อาจารย์วิศวเกษตรเจ๋ง ผลิตวีดิทัศน์การอ่าน-เขียนแบบงานพื้นฐานมาตรฐานญี่ปุ่น (JIS)

ข่าวทั่วไป Wednesday July 29, 2015 15:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ก.ค.--กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี "ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเรียนสาขาวิชาอะไร มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา เนื่องจากมีความสะดวกสบาย นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้เอง" บวกกับตนเองต้องการบูรณาการเรียนใหม่ ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร โดยนักศึกษาทุกคนต้องเรียน "วิชาการออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร" รองศาสตราจารย์มานพ ตันตระบัณฑิตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้ผลิตวีดิทัศน์การอ่าน-เขียนแบบงานพื้นฐานมาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) ขึ้นมา อาจารย์มานพ เล่าว่า จากการเติบโตอย่างมากของภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมายโดยใช้มาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) รวมทั้งการเขียนแบบรูปต่างๆ ให้เป็นไปตามการเขียนแบบวิศวกรรมมาตรฐานญี่ปุ่น ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานระดับกลางและระดับสูง สำหรับนักศึกษาระดับ ปวช.ปวส.ปริญญาตรี ช่างอุตสาหกรรมและวิศวกร ในสายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน-การเขียนแบบด้านเครื่องกลเกี่ยวกับงานสวมชิ้นส่วนต่างๆ มาตรฐานชิ้นส่วนเครื่องกลด้านโลหะแผ่น งานเชื่อม พิกัดความเผื่อรูปร่างและตำแหน่ง (Datum) ระบบงานท่อ มาตรฐานและสัญลักษณ์งานท่อ เขียนโดยโปรแกรม SolidWorks พร้อมตัดต่อเป็นวีดิทัศน์ให้เป็นภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ และเสียงบรรยายประกอบ มีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีความสะดวกสบาย "สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง" เหมาะสำหรับใช้เรียนรู้และในการศึกษาระดับวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และการทำงานในภาคอุตสาหกรรม "วีดิทัศน์การอ่านแบบงานพื้นฐานมาตรฐานญี่ปุ่น การอ่านแบบงานพื้นฐานมาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) ประกอบด้วยจำนวน 64 รายการ วีดิทัศน์การเขียนแบบงานพื้นฐานมาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) ประกอบด้วยจำนวน 85 รายการ ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการในขั้นตอนของการจดลิขสิทธิ์ โดยผลงานที่ผ่านมา ผลิตวีดิทัศน์ เรื่อง Bolt & Nut ทำให้แก่สถานประกอบการแห่งหนึ่ง ผลงานวีดิทัศน์ 2 ภาษา เรื่อง "การประกอบและถอดตลับลูกปืน 18 วิธี" "การถอดประกอบพูเลย์ , Sprocket เข้าเพลา" "การตัดต่อโซ่ 4 วิธี" ซึ่งใช้บรรยายที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่นอีกด้วย นักศึกษาเข้ามาเรียนรายวิชานี้ มีบางคนที่ให้ความสนใจ และขอเรียนเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาอยู่ประมาณ 10 คน ที่ใช้โปรแกรม SolidWorks ได้อย่างมืออาชีพ ซึ่งสามารถรับงานเขียนแบบได้ ความสามารถของนักศึกษา ฝีมือแบบพื้นฐานถึงขั้นสูงหรือซับซ้อน (ชุดประกอบที่มีขนาดเล็กแต่มีชิ้นส่วนประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก) 1. ทำ Animation เป็นภาพสามมิติได้ด้วยโปรแกรม SolidWorks 2. เขียนแบบและ modify แบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหรือแบบงานประกอบและถอดด้วยโปรแกรม SolidWorks 3. วิเคราะห์ความแข็งแรงชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยโปรแกรม Cosmos นายอัษฎาวุธ ทองยา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร เล่าว่า หลังจากที่ได้เรียนวิชากับอาจารย์ ตนเองมีความสนใจในการศึกษาเพิ่มเติม โดยศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา ซึ่งตอนนี้ตนเองรับงานเขียนแบบ เพื่อหารายได้พิเศษเป็นทุนการศึกษา โดยรับงานเขียนแบบของอาจารย์ต่างสาขาวิชา เช่น "เครื่องนวดข้าวขนาดเล็ก" เป็นการฝึกฝีมือตนเอง ได้เรียนรู้เครื่องกลใหม่ๆ นอกจากตำราเรียน และเป็นการฝึกประสบการณ์ในการทำงานของตนเองด้วย "ได้ใช้เวลาว่างจากการเรียนมาทำงานพิเศษ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการเรียน สร้างรายได้ระหว่างเรียน" ตนเองจะพยายามศึกษาเรียนรู้อยู่เรื่อยๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนและการทำงานของตนเอง หน่วยงานหรือภาคอุตสาหกรรมใดสนใจให้นักศึกษาเขียนแบบให้ เพื่อหารายได้ในการเรียน สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อัษฎาวุธ โทร.098-984-6587 ธัญพิสิทธิ์ โทร.085-700-9600 หรือหน่วยงานใดต้องการวีดิทัศน์การอ่าน-เขียนแบบงานพื้นฐานมาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์ โทร. 089-063-3863

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ