยมซื้อสินค้าประเภทดิจิตอลอยู่แล้ว แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าสินค้าประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นของต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้คนที่จะทำสินค้าประเภทนี้มาขาย ซึ่งข้อดีคือการขายสินค้าประเภทดิจิตอล จะไม่มีค่าส่งสินค้า และไม่ต้องกังวลเรื่องการสต๊อกสินค้า เมื่อลูกค้าจ่ายเงินเราสามารถส่งมอบได้ทันที และยังสามารถขายได้ทั่วโลกอีกด้วย 7. การตลาดออนไลน์จะฉลาดเป็นกรดมากขึ้น (Advance Online Marketing) การตลาดออนไลน์ช่วยให้ร้านค้าเข้าใจลูกค้าดีขึ้นอีกทั้งจะช่วยให้ร้านค้ารู้ว่าควรใช้กลยุทธ์ไหนในการเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุด นอกจากนี้ยังช่วยในการลดงบประมาณการตลาดและช่วยเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้าอีกด้วย เทคนิคการตลาดออนไลน์ก็อย่างเช่น การตลาดแบบติดตามลูกค้า ซ้ำและย้ำอีกครั้ง (Re-Targeting) ที่จะติดตามลูกค้าไปทุกที่ เพื่อปิดการขายให้ได้หรือจะเป็น การตลาดแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Marketing) ที่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าของคุณได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของคุณได้มากขึ้น 8. การชำระเงินผ่านออนไลน์จะเติบโตสุดๆ (Online Payment) ความสะดวกสบายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทุกคนต้องการ คนไทยหันมาใช้บริการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง บัตรเครดิตหรือชำระเงินผ่านมือถือมากขึ้น ปัจจุบันการรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินที่ดีขึ้นหมายถึงผู้คนจะได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นในการชำระเงินออนไลน์ อีกทั้งยังเพลิดเพลินไปกับความรวดเร็วและย่นระยะเวลาการทำธุรกรรมทางการเงินไปได้อีกด้วย นอกจากนี้การมีช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่หลากหลายจะช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกในการชำระเงินที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยการชำระเงินผ่านระบบธนาคาร หรือช่องทางอื่นๆเช่น ThaiEpay.com หรือ Paysbuy.com ช่องทางเหล่านี้เองที่จะช่วยสนับสนุกให้ผู้คนหันมาช้อปปิ้งผ่ายอีคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้น 9. ระบบจัดการและส่งสินค้าครบวงจร (Fulfillment) การจัดการกับธุรกิจที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆอาจะเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยอดขายของคุณพุ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่หากธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นจนมียอดขายมากถึง 50-100 รายการต่อวันจะทำให้การจัดการ การบริหารสินค้า, การส่งสินค้า, การติดต่อประสานกับลูกค้าจะกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและวุ่นวายขึ้นมาก ราคูเท็นตลาดดอทคอมจึงมีแผนเปิดตัวระบบการจัดการแบบครบวงจรเพื่อช่วยร้านค้าในการบรรจุสินค้าและจัดส่งสินค้าให้ถึงมือนักช้อปทั้งหลายอย่างง่ายดาย เพียงแค่ร้านค้านำใบสั่งซื้อจากนักช้อปมาให้เราเท่านั้น เหล่าทีมงานจะคอยช่วยเหลือท่านในขั้นตอนต่อไปเอง 10. การเปลี่ยนผู้ชมเป็นผู้ซื้อ (Conversion) สิ่งที่คนทำการค้าออนไลน์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ “การเปลี่ยนผู้ชม (Visitor) ให้เป็นผู้ซื้อ (Buyer) หรือเราเรียกว่า Conversion (CVR)” เพราะหากเว็บไซต์ของคุณมีคนเข้าหมื่นคนต่อวัน แต่มันจะไม่มีความหมายเท่าใด หากคนเหล่านั้นเค้าไม่ซื้อของอะไรเลย ดังนั้น อัตราการเปลี่ยนผู้ชมเป็นผู้ซื้อ (CVR) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจคุณจะต้องโฟกัส ที่ผ่านมาหลายๆ ธุรกิจไม่เคยสนใจสิ่งนี้เลย วิธีการหา CVR ง่ายๆ คือการนำ ยอดขาย (Order) หารกับจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ (Visitor) โดยตัวเลขมักจะเป็นเปอร์เซ็นต์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ