ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชน ต่อ การจัดระเบียบภูทับเบิก

ข่าวทั่วไป Tuesday August 23, 2016 15:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--ซูเปอร์โพล ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจเรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชน ต่อการจัดระเบียบภูทับเบิก กรณีศึกษาคนกรุงเทพมหานครและคนต่างจังหวัดทุกสาขาอาชีพจำนวน 1,248 คน ระหว่างวันที่ 10 – 22 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.2 ทราบข่าวปัญหา ภูทับเบิก มานานแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 7.9 เพิ่งทราบข่าว และร้อยละ 1.9 ไม่ทราบข่าวเลย เมื่อถามถึงความรู้สึกหดหู่เมื่อเห็น การทำลายสิ่งแวดล้อมที่ภูทับเบิก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 รู้สึกหดหู่ใจ ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ไม่รู้สึก และเมื่อถามถึงกลุ่มคนต้นเหตุ ว่าใครคือต้นเหตุปล่อยปละละเลยให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่ภูทับเบิก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 ระบุ นักการเมือง และรัฐบาลในอดีต รองลงมาคือ ร้อยละ 67.3 ระบุแกนนำชุมชนในพื้นที่ ร้อยละ 65.2 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐ และร้อยละ 42.1 ระบุ นายทุน และร้อยละ 34.8 ระบุ ประชาชนนักท่องเที่ยวที่สนับสนุนท่องเที่ยว ภูทับเบิก อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.2 สนับสนุน การใช้ ม. 44 จัดระเบียบภูทับเบิก ในขณะที่ร้อยละ 23.8 ไม่สนับสนุน และเมื่อถามถึง อนาคตภูทับเบิก ควรแก้ตอนนี้ หรือ รอนักการเมืองอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 ระบุ ควรแก้ตอนนี้ แก้ทันทีในรัฐบาล และ คสช.นี้ เพราะ หากปล่อยไว้จะแก้ยากในอนาคต นักการเมืองตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ทำอะไรกลัวเสียคะแนนเสียงกลัวเสียฐานเสียงจากผู้มีอิทธิพลและประชาชนในพื้นที่ แต่เชื่อมั่น รัฐบาลและ คสช. จะจัดการเด็ดขาดได้ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 16.6 ระบุควร รอนักการเมืองอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ