ราคูเท็น ตลาดดอทคอมเผยทิศทางการค้าปลีกใน เอเซียแปซิฟิคปี 2015

ข่าวทั่วไป Tuesday December 30, 2014 14:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ธ.ค.--SPARK COMMUNICATIONS ร้านค้าควรจะคิดรูปแบบการนำเสนอโปรโมชั่นใหม่ๆ เนื่องจากการแข่งขันระหว่างประเทศนั้นเข้มข้นมากขึ้น การเติบโตของโมบายคอมเมิร์ซเป็นเชื้อเพลิงหลักให้กับการซื้อขายออนไลน์ ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซนั้นจะขยายขึ้นอีก 20.1 เปอร์เซนต์ภายในสิ้นปี 2557นี้ โดยน่าจะมีเงินสะพัดถึง 1.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐทั่วโลก หรือ 48 ล้านล้านบาทไทยเลยทีเดียว ทั้งนี้ ตลาด B2C หรือการค้าจากธุรกิจสู่ผู้บริโภคในทวีปเอเซียแปซิฟิคนั้นขยายขึ้นเกือบสองเท่าจาก 3 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 525,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ในขณะเดียวกันรายได้ของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยในปี 2557 นั้น คาดว่าจะสูงถึง 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาทไทย แม้ว่าอัตรการเติบโตในปี 2015 มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง แต่ยอดขายของตลาดอีคอมเมิร์ซน่าจะขยายตัวขึ้นอีก 17.7% เป็น 1.77 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 56.64 ล้านล้านบาทไทย ซึ่ง 680,000 ล้านบาทจากตัวเลขดังกล่าวนั้นน่าจะมาจากทวีปเอเซีบแปซิฟิค สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอีก 6 พันล้านบาทในระหว่างปี 2563 ถึง 2568 ร้านค้าหัวสมัยใหม่รายหลายเริ่มมองหาแนวทางการเติบโตใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการตลาดที่ถูกต้องหรือสร้างกลยุทธ์ที่เจาะจงกลุ่มลูกค้าก็ตาม ในปีหน้าร้านค้าเหล่านั้นจะฝ่ายชนะใจลูกค้าไป เทศกาลปีใหม่ใกล้เข้ามาทุกที นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ราคูเท็น ตลาดอทคอม จึงได้ออกมาเผยมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วโลกในช่วง 12 เดือนข้างหน้า โปรโมชั่นออนไลน์ อันดุเดือด เนื่องจากร้านค้าอีคอมเมิร์ซเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด วิธีการดึงลูกค้าได้ดีที่สุดของทุกรายคือ การจัดโปรโมชั่น ทั้งลดราคาและแจกคะแนนสะสม ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดก็คือ ผู้บริโภค ทำให้ความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่ำมาก เพราะใครเสนอราคาที่ถูกกว่าและต่ำกว่า ผู้บริโภคก็พร้อมจะเปลี่ยนใจไปซื้อได้ทันที ดังนั้นการจะสร้างความแตกต่างและอยู่เหนือคู่แข่งรายอื่นๆ ร้านค้าควรจะสร้างความประทับใจใน “การซื้อครั้งแรก (1st purchase)” พร้อมกับปรับปรุงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าปัจจุบัน ใช้ประโยชน์จาก social media ให้เป็นช่องทางหลักในการสือสารกับลูกค้า โปรโมชั่นและการตลาดแบบเจาะจงแต่ละบุคคล ด้วยการเปิดกว้างของเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถทราบถึงพฤติกรรมของลูกค้าเราได้ดียิ่งขึ้น เราทราบว่าลูกค้าซื้ออะไร เมื่อไร เค้าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย อยู่ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพ รวมถึงข้อมูลของผู้ซื้อมากมาย ทำให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อทำ โปรโมชั่น แบบระบุกลุ่มเป้าหมาย หรือระบุตัวคนได้ได้ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารในโลกออนไลน์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำมากขึ้น การค้าออนไลน์แบบตลาดเฉพาะกลุ่มยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ตอนนี้นักลงทุนหลายๆ คนต่างสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจ E-Commerce กันอย่างมาก ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศต้องการจะเข้ามาลงทุนเกี่ยวกับ E-Commerce ทำให้ผู้เล่นปัจจุบันต้องพัฒนาเกมส์และแผนการตลาดของตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วย ร้านค้าจึงสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดแบบระบุกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น เสื้อผ้าคนอ้วน, เสื้อผ้ารองเท้ากีฬา, อุปกรณ์ทำสวน เป็นต้น ซึ่งสินค้าเฉพาะกลุ่มเหล่านี้มีกำลังซื้อสูงมาก โดยเฉพาะหากคุณสินค้าของคุณมีคุณภาพด้วยแล้ว คุณก็จะสามารถชนะใจลูกค้ากลุ่มนี้ไปได้ง่ายๆเลย หากผู้ประกอบกิจการ SME ใช้วิธีเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม ก็จะสามารถแสดงความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆได้ ยุคทองของการค้าผ่านมือถือมาแล้ว เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่คนไทยในทุกชนชั้นใช้มือถือเป็นช่องทางหลักในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตแล้ว มากกว่า 77% ของคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ หลายคนเริ่มต้นใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ ซึ่งตัวเลขยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อมองจากมุมมองของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ ลูกค้าของคุณกำลังขยับขยายจากการ ช้อปปิ้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไปช้อปปิ้งบนมือถือแทน ดังนั้นหากธุรกิจออนไลน์ของคุณยังไม่มีเว็บไซต์ที่มีหน้าที่รองรับขนาดของมือถือและยังไม่มีการตลาดที่เน้นให้คนเข้ามาทางมือถือโดยเฉพาะ คุณอาจจะสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งของคุณได้ง่ายๆ ในปีหน้านี้ ราคูเท็น ตลาดดอทคอม คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนร้านค้าปลีกที่จะลงทุนในเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานบนมือถือ เพราะการเติบโตที่รวดเร็วของเอ็มคอมเมิร์ซและจะไปขับเคลื่อนการค้าครอบคลุมช่องทาง และจะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจบนหลายแพลตฟอร์ม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ