รพ.หัวใจกรุงเทพ เพิ่มโอกาสการรักษาผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจและปอด ด้วยเครื่อง “ECMO” สำหรับการเคลื่อนย้ายระหว่างโรงพยาบาล พร้อมโชว์ศักยภาพการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤต

ข่าวทั่วไป Friday July 24, 2015 13:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตของโรคหัวใจและปอด เช่น อาการหัวใจวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการปอดอักเสบ หรือ ติดเชื้ออย่างรุนแรง จนปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ เป็นภาวะเร่งด่วนและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก ยิ่งผู้ป่วยวิกฤตที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่อยู่ในสถานพยาบาล ที่ไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม และมีความจำเป็นต้องทำการเคลื่อนย้ายเพื่อส่งไปยังสถานพยาบาล ที่มีความพร้อมมากกว่า จึงมีโอกาสเสี่ยงและอาจเสียชีวิตในระหว่างการเคลื่อนย้ายได้ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพจึงขยายโอกาสการรักษาผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจและปอด โดย เปิดตัว เครื่องหัวใจและปอดเทียม ช่วยการทำงานของหัวใจและปอดระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (TRANSPORT Extracorporeal Membrane Oxygenation) หรือ TRANSPORT ECMO พร้อมโชว์ความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาล และทีมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤต นพ.โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยโรคหัวใจและทรวงอกสูง ด้วยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และประสบการณ์สูง โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา โดยได้ทำการเปิดตัว “เครื่องหัวใจและปอดเทียม ช่วยการทำงานของหัวใจและปอดระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (TRANSPORT Extracorporeal Membrane Oxygenation) หรือ TRANSPORT ECMO”ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในการปั๊มเลือดแทนหัวใจ และแลกเปลี่ยนก๊าซแทนปอด สามารถใช้สำหรับผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล หรือใช้เพื่อรับส่งผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ผู้ป่วยในพื้นที่ที่ห่างไกลซึ่งแต่เดิมเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้เพราะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างทาง อีกทั้งสามารถใช้ในผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนหัวใจ หรือปอดจากผู้บริจาคอวัยวะ หรือเพื่อผู้ป่วยที่กำลังรอเวลาในการรักษาด้วยเครื่องมืออื่นๆ ในบางครั้งการที่ผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่ในภาวะวิกฤต เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน การทำงานของปอดล้มเหลว ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ รอการเคลื่อนย้ายเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลที่มีความพร้อมด้านเครื่องมือและการรักษานั้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการหัวใจ หรือปอดหยุดทำงาน ดังนั้นเครื่อง ECMO จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษา อีกทั้งเครื่องดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่องหัวใจและปอดเทียมในโรงพยาบาล ที่จะต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม( Teamwork ) และประสบการณ์ ความรู้ความชำนาญของทีมแพทย์ และทีมเคลื่อนย้าย โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เรามีทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความพร้อม และประสบการณ์สูง ประกอบด้วย 3 ทีมหลัก คือ 1. ทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและโรคปอด ที่สามารถใส่เครื่อง ECMO ได้แก่ แพทย์ด้านการผ่าตัดโรคหัวใจ และทีมแพทย์เคลื่อนย้าย 2.วิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลคนไข้อาการหนักระหว่างการเคลื่อนย้าย 3. นักเทคโนโลยีปอดและหัวใจเทียม มีความชำนาญในการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ที่พร้อมให้การช่วยเหลือคนไข้ในกรณีฉุกเฉิน ประจำรถพยาบาลหรือเฮลิคอปเตอร์ฉุกเฉินเพื่อลำเลียงคนไข้ โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลสมิติเวชซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) BDMS ในการสนับสนุนการลำเลียง และเคลื่อนย้าย เพื่อส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล ที่มีความเหมาะสมต่อไป “จากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะปอดและหัวใจทำงานผิดปกติ ในโรงพยาบาล และการรักษาแบบเคลื่อนที่ กว่า 10 ราย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีความมั่นใจว่า จะสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติที่อยู่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ผศ.นพ ปรัญญา สากิยลักษณ์ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก กล่าวถึง หลักการทำงานของ เครื่อง ECMO ซึ่งโดยทั่วไปจะตั้งอยู่ในห้องฉุกเฉินหรือ ICU ของโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้งานต่อเนื่องได้ 4-6 ชั่วโมง แต่เดิมนั้นเครื่องดังกล่าวมีขนาดใหญ่เท่ากับตู้เย็น 1 เครื่อง ข้อจำกัดที่มีอยู่ทำให้ไม่สามารถนำเครื่อง ECMO ไปใช้งานนอกสถานที่ได้ จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่อง ECMO ให้มีขนาดเล็กลงมีขนาดใกล้เคียงกับเตาไมโครเวฟ ซึ่งมีข้อดีคือสะดวกในการเคลื่อนย้าย และสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นถึง 30 วัน ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายไปพร้อมกับรถพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ถึงจุดเกิดเหตุ หรือในโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลมีความสะดวกมากขึ้น หรือในกรณีที่คนไข้ต้องรอเปลี่ยนปอด หรือหัวใจ จากผู้บริจาคก็จะสามารถรอได้นานขึ้น เครื่องทำงานแทนหัวใจและปอดเทียมเหมาะสำหรับนำไปใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของปอดและหัวใจจากอุบัติเหตุ ภาวะติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด หากปอดของผู้ป่วย ซึ่งเคยทำหน้าที่ฟอกเลือดเกิดไม่ทำงาน โดยทั่วไปแพทย์จะใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ แล้วให้ยาเพื่อรอจนกว่าคนไข้จะฟื้นตัว แต่ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงอยู่ในภาวะวิกฤต คนกลุ่มนี้มักมีความเสี่ยงถึงชีวิต ซึ่งการรักษาโดยปกติ แพทย์จะให้ยาในการกระตุ้น หรือใช้เครื่องปั๊มเพื่อช่วยให้หัวใจทำงานได้ ในกรณดังกล่าวจึงจำเป็นต้องใช้เครื่อง ECMO เพื่อทำหน้าที่เหมือนหัวใจและปอดเทียมของคนไข้ โดยมีโปรแกรมที่สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วย เช่น ใช้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะการทำงานของปอดล้มเหลว มีแอพลิเคชั่นที่รองรับการใช้งานเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจส่วนล่าง และสามารถรองรับการใช้งานแทนหัวใจและปอดเทียมขณะทำการผ่าตัดหัวใจได้ และมีแบตเตอรี่สำรองในกรณีไฟฟ้าดับหรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย “เครื่อง ECMO จะอาศัยหลักการคือนำเลือดดำออกมาจากร่างกาย เพื่อไปฟอกที่เครื่อง ECMO ให้กลายเป็นเลือดแดง จากนั้นจะทำหน้าที่ปั๊มเลือดแดงกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง โดยเครื่องนี้จะมีสารเคลือบป้องกันการแข็งตัวของเลือดซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่หัวใจหรือปอด ที่มีการทำงานผิดปกติไม่สมบูรณ์” ด้าน นพ.อัจฉริยะ แพงมา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การบิน ประจำศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือนกรุงเทพ เสริมว่า สิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตจะต้องมีการทำงานเป็นทีม(Teamwork) ซึ่งประกอบด้วย ทีมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติ และแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการเคลื่อนย้ายซึ่งจะต้องทำการรักษาและนำเครื่อง ECMO ไปใส่ให้กับผู้ป่วยก่อนเคลื่อนย้าย และจะต้องพร้อมในการเคลื่อนย้ายทันที โดยภายในยานพาหนะนั้นๆจะต้องพร้อมด้วย เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความพร้อมรวมถึงการวางแผนอัตรากำลังของทีม ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ และความคุ้นเคยของทีมแพทย์ ที่ผ่านการอบรมเทคนิคการช่วยเหลือผู้ป่วยเฉพาะด้าน ที่เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ในระดับสากล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอาการหนักทางด้านหัวใจและปอด ในอดีตก่อนจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทันที จะต้องรออาการผู้ป่วยให้มีสภาพที่ดีขึ้นและพร้อม ที่ ส่วนใหญ่แพทย์จะให้การรักษาด้วยวิธีประคับประคอง และรอจนกว่าคนไข้จะฟื้น ซึ่งในบางกรณีต้องใช้เวลามากกว่า 2-3 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีโอกาสรอดน้อยกว่า 50% เครื่อง ECMO จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีสามารถส่งต่อการรักษาได้เร่งด่วนไม่ต้องรออาการให้ดีขึ้น ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์โรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ปอดและหัวใจที่พร้อมประสานงานกับทีมศูนย์บริการฉุกเฉิน เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านหมายเลข Contact Center โทร 1719 หรือสายด่วน Bangkok Emergency Services โทร. 1724 โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 02-732-6069-70
แท็ก โรคหัวใจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ