“แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่” สานต่อซื้อ-ขายงานศิลป์ ชูกลยุทธ์สร้างผลงานโดนใจ “คอลเลคเตอร์”

ข่าวทั่วไป Tuesday October 14, 2014 13:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่ คุณจงสุวัฒน์ อังคสุวรรณศิริ ผู้อำนวยการ แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่ ซึ่งเป็นตัวแทนส่งผลงานด้านศิลปะของศิลปินไทย ออกไปสู่ตลาดการซื้อ-ขายงานศิลป์ระดับโลกรายแรกของประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลตอบรับภายหลังการนำผลงานของศิลปินไทยไปโรดโชว์ในงานระดับโลก ตลาดการลงทุนซื้อ-ขายภาพศิลปะตอบรับเป็นอย่างดี มีคอลเลคเตอร์หลายประเทศ?ให้ความสนใจกับผลงานของศิลปินไทยเป็นอย่างมาก “สิ่งที่จะทำให้การซื้อขาย-ภาพศิลปะเป็นการลงทุนทำธุรกิจในเชิงสร้างผลกำไร สามารถจะสร้างมูลค่าได้หลายวิธี แต่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการร่วมมือจากหลายฝ่าย ทางแกลอรี่ที่ร่วมงานกับศิลปินควรจะคอยสำรวจตลาดและร่วมมือกับศิลปินในการพัฒนาฝีมือและรูปแบบการนำเสนอผลงาน เพื่อให้คอลเลคเตอร์และนักลงทุนได้รับรู้ถึงความก้าวหน้า และการเติบโตของศิลปินในแต่ละนิทรรศการ โดยแกลอรี่ควรจะทยอยปรับราคาของศิลปินเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของศิลปิน ในส่วนศิลปินก็ควรร่วมมือกับทางแกลอรี่ในการไม่ผลิตผลงานมากจนเกิน ไป เพื่อให้นักสะสมได้มีความรู้สึกพิเศษต่อภาพเขียนแต่ละชิ้น และเมื่อผลงานของศิลปินเริ่มหายากขึ้น ทางนักสะสมก็จะทยอยขายต่องานที่ตัวเองสะสม หรือแลกเปลี่ยนกับนักสะสมท่านอื่น มูลค่าของงานศิลปะก็จะเติบโตขึ้นตามกลไกตลาด แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่ มีแนวทางการเพิ่มศักยภาพให้ศิลปินไทย เพื่อสร้างผลงานให้สอดรับกับความต้องการของนักสะสมภาพและนักลงทุน โดยเน้นให้ศิลปินไทยจะต้องเพิ่มเติมความรู้ในหลายแขนง โดยเฉพาะทางวัฒนธรรม และวรรณกรรม เพื่อขัดเกลาความคิดของศิลปินให้มีแง่มุมหลากหลายและลึกยิ่งขึ้น เพื่อจะสามารถนำเสนอผลงานในมิติที่มีความน่าสนใจ และการวางคอนเซปต์ให้กับชิ้นงานให้เข้าถึง ทั้งนักสะสมภาพและนักลงทุนได้มากขึ้น ทางแอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่เองมีส่วนช่วยศิลปินในการทำการบ้านและการรีเสิร์ช เมื่อร่วมงานกับศิลปินและทราบถึงแนวคิด หรือคอนเซปต์ที่ศิลปินต้องการนำเสนอ ทางแกลอรี่ควรจะช่วยศิลปินในการหาข้อมูล นำแง่คิดมากระเทาะให้ถึงแก่น นำมุมมองมาขัดเกลาให้เป็นคอนเซปต์ที่ชัดเจน และกรองออกมาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เมื่อตั้งใจจะให้นักสะสมทั่วไปเสพ อาจจะเป็นงานที่เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย ในขณะที่ทำงานให้นักวิจารณ์ หรือให้กับพิพิธภัณฑ์ จำเป็นจะต้องมีเนื้อหาหรือความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ศิลปินจะต้องเปิดใจเพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้าต่อไปได้ “ตัวของศิลปินควรใส่ใจกับคุณภาพของชิ้นงานศิลปะ และความละเอียดเรียบร้อยของการนำเสนอผลงาน เช่น ความสะอาดของผ้าใบ ความคงทนของเฟรม การเลือกสีที่ไม่ทำให้เหลืองเมื่อเก็บเป็นเวลายาวนาน ผลงานของศิลปินไทยเราเริ่มเป็นที่จับตามองในตลาดระดับโลก โดยเฉพาะเรื่องการเพ้นท์ ถือว่าไม่แพ้ชาติอื่นๆ แต่ปัญหาที่พบคือ รูปแบบของการนำเสนอยังเรียบง่ายเกินไป และยังไม่ดึงดูดความสนใจของนักสะสมภาพและนักลงทุนมากนัก เนื่องจากผลงานของศิลปินไทย ยังไม่เป็นที่คุ้นหู ประกอบกับยังมีผลงานออกมาน้อย ทำให้นักสะสมภาพและนักลงทุนยังไม่มั่นใจที่จะลงทุน สิ่งสำคัญคือ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปินไทยยังไม่ชัดเจน และบางครั้งยังมีความคล้ายคลึงกับผลงานศิลปินประเทศอื่น ทำให้ศิลปินไทยขาดความโดดเด่น หากศิลปินให้ความสำคัญกับตรงนี้ ก็เชื่อว่าจะทำให้ศิลปินไทยเราเติบโตในตลาดโลกได้ในไม่ช้าครับ”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ