ฟิทช์คงอันดับเครดิตของบมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวงที่ระดับ'A(tha)’/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ; จัดอันดับเครดิตภายในประเทศหุ้นกู้ชุดใหม่ที่ระดับ'A(tha)’

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday April 12, 2016 09:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัดประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาวของบมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวงหรือSCCC ที่ระดับ'A(tha)' อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ระดับ'F1(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของบริษัทฯที่ระดับ'A(tha)' แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกันฟิทช์ได้ประกาศจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาวหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ของSCCCมูลค่ารวมไม่เกินสี่พันล้านบาทครบกำหนดไถ่ถอนปีพ.ศ. 2567 และ 2569ที่ระดับ'A(tha)'เงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ของ SCCC ครั้งนี้จะนำไปใช้สำหรับชำระคืนหนี้ลงทุนขยายธุรกิจ และใช้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของSCCCเนื่องจากมีสถานะเท่าเทียมกับหนี้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของSCCC ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต อัตราส่วนหนี้สินที่สูงขึ้น– ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯวัดโดยอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO adjusted net leverage) จะเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.5-2.0 เท่าในปี2559-2560จาก 0.9เท่า ในปี2558SCCC มีแผนการใช้เงินลงทุนที่สูงสำหรับการขยายกำลังการผลิต และการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศโดยแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่คาดว่าจะมาจากการกู้ยืมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้ระดับหนี้สินสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและส่งผลให้ความยืดหยุ่นทางการเงินของบริษัทฯ ในการรักษาอัตราส่วนหนี้สินให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับอันดับเครดิตในปัจจุบันลดน้อยลงอย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ SCCC น่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และช่วยลดอัตราส่วนหนี้สินให้มาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.5เท่า ได้ในช่วงสามถึงห้าปีข้างหน้า ตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่ง– SCCCเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับร้อยละ27โดยวัดจากยอดขาย ฟิทช์คาดว่าบริษัทฯ จะสามารถปกป้องตำแหน่งทางการตลาดของตนเองไว้ได้ แม้ว่าคู่แข่งในประเทศจะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นโดยอาศัยชื่อเสียงของตราสินค้าประเภทปูนซีเมนต์และคอนกรีตผสมเสร็จที่เป็นที่รู้จักมาเป็นเวลานานของบริษัทฯ นอกจากนี้ อัตราส่วนกำไรที่ค่อนข้างสูงน่าจะมีส่วนช่วยให้บริษัทฯมีความยืดหยุ่นในการปรับราคาสินค้าเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาวะที่ตลาดมีการแข่งขันที่รุนแรง การแข่งขันที่สูงส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนกำไร– ฟิทช์มองว่าการแข่งขันในตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศจะรุนแรงขึ้นในปี 2559 จากกำลังการผลิตใหม่ที่เข้ามาในตลาด อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ (EBITDA margin)ของ SCCC น่าจะลดลงเนื่องจากการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดโดยฟิทช์คาดว่า EBITDA margin ของบริษัทฯ จะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ21-22ในปี 2559 จากที่เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 23-24ในปี 2556-2558ซึ่งน่าจะเป็นการปรับลดลงชั่วคราวจนกว่าอุปสงค์ในประเทศจะเติบโตขึ้นและรองรับอุปทานที่เพิ่มขึ้นได้ในปี 2560 ผลการดำเนินงานมีความอ่อนไหวต่อราคาพลังงาน– อัตราส่วนกำไรของบริษัทฯมีความอ่อนไหวต่อระดับราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาถ่านหินและไฟฟ้าต้นทุนเชื้อเพลิงและไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ70ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดในปี2558ราคาถ่านหินได้ปรับตัวลดลงเกือบร้อยละ 20จากปีก่อนฟิทช์คาดว่าราคาถ่านหินจะปรับตัวลดลงอีกในปี 2559 เนื่องจากกำลังการผลิตส่วนเกินยังคงกดดันระดับราคาอยู่โดยในช่วงสามถึงสี่ปีข้างหน้าราคาถ่านหินน่าจะทยอยปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป การมีตลาดหลักเพียงตลาดเดียว– อันดับเครดิตของบริษัทฯถูกจำกัดจากการที่บริษัทฯมีการกระจายตัวของแหล่งรายได้ค่อนข้างน้อยโดยรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทฯมาจากการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกันภายในประเทศเป็นหลัก สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ - ปริมาณการขายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นแต่ระดับราคาขายโดยเฉลี่ยลดลงในปี2559 - มีการประมาณการรายได้ส่วนเพิ่มจากการที่ SCCC วางแผนจะซื้อบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยและบังคลาเทศ - สัดส่วนรายได้จากการส่งออกยังคงอยู่ในระดับประมาณร้อยละ20-25 ในปี2559และลดลงในปี2560จากปริมาณการขายภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น - EBITDA margin ลดลงมาอยู่ในระดับร้อยละ21-22ในปี2559และปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ22-23ในปี2560 - ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน4,000-8,000ล้านบาทต่อปีในปี2559-2560 - อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ (Dividend Payout) ประมาณร้อยละ70-80 ปัจจัยที่อาจมีผลกับอันดับเครดิตในอนาคต ปัจจัยบวก: การปรับเพิ่มอันดับเครดิตมีความเป็นไปได้น้อยในช่วง2-3ปีข้างหน้าเนื่องจากอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯที่คาดว่าจะสูงขึ้นจากหนี้สินที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขยายธุรกิจ อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคตได้แก่ - การเพิ่มขึ้นของขนาดธุรกิจและการกระจายตัวของแหล่งรายได้อย่างมีนัยสำคัญโดยที่อัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO adjusted net leverage) ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า1.25เท่า ปัจจัยลบ: อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องหรือมีการลงทุนขนาดใหญ่ที่ใช้เงินกู้เป็นแหล่งเงินทุนหรือการจ่ายเงินปันผลที่สูงกว่าที่คาดซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO adjusted net leverage) สูงกว่า2.25เท่าอย่างต่อเนื่อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ