ย้ายหมอชิตไปรังสิต คิดผิดเห็นๆ

ข่าวอสังหา Tuesday January 12, 2016 14:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส การย้ายหมอชิตไปรังสิต เป็นการคิด/วางแผนผิดของรัฐบาลประยุทธ์อย่างแน่นอน ต่อไปค่าแท็กซี่จากสถานีขนส่งรังสิตเข้าถึงใจกลาง กทม. คงมีราคาสูงกว่าค่ารถ บขส.จากต่างจังหวัด ทั่วโลกมีแต่สร้างสถานีขนส่งแลสถานีรถไฟอยู่ใจกลางเมือง ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) คัดค้านการย้ายหมอชิตไปรังสิต เพราะเป็นการเพิ่มภาระการเดินทางแก่ประชาชน ทั่วโลกเน้นให้ขนส่งผู้โดยสารเข้าถึงใจกลางเมือง และให้กระจายโดยระบบรถโดยสารต่างจังหวัด พร้อมให้ข้อสังเกตว่าขนาดที่ดินที่จะซื้อ น่าจะเล็กไป และควรให้มีการเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชน ยิ่งมีข่าวว่า "ย้ายหมอชิตใหม่ไปย่านรังสิต จับตาหวยออกที่ 'ไทยเมล่อน'" (http://goo.gl/iQ1AKz) ยิ่งควรที่จะมีการตรวจสอบเรื่องความโปร่งใส รวมทั้งควรมีการว่าจ้างประเมินค่าทรัพย์สินให้ถูกต้องก่อนที่จะตัดสินใจทำธุรกิจซื้อที่ดินแปลงใดเพื่อการพัฒนา "บขส" กรณีนิวยอร์ก "บขส" ของเขาอยู่ใจกลางเมืองที่ Port Authority ส่วนสถานีรถไฟอยู่ Penn Station เดินถึงกันได้เลย ดร.โสภณ ยังได้ยกตัวอย่าง "บขส" คือ Port Authority Bus Terminal และ "หัวลำโพง" ของนครนิวยอร์ก (Penn Station) ก็ตั้งอยู่ใกล้กันในย่านใจกลางเมืองบนเกาะแมนฮัตตัน หรือในกรณีกรุงลอนดอน "บขส" ก็อยู่ใกล้พระราชวังบักกิงแฮมเลย ชื่อ Victoria Coach Station หากกรณีกรุงเทพมหานครไปตั้งอยู่นอกเมือง ห่างจากกรุงเทพมหานครถึง 40 กิโลเมตร ก็เท่ากับไม่มีรถ "บขส" เข้าเมืองเลยในอนาคต ต้องต่อรถกันพัลวัน เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 300-400 บาท หากนั่งแท็กซี่เข้าเมือง แพงกว่าค่าโดยสารรถ บขส. จากต่างจังหวัดเสียอีก กรณีลอนดอน "บขส" ของเขาอยู่ใกล้พระราชวังบักกิงแฮมเลย ชื่อ Victoria Coach Station ในกรณีนี้ จะให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยกับ บขส เจรจากันเองคงเป็นไปไม่ได้ รัฐบาลควรเป็นผู้ประสาน หาไม่ต่างก็จะยึดถือประโยชน์ของหน่วยงานของตนเป็นที่ตั้ง พื้นที่ปัจจุบันที่ "หมอชิต 2" ใช้อยู่นั้นมีขนาดประมาณ 73 ไร่ หากย้ายไปรังสิตก็มีขนาดใกล้เคียงเพียง 80 ไร่นั้น มีความเหมาะสมเพียงใด ไม่ได้คิดเผื่อการขยายตัวในอนาคตหรือไม่ ที่สำคัญได้มีการประเมินค่าทรัพย์สินให้ถ้วนถี่ก่อนที่จะซื้อหรือยังว่าเหมาะสมหรือไม่ ดร.โสภณ มีความเห็นว่า "หมอชิต" ควรอยู่ที่เดิม เพราะประชาชนสามารถเลือกต่อรถไฟ รถไฟฟ้า หรือรถประจำทางได้สะดวก ไม่สิ้นเปลืองเงินทองและเวลาของผู้เดินทาง การทำทางเชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 2 ทั้งขาเข้าและขาออกเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยรถโดยสาร เป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง อันที่จริงหากพัฒนา "หมอชิต" ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น น่าจะรองรับการเดินทางได้สะดวกกว่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อ้างอิง: AREA แถลง ฉบับที่ 14/2559: วันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ