บทความพิเศษ เรื่อง วิธีป้องกันลมพัดพาน้ำออกจากผิวดิน เพราะอากาศหนาว

ข่าวทั่วไป Wednesday November 12, 2014 18:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--ซูม พีอาร์ อากาศที่หนาวเย็นเกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน พาดผ่านประเทศไทย โดยพัดเอาความหนาวเย็นและแห้งเข้ามา แต่นำเอาความชื้นหอบติดไปลงทะเลฝั่งอันดามัน ส่งผลให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศบ้านเราลดน้อยลง ทำให้ความชื้นทั้งในพื้นดินและในอากาศน้อยลงตามไปด้วย พื้นดินจึงแห้งแตกระแหง พืชเกิดการพักตัวเพื่อสะสมอาหาร เหี่ยวเฉา ใบแห้งเหลือง และหยุดการเจริญเติบโต การดูแลรักษาความชุ่มชื้นในดินจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะการใช้เศษตอซังฟางข้าว หรือนำเศษซากเหลือใช้จากอินทรีย์วัตถุ ฟาง เศษใบอ้อย กิ่งไม้ใบหญ้าที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ต่างๆ ถ้าเป็นชิ้นใหญ่ ก็ทำการหั่น สับ บด ให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการนำไปคลุมผิวดิน อินทรีย์วัตถุเมื่อนำไปคลุมผิวหน้าดิน คลุมโคนต้นก็จะช่วยดักน้ำและความชื้นมิให้สูญเสียไปสู่อากาศโดยง่าย อีกทั้งทำหน้าที่เป็นบ้านช่วยบังแสงแดดให้จุลินทรีย์ ลดการสูญเสียของจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น แอคติโนมัยซิท โปรโตซัว มัยคอร์ไรซ่า ไรโซเบียม ไส้เดือน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยรักษาคุณภาพของดินให้ดีอยู่ตลอดเวลา นอกจากประโยชน์จากการคลุมหน้าดินแล้วยังสามารถหมักเป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกให้พืชอีกด้วย ทั้งยังช่วยลดโลกร้อนจากการเผาไหม้ และลดก๊าซเรือนกระจกไปสู่ชั้นบรรยากาศได้เป็นอย่างดี ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จึงแนะนำวิธีแก้ปัญหาภัยแล้งในกรณีที่ขาดแคลนแหล่งน้ำอย่างหนัก โดยใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ 1 กิโลกรัม นำไปแช่น้ำ 200 ลิตรทิ้งไว้ 3 - 4 ชั่วโมง หรือ 1 คืน ก็จะพองขยายตัวออกมาอย่างเต็มที่ แล้วนำไปรองก้นหลุมก่อนปลูก หรือจะนำไปใส่ไว้ข้างต้นไม้หรือพืชที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ยืนต้นตายก็ทำได้เช่นกัน โดยการขุดหลุมประมาณ 50x50 เซนติเมตร หรือขึ้นอยู่กับขนาดของพืชแต่ละชนิด แล้วทำการกลบให้มิดชิดอย่าให้โดนแสงแดด เพื่อกักเก็บความชื้นไว้ให้ดีที่สุด จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ทำให้พืชมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอด 3-6 เดือนโดยไม่ต้องรดน้ำ และอยู่รอดปลอดภัย ผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งไปได้ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680-2 สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ