ฝูงบินที่ปฏิบัติการในภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2576

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 11, 2015 09:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--โทเทิ่ล ควอลิตี้ พีอาร์ โดยระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง รวมถึงแนวโน้มการเดินทางที่เพิ่มขึ้น คือปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของฝูงบิน ฝูงเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารที่ถูกปฏิบัติการในภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มจำนวนจาก 700 ลำในปัจจุบัน เป็นจำนวนกว่า 1,200 ลำ ในปี 2576 โดยจะมีจำนวนเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตทางการบินกับตลาดที่มีความสำคัญแห่งอื่นๆ เช่น อเมริกาเหนือและยุโรปแล้ว ภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้เป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มการเดินทางต่อคนสูงที่สุดในโลก การคาดการณ์ตลาดโลก (Airbus’ Global Market: GMF) ของแอร์บัสระบุว่า การจราจรระหว่างประเทศของภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 4.5 ในทุกปี โดยการจราจรที่เดินทางออกจากหรือไปสู่ตลาดที่กำลังพัฒนาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงจะเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเดินทางไปยังเอเชียที่มีอัตราร้อยละ 5.1 ละตินอเมริกา ร้อยละ 6.2 แอฟริกา ร้อยละ 6.3 และตะวันออกกลางร้อยละ 5.4 ซึ่งต่างเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกทั้งหมด (ร้อยละ 4.7) ในขณะที่ฝูงบินที่ปฏิบัติการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 70 เครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมกว่าเท่าตัว จากจำนวนเครื่องบินราว 290 ลำในปัจจุบัน เป็น 640 ลำในปี 2576 ในอีก 20 ปีข้างหน้า ฝูงเครื่องบินผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคใต้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นราว 500 ลำ (ประกอบด้วยเครื่องบินทางเดินเดี่ยว เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ320 เครื่องบินแอร์บัส เอ320 นีโอ จำนวน 146 ลำ และเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างที่มีจำนวนที่นั่งระหว่าง 250 ไปจนถึงกว่า 500 ที่นั่ง เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ330 เครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ เครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี และเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จำนวน จำนวน 353 ลำ) แนวโน้มการเดินทางของภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้ (ซึ่งมีอัตราการเดินทางกว่า 3 ครั้งต่อคน) เป็นอัตราที่สูงกว่าแนวโน้มในการเดินทางของอเมริกาเหนือเกือบเท่าตัว และจะยังมีแนวโน้มการเดินทางที่สูงสุดในโลกต่อไปในอนาคต ด้วยอัตราการเดินทางกว่า 4 ครั้งต่อคนในปี 2576 สำหรับตลาดภายในประเทศ การจราจรที่เดินทางออกจากและไปสู่สนามบินที่มีการใช้บริการมากที่สุดในออสเตรเลีย (ซิดนีย์ เมลเบิร์น แอดิเลด บริสเบน และเพิร์ธ) จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นราว 90 ล้านคนต่อปี ในปี 2576 ในปัจจุบัน การจราจรระหว่างประเทศราวร้อยละ 70 เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่กว้างกว่า ซึ่งรวมสาธารณรัฐประชาชนจีนเอาไว้ด้วย และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต เนื่องจากภูมิภาคดังกล่าวจะกลายเป็นแหล่งกำเนิดค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลกในอัตราร้อยละ 40 ในปี 2576 สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตลาดส่งออกเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และการเชื่อมต่อทางอากาศที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกระตุ้นธุรกิจและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวชาวจีนต่างระบุว่าออสเตรเลียคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางอันดับต้นของพวกเขา การคาดการณ์การท่องเที่ยวขาเข้าของประเทศออสเตรเลียระบุว่าจะมีนักท่องเที่ยวราว 10 ล้านคนต่อปี ในปี 2565 ในปัจจุบัน ร้อยละ 99.7 ของนักท่องเที่ยวเหล่านี้ไปยังประเทศออสเตรเลียทางอากาศ และในอนาคต จะมีปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศออสเตรเลียด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ เพิ่มขึ้น รวมถึง เครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี และเครื่องบินแอร์บัส เอ380 สำหรับเส้นทางที่มีผู้โดยสารหนาแน่นกว่า ในปี 2576 จำนวนเมืองขนาดใหญ่ด้านการบินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเป็นจำนวน 91 เมือง โดยเมืองขนาดใหญ่ด้านการบินในปัจจุบันอย่างซิดนีย์และเมลเบิร์น จะถูกสมทบด้วยเมืองเพิร์ธ บริสเบน และอ็อคแลนด์ ในปี 2576 เมืองศูนย์กลางความมั่งคั่งทั้ง 91 แห่งจะกลายเป็นแหล่งที่มาของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลกด้วยอัตราร้อยละ 35 และจะถูกบริการด้วยเครื่องบินที่มีความสามารถในการจุผู้โดยสารในระดับสูง เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ380 โดยมีการจราจรที่มีพิสัยการบินระยะไกลที่เดินทางออกจากหรือไปสู่เมืองขนาดใหญ่ด้านการบินเหล่านั้นในอัตราร้อยละ 95 การคมนาคมทางอากาศทำให้การเดินทางระยะไกลในภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้ที่มีความกว้างใหญ่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งช่วยสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ใน 10 ปีที่ผ่านมา การจราจรภายในประเทศออสเตรเลียได้มีอัตราเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 90 และยังมีการคาดการณ์แนวโน้มในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง ในอีก 20 ปีข้างหน้า (2557-2576) ทั่วโลก ตามการคาดการณ์ตลาดโลกของแอร์บัส การจราจรของผู้โดยสารจะเติบโตขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการที่มีต่อเครื่องบินบรรทุกสินค้าและเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารลำใหม่ราว 31,400 ราย (โดยมีที่นั่งผู้โดยสารจำนวน 100 ที่นั่งขึ้นไป) ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 4.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝูงเครื่องบินบรรทุกสินค้าและเครื่องบินผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นจากจำนวน 18,500 ลำในปัจจุบันเป็น 37,500 ลำในปี 2576 ซึ่งเป็นจำนวนเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นราว 19,000 ลำ โดยเครื่องบินบรรทุกสินค้าและเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าและเก่ากว่าจำนวน 12,400 ลำจะถูกปลดประจำการ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ