โครงการอบรมด้านสุขภาพอนามัยสำหรับประชาชน ครั้งที่ 212

ข่าวทั่วไป Friday September 1, 2000 14:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โครงการอบรมด้วยสุขภาพอนามัยสำหรับประชาชน ครั้งที่ 212 งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดการเผยแพร่ความรู้สำหรับประชาชน เรื่อง ผู้สูงอายุกับอาการปวดเมื่อย วันที่ 15 กันยายน 2543 เวลา 08.30- 12.00 น. ณ ห้องประชุมจงจินต์ โรงพยาบาลรามาธิบดี _____________________________ ผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากต้องพึ่งพายาแก้ปวด ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อเป็นประจำ นอกจากยาประเภททาถูนวดบรรเทาอาการปวดเมื่อย บางคนเชื่อว่าอาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องพบเมื่ออายุมากขึ้น แต่มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีอาการเหล่านี้หรือมีบ้างก็น้อยมากไม่จำเป็นต้องกินยา ฉีดยารักษากันไปนานๆ เนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านั้นดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดการเสื่อม การทำลายของข้อต่าง ๆ กระดูกและกล้ามเนื้อก่อนเวลาอันควร อวัยวะต่าง ๆ จึงเสื่อมช้าทำงานได้ตามปกติไปอีกนาน ปัญหาสุขภาพที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องไปโรงพยาบาลหรือไปพบแพทย์ที่พบได้บ่อยมาก ได้แก่ มีอาการปวดเมื่อย ปวดตามตัวซึ่งพบว่าอาการปวดเกิดขึ้นกับอวัยวะแทบทุกส่วน เช่น ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดเข่า เป็นต้นสาเหตุ อาจมาจากกล้ามเนื้อ เป็นผลมาจากการอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น นั่ง นอนในท่าที่ไม่เหมาะ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานมากเกิดความล้าหรือเกิดอาการหดเกร็งเฉพาะที่ - จากเส้นเอ็น พบบ่อยบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมาก ๆ เช่น บริเวณไหล่ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนี้ - จากเส้นประสาทถูกกดทับ ทำให้มีอาการปวดแสบร้าวไปตามเส้นประสาทนั้น ๆ ที่พบบ่อยถึงบริเวณคอ เนื่องจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อมมีแคลเซียมมาเกาะและกดลงไปที่เส้นประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอ ทำให้เกิดอาการปวดที่คอไหล่และอาจจะร้างไปที่แขนและมือได้ - ปวดเอวก็พบได้บ่อย ส่วนมากเกิดจากการยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง - ปวดข้อ ที่พบบ่อยได้แก่ข้อเสื่อมโดยเฉพาะข้อเข่า พบบ่อยในคนที่อ้วนมาก ผู้ที่ทำงานแบกหาม ยกของหนักมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ ใช้เข่าอย่างสมบุกสมบัน กระแทก กระทั้น มากเกินไป เข่าจึงเสื่อมเร็วและปวดในที่สุด - การปวดเมื่อยจากเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดแดงตีบแคบลง เลือดไปเลี้ยกล้ามเนื้อไม่สะดวกทำให้เกิดอาการปวดได้ หรือเส้นเลือดดำโป่งพอง เส้นเลือดขอด ก็ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อได้เช่นกัน การป้องกัน รู้จักวิธีถนอมอวัยวะต่าง ๆ โดยการใช้ให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงท่าทางหรือสิ่งที่จะทำให้อวัยวะเสื่อมเร็วขึ้น หรือบาดเจ็บ การเพิ่มศึกยภาพของกล้ามเนื้อ รวมทั้งวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น เมื่อกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้และทำให้ได้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดอาการปวดเมื่อยให้น้อยลง รายละเอียดจะมีการบรรยายในวันจัดประชุมกำหนดการ 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-09.10 น. เปิดการประชุม 09.10-10.00 น. ผู้สูงอายุ : การเปลี่ยนแปลงของร่างกายอวัยวะต่าง ๆ และจิตใจ โดย อาจารย์แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน 10.00-10.30 น. พัก 11.00-12.00 น. อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ : หลักในการป้องกันดูแลรักษา (ต่อ) 12.00-12.10 น. ประเมินผลการและปิดการประชุม ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าฟังติดต่อสอบถามหรือส่งไปรษณียบัตรสำรองที่นั้งได้ที่ คุณสุนันทา คำพอ งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หรือ โทร.245-7877 หรือ 201-2126 ในเวลาราชการ (โปรดเขียนชื่อที่อยู่ของท่านให้ชัดเจน เมื่อสมัครทางไปรษณีย์)--จบ---อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ