สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเผยโฉมนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Monday June 13, 2016 16:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 คณะนักวิจัยภายใต้ชื่อ NATS ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้เปิดตัวนวัตกรรมการบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ซึ่งประกอบด้วย รถดูดส้วมอัจฉริยะที่แยกกากของแข็งออกจากของเหลว ส้วมไซโคลนที่อาศัยแรงโน้มถ่วงในการแยกสิ่งปฏิกูล การปรับบ่อเกรอะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดสิ่งปฏิกูลก่อนระบายน้ำออกสู่ธรรมชาติ และ ส้วมที่ใช้ระบบพลังงานความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัด ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากการทำงานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ในการแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญของคณะนักวิจัย รศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ กล่าวว่า "นวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยยกระดับการจัดการด้านสุขาภิบาล ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้จะได้มีการนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไปเผยแพร่ในประเทศกลุ่มเอเชียและทวีปแอฟริกา โดยขณะนี้ได้มีการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม และกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับประเทศอินเดียเพื่อใช้รณรงค์ในโครงการคลีนอินเดีย ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ" นอกจากนี้ ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า วัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ คือการกำจัดของเสีย ณ แหล่งกำเนิด เพื่อลดภาระในการขนส่งสิ่งปฏิกูลไปยังสถานบำบัดน้ำเสีย "แนวคิดในการบำบัดสิ่งปฏิกูล ณ แหล่งกำเนิด เป็นการกระจายการบำบัดสิ่งปฏิกูล ออกจากศูนย์กลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการขนส่งสิ่งปฏิกูลในระยะไกล" ดร.ดูไล โคเน่ (Dr.Doulay Kone) รองผู้อำนวยการของ Water, Sanitation and Hygiene (WASH) มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ กล่าวว่า "สถาบันเอไอทีเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิฯ เมื่อปี พ.ศ. 2554" "ทันทีที่เทคโนโลยีเหล่านี้มีความพร้อม เราจะนำไปใช้ในทั้งทวีปเอเชียและแอฟริกา" ดร.โคเน่ กล่าว นวัตกรรมทั้งสี่ประเภทดังกล่าว ได้แก่ Zyclone cube ซึ่งเป็นส้วมที่ใช้หลักแรงโน้มถ่วงและหลักการของพายุหมุนในการแยกสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลวและของแข็งออกจากกัน รวมทั้งมีการฆ่าเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ซึ่งผลพลอยได้ คือกากสิ่งปฏิกูลที่ฆ่าเชื้อแล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยที่ปลอดเชื้อโรคได้ รถดูดส้วมอัจฉริยะ เป็นนวัตกรรมรถบรรทุกที่ประกอบด้วยระบบคัดแยกของแข็งและของเหลวจากสิ่งปฏิกูลรวมไปถึงระบบกำจัดเชื้อโรค ซึ่งช่วยลดค่าขนส่งและบำบัดของเสีย ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการกากสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้จากการนำกากของเสียกลับไปใช้ใหม่ต่อไป ระบบ " Cess to Fit System" เป็นเทคโนโลยีที่นำไปติดตั้งในบ่อเกรอะเดิมที่มีอยู่ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่บ่อเกรอะเดิม ซึ่งจะทำการเก็บกักและบำบัดกากปฏิกูลก่อนที่จะปล่อยสู่ธรรมชาติถังบำบัดสิ่งปฏิกูลพลังแสงอาทิตย์ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในถังบำบัด ซึ่งจะความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของสารอินทรีย์ ทำให้ของเสียที่อยู่ในบ่อบำบัดมีคุณภาพดีขึ้น รวมทั้งสามารถฆ่าเชื้อโรค และลดกากปฏิกูลที่สะสมจะลดลง 50% เมื่อเทียบกับบ่อบำบัดแบบดั้งเดิม ดร. ธรรมรัตน์ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า นวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ผู้นำในด้านเทคโนโลยีสำหรับระบบสุขาภิบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น "เราได้เริ่มขั้นตอนสำหรับการผลิตนวัตกรรมเหล่านี้เพื่อใช้ในประเทศเวียดนาม และเรากำลังเจรจากับทางอินเดียเพื่อใช้รณรงค์ในโครงการคลีนอินเดีย" ดร.ธรรมรัตน์ยังเสริมอีกว่าแม้ประเทศไทยจะมีตัวเลขการเข้าถึงบริการด้านสุขาภิบาล แต่ตัวเลขของการบำบัดสิ่งปฏิกูลยังเป็นที่น่าวิตก ในประเทศไทยมีการปล่อยของเสียสิ่งปฏิกูลจำนวน 60,000 ตันต่อวัน แต่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีเพียง 4,500 ตันต่อวันเท่านั้น (คิดเป็นจำนวนน้อยกว่า 10%) "นวัตกรรมทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่จะแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว โดยเน้นการบำบัดของเสีย ณ แหล่งกำเนิด" ดร.ธรรมรัตน์ กล่าวต่อ "โครงการนี้เริ่มอย่างเป็นทางการในงานเปิดตัว ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ "การจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนแบบกระจายออกจากศูนย์กลาง" โดยมีภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการของ สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนาของสถาบันเอไอทีเป็นผู้ดำเนินโครงการงานวิจัยภาคสนาม ซึ่งมีระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2560 มีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญกว่า 50 คนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ยุโรป แอฟริกาและอเมริกาใต้ มีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว รายละเอียดเกี่ยวกับ Naturally Acceptable and Technological Sustainable (NATS) Toilet สามารถดูได้ที่ลิงค์ http://natstoilet.com/ สนใจรายละเอียด โปรดติดต่อ ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ Email: thamarat@ait.ac.th โทร. 02-524-6188

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ