นิด้าโพล: “นายกรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. รูปแบบไหนดี ?”

ข่าวทั่วไป Monday June 8, 2015 10:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “นายกรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. รูปแบบไหนดี ?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 มิถุนายน 2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอรูปแบบและที่มา ของนายกรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. รูปแบบอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข้อเสนอที่มาของนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.40 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น (ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ) รองลงมา ร้อยละ 40.88 ระบุว่า ให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจาก ส.ส. (นายกคนนอก) ได้แต่ต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน ส.ส. (ข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สนับสนุนโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐบาลไม่ขอแก้ไข) ร้อยละ 1.60 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ แบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข้อเสนอที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.04 ระบุว่า ให้ใช้ระบบตามรัฐธรรมนูญ 2550 คือมี ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตละ 1 คน (One Man One Vote) และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อโดยใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง (ข้อเสนอของรัฐบาล) รองลงมา ร้อยละ 26.48 ระบุว่า ให้มี ส.ส. จำนวน 500 คน โดยแบ่งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน แต่ละเขตมี ส.ส. ไม่น้อยกว่า 2 – 3 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน (ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ) ร้อยละ 21.04 ระบุว่า ให้มี ส.ส. จำนวน 450 – 470 คน โดยแบ่งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 250 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (Open List) ไม่น้อยกว่า 200 – 220 คน (ข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สนับสนุนโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ร้อยละ 1.36 ระบุว่า อื่น ๆ แบบใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และกำหนดตามความเหมาะสม และร้อยละ 10.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข้อเสนอที่มาของสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.48 ระบุว่า ให้มี ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 2 คน (ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ) รองลงมา ร้อยละ 25.04 ระบุว่า ให้มี ส.ว. จำนวนไม่เกิน 200 คนซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากรายชื่อที่ได้รับการคัดกรองมาแล้วในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และที่เหลือจะมาจากการเลือกกันเองและการสรรหาจากกลุ่มต่าง ๆ เช่น อดีตข้าราชการระดับสูง องค์กรวิชาชีพ ตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ (ข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลไม่ขอแก้ไข) ร้อยละ 12.56 ระบุว่า ให้มี ส.ว. มาจากการสรรหาทั้งหมดโดยให้มีการแบ่งกลุ่มอาชีพให้ชัดเจน (ข้อเสนอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ร้อยละ 0.48 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ แบบใดก็ได้ ควรแบ่งเป็น ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 1 ใน 3 และสรรหา อีก จำนวน 2 ใน 3 และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.56 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.24 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.04 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.56 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.40 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 11.28 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 20.40 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.48 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.68 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 9.12 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 94.48 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.68 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.88 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 25.52 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 70.56 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.40 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.80 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.28 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 26.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและตัวอย่างร้อยละ 4.48 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.04 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 13.92 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 22.96 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.84 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 17.92 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 11.20 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 4.00 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.60 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.20 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 33.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.16 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ