ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมกราคม 2559 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 – มกราคม 2559)

ข่าวทั่วไป Thursday February 25, 2016 11:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ในเดือนมกราคม 2559 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 162,889 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 109,666 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 53,223 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2559 มีจำนวน 247,549 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนมกราคม 2559 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 150,240 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 11,932 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.4) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในเดือนมกราคม 2559 บางส่วนเหลื่อมไปเข้าในเดือนถัดไป และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 259,906 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 44,169 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 20.5) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 220,839 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.0 และรายจ่ายลงทุน 20,123 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.6 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 18,944 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.2 (ตารางที่ 1) การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 43,950 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 25,459 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 11,414 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนมกราคม 2559 หน่วย: ล้านบาท เดือนมกราคม เปรียบเทียบ 2559 2558 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 240,962 197,891 43,071 21.8 1.1 รายจ่ายประจำ 220,839 181,071 39,768 22.0 1.2 รายจ่ายลงทุน 20,123 16,820 3,303 19.6 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 18,944 17,846 1,098 6.2 3. รายจ่ายรวม (1+2) 259,906 215,737 44,169 20.5 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมกราคม 2559 ขาดดุล 109,666 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 53,223 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 36,000 ล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินคงคลังอื่นๆ สุทธิ 7,018 ล้านบาท จะทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล 162,889 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 23,941 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 138,948 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมกราคม 2559 หน่วย: ล้านบาท เดือนมกราคม เปรียบเทียบ 2559 2558 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 150,240 162,172 (11,932) (7.4) 2. รายจ่าย 259,906 215,737 44,169 20.5 3. ดุลเงินงบประมาณ (109,666) (53,565) (56,101) (104.7) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (53,223) (26,873) (26,350) (98.1) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (162,889) (80,438) (82,451) (102.5) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 23,941 17,116 6,825 39.9 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (138,948) (63,322) (75,626) (119.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 247,549 116,002 131,547 113.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 – มกราคม 2559) 2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 733,994 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียว กันปีที่แล้ว 75,033 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 11.4) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 4G ความถี่ 1800 MHz การจัดเก็บภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และการนำส่งสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียน 2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,150,828 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 90,989 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.6) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,048,631 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.6 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง สูงกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 8.7 และรายจ่ายปีก่อน 102,197 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9 (ตารางที่ 3) รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,048,631 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 960,447 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 44.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,183,682 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.0 และรายจ่ายลงทุน 88,184 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 16.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 536,318 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 51.8 ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559(ตุลาคม 2558 – มกราคม 2559) หน่วย: ล้านบาท 4 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2559 ปีงบประมาณ 2558 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,048,631 964,262 84,369 8.7 1.1 รายจ่ายประจำ 960,447 906,180 54,267 6.0 1.2 รายจ่ายลงทุน 88,184 58,082 30,102 51.8 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 102,197 95,577 6,620 6.9 3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,150,828 1,059,839 90,989 8.6 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.1 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 467,877 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 416,834 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 51,043 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ สุทธิ จำนวน 28,500 ล้านบาท และการจ่ายเงินให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจากกรณี Undo จำนวน 16,054 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุล ด้วยการกู้เงินจำนวน 289,244 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 178,633 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 247,549 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559(ตุลาคม 2558 – มกราคม 2559) หน่วย: ล้านบาท ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2559 ปีงบประมาณ 2558 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 733,994 658,961 75,033 11.4 2. รายจ่าย 1,150,828 1,059,839 90,989 8.6 3. ดุลเงินงบประมาณ (416,834) (400,878) (15,956) (4.0) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (51,043) (27,266) (23,777) (87.2) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (467,877) (428,144) (39,733) (9.3) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 289,244 48,399 240,845 497.6 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (178,633) (379,745) 201,112 53.0 8. เงินคงคลังปลายงวด 247,549 116,002 131,547 113.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3563

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ