รู้หรือไม่ ไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ต่างกันอย่างไร

ข่าวทั่วไป Friday November 13, 2015 11:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--โรงพยาบาลวิภาวดี ในช่วงฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โรคที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดนก โรคปอดอักเสบ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง นอกจากนี้ในต่างจังหวัดบางพื้นที่ อาจมีการระบาดของโรคฉี่หนู หรือโรคแลปโตสไปโรซิส หรือโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เช่น ไข้มาลาเรีย โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเจอี เป็นต้น ดังนั้น อาการไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตัวมาก ในช่วงฤดูฝนอาจเป็นได้จากหลายโรค แต่ที่พบบ่อย คือ โรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ ตารางเปรียบเทียบ โรคไข้เลือดออกและโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ เชื้อก่อโรค Dengue virus (สายพันธุ์ 1, 2, 3 และ 4) Influenza virus (สายพันธุ์ A, B) ระยะฟักตัว 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน – นานที่สุด 15วัน) 1 – 4 วัน (เฉลี่ย 2 วัน) อาการของโรค ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้องหรือมีตับโต มีผื่นหรือมีเลือดออกผิดปกติ พบบ่อย คือ จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา บางรายอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อกร่วมด้วย คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ บางรายมีอาการเจ็บคอ (บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้) ไข้สูงเฉียบพลัน หนาว ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรครุนแรง กลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก คนที่อ้วนมาก คนที่อาเจียนมาก กินอาหารไม่ได้ ซึมหรือ ไม่รู้ตัว มีเลือดออก หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ การรักษา การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ คือ ให้ยาลดไข้ คือ พาราเซทตามอล ในคนไข้ที่มีอาการอาเจียนบ่อย แพทย์จะให้ยาแก้อาเจียนและน้ำเกลือชนิดกิน และ รับไว้รักษาในโรงพยาบาลหากเห็นว่าคนไข้มีอาการรุนแรง (เช่น ไข้สูงมาก ชัก อาเจียนบ่อยมาก กินอาหารไม่ได้ มีเลือดออกง่าย ซึม หรือตรวจเลือดแล้วพบเกล็ด+เลือดต่ำ) การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีปอดบวมจำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล สิ่งที่ควรกลับมาพบแพทย์ คอยระวังว่าในระยะช็อก (มักเป็นวันที่ไข้ลง)ซึ่งอาจจะมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น หรือมีอาการถ่ายปัสสาวะน้อยลง มีอาการปวดท้องอย่างกะทันหัน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที หากอาการไม่ทุเลาควรพบแพทย์ เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ การป้องกัน 1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย เช่น กระถาง แจกัน โอ่งน้ำ ยางรถยนต์ โดยการทำลายทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน หรือใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ หรือเลี้ยงปลากินลูกน้ำตามความเหมาะสม 1.ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใช้มือ สัมผัสหน้า ตา จมูกและเอามือเข้าปากโดยไม่จำเป็น 2.อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ 3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย 4.เวลาไอจามให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หลีกเลี่ยงที่ชุมชนเมื่อมีการระบาด 5.ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการแพร่กระจายของละอองฝอย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ