Ericsson Cloud RAN พร้อมให้ผู้ให้บริการนำไปทดสอบภาคสนามในปี 2016 แล้ว

ข่าวเทคโนโลยี Thursday April 7, 2016 09:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 เม.ย.--อีริคสัน ตัวเลือกใน Ericsson Cloud RAN นั้นจะตบโจทย์สถาปัตยกรรมแบบต่างๆ ได้โดยสนับสนุนการเติบโตของเครือข่ายบรอดแบนด์โมบายและโอกาสใหม่ๆ ที่เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) จะนำมาให้ ผลงาน Cloud RAN ที่สมบูรณ์แบบประกอบด้วย Distributed RAN, Centralized RAN, Elastic RAN และ Virtualized RAN จะเป็นการยกระดับการทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจอย่างเต็มเปี่ยมแก่ผู้ใช้และใช้งานคลื่นความถี่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยิ่งผู้ให้บริการพัฒนาเครือข่าย LTE และวางแผนในการทำตลาด 5G สำหรับปี 2020 ที่จะถึงนี้มากเท่าไหร่ ความจำเป็นที่จะต้องตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายในพื้นที่ให้บริการจะยิ่งผลักดันให้ต้องสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเท่านั้น ผลงาน Ericsson Cloud RAN จะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ด้านการติดตั้งสถาปัตยกรรมดังกล่าวด้วยตัวเลือก RAN ทั้งแบบรวมศูนย์ (Centralized) และแบบกระจาย (Distributed) เช่นเดียวกับโซลูชั่นอื่นๆ อย่าง Elastic RAN และ Virtualized RAN โดยโซลูชั่น Ericsson Virtualized RAN นั้นมีการทดสอบภาคสนามในปี 2016 ระหว่างงาน MWC 2016 ที่ผ่านมา โซลูชั่น Ericsson Virtualized RAN จะทำให้สามารถรับรอง Virtual Network Functions หรือ VNF ได้บนสถาปัตยกรรมแบบแยก โดยมีโปรโตคอลส่วนหนึ่งวางรวมศูนย์อยู่บนฮาร์ดแวร์แบบ Commercial Fff-the-Shelf (COTS) ขณะที่ฮาร์ดแวร์ส่วนอื่นจะกระจาย Ericsson จะทำให้ RAN ทั้งสองและฟังค์ชั่นคอร์นั้นสามารถโฮสต์ร่วมกันได้บนเซิฟเวอร์ตัวเดียว ทำให้ทำงานได้อย่างง่ายดายและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการทำเสมือนโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพแต่อย่างใด การสาธิตสดโซลูชั่น Cloud RAN ในงาน MWC 2016 ณ กรุงบาร์เซโลนาจะมีการแสดงตัวอย่างฟังค์ชั่นการทำเสมือนเช่น Radio Resource Control Function หรือ RRCF และ Packet Data Conversion Protocol หรือ PDCP นอกจากนี้ Ericsson จะมีการแสดงให้เห็นถึงบทบาทแบบครบวงจรใน Network Functions Virtualization (NFV) ซึ่งจะรวมถึงฟังค์ชั่นเกทเวย์ EPC เสมือนสำหรับ Local Breakout ในบริการหรือเครื่องมือบางตัว คุณอรุณ บันซาล รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์คลื่นวิทยุของ Ericsson กล่าวว่า "การได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการชั้นนำทั่วโลกทำให้ Ericsson นั้นเข้าใจว่าไม่มีสถาปัตยกรรม Mobile Access หนึ่งเดียวใดๆ ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ให้บริการได้แบบครอบจักรวาล เนื่องจากผู้ให้บริการมีความต้องการความครอบคลุม ความจุ การออพติไมซ์และการพัฒนาที่แตกต่างกัน Ericsson Cloud RAN จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถรวมศูนย์ กระจาย กำหนดขนาดและทำเสมือนฟังค์ชั่น Radio Access Network ได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการด้านประสิทธิภาพในปัจจุบันได้อย่างคุ้มค่าขณะที่ค่อยๆ ผันตัวเองไปสู่ยุค 5G" ปัจจุบันรูปแบบการเติบโตของการรับส่งข้อมูลนั้นได้รับอิทธิพลจากทั้งการใช้งานสมาร์ตโฟนที่มากขึ้นและการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของปริมาณการบริโภคข้อมูลโดยเฉลี่ยต่อหนึ่งการใช้งาน ซึ่งเกิดจากการรับชมเนื้อหาวีดีโอที่เพิ่มมากขึ้น การเติบโตนี้จะสูงขึ้นไปอีกจากการใช้งาน Cellular IoT และเครือข่ายแบบ Low Power Wide Area (LPWA) ที่จะสนับสนุนการเชื่อมต่อจากเครื่องมือ IoT นับล้านต่อหนึ่งเซลล์ไซต์ ความหลากหลายของรูปแบบการใช้งานที่เกี่ยวกับ IoT และความต้องการอันหลากหลายที่มีต่อเครือข่ายโมบายจะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้จำเป็นต้องใช้งาน Cloud RAN ที่ยืดหยุ่นอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ