สวยสดใส สุขภาพดี ก่อน-หลัง วัยทอง

ข่าวทั่วไป Wednesday December 16, 2015 14:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--เกรลิ่ง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพดีนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา หากแต่สภาพสังคมปัจจุบันนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจไม่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพที่ดีของเราเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองนั้น ความแข็งแรงของร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการรู้จักดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตัวเองตลอดจนเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอทั้งในช่วงก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือนจึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรทำความเข้าใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าว "จากการวิจัยขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในปัจจุบันผู้หญิงไทยจะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 79 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในอนาคตผู้หญิงไทยยังสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและแข็งแรงได้อีกหลายปีในช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน (หลังจาก 50 ปีขึ้นไป)" "ทั้งนี้การที่ผู้หญิงมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมช่วยให้ร่างกายสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข" คุณหมอพันธ์ศักดิ์ กล่าว วัยทองหรือ วัยหมดประจำเดือน เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงภาวะวัยทอง ซึ่งเกิดกับหญิงอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปจนถึง 50 ปี และช่วงภาวะหลังวัยทอง (perimenopause) ตั้งแต่อายุ 50-60 ปี สำหรับผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนนั้น อาจทำให้มีอาการต่างๆ เช่น ร้อนวูบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท ไปจนถึงปัญหาสุขภาพ เช่น โรคกระดูกพรุน หรือ ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ความจำเสื่อม อันเนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โดยความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและสุขภาพของแต่ละคนด้วยเช่นกัน โดยการปฏิบัติและปรับตัวสำหรับผู้หญิงในวัยทองนั้นสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการเนื่องมาจากภาวะหมดประจำเดือน "ส่วนใหญ่ผมจะแนะนำให้คนไข้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต อย่างเช่น เรื่องการรับประทานอาหาร หรือ ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด รวมทั้งการควบคุมน้ำหนัก และ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ไปจนถึงการให้ฮอร์โมนทดแทนในรายที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง เป็นต้น" เริ่มจากการสังเกตุ "ผมแนะนำให้หมั่นสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของร่างกายอยู่เสมอ และไปตรวจเช็คร่างกายเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น มีการตรวจ เต้านม และมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ" "นอกจากนี้ควรมีการตรวจเช็คสุขภาพ หู ตา ฟัน และผิวหนัง อยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการผมร่วงหรือผิวหนังแห้งคันผิดปกติซึ่งอาจเป็นสัญญาณของความบกพร่องของฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อทำรักษาอาการต่างๆได้ทันท่วงที" เครียดแต่น้อย นอกจากการตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว การหลีกเลี่ยงความเครียดยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้หญิงก้าวผ่านช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของร่างกายทั้งก่อนและหลังหมดประจำเดือนได้อีกด้วย จิตใจเป็นสิ่งที่ทรงพลังและมีอิทธิพลอย่างมากต่อร่างกาย ซึ่งถ้าหากปล่อยให้จิตใจมีความคิดเชิงลบ หรือมีความวิตกกังวัลอยู่บ่อยๆ แล้วย่อมสามารถทำให้ร่างกายมีปัญหาสุขภาพตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ ผมจะแนะนำให้คนไข้นั่งสมาธิ หรือคิดเชิงบวก และเขียนบันทึกความทรงจำในช่วงเวลาดีๆเอาไว้ ตลอดจนหาเวลาเพื่อไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนและคนในครอบครัวอยู่เสมอ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้หญิงใช้ชีวิตหลังวัยทองได้อย่างมีความสุขและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างดีอีกด้วย นอนหลับให้สนิท "การนอนหลับให้สนิทนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนที่ร่างกายของคนเราจะเริ่มผลิตฮอร์โมนที่ช่วยต่อต้านความแก่ขราได้อย่างเต็มที่ แน่นอนว่าการนอนหลับให้สนิทนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน" คุณหมอพันธ์ศักดิ์ กล่าว ผมจะไม่แนะนำให้ใช้ยานอนหลับสำหรับคนที่มีอาการนอนหลับยาก เนื่องจากว่าการใช้ยานอนหลับจะไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนสำคัญๆของร่างกาย ดังนั้นผมจึงแนะนำให้ใช้วิธีธรรมชาติ เช่น การดื่มชาคาโมมายด์ ชาสมุนไพรอุ่นๆ หรือใช้น้ำมันหอมละเหยกลิ่นที่ชอบนวดผ่อนคลายก่อนนอน เป็นต้น ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะวัยทอง และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน การดูและตัวเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การคิดบวก การได้รับการสนับสนุนที่ดีจากคนรอบข้าง ตลอดจนการหมั่นสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และไปตรวจเช็คร่างกายอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ที่จะช่วยให้พวกเธอก้าวผ่านวัยทองได้อย่างมีความสุข
แท็ก วัยทอง  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ