มทร.ธัญบุรี ปลื้มบัณฑิตมีงานทำพุ่งกระฉูด อธิการบดี ฟันธงผลิตบัณฑิตสายวิทย์-เทคโนโลยีเทรนด์ใหม่อุดมศึกษา

ข่าวทั่วไป Friday August 26, 2016 14:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ส.ค.--มทร.ธัญบุรี รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้ทำการสรุปข้อมูลการวิเคราะห์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตที่ สำเร็จการศึกษา ประจำปี 2557 ระดับปริญญาตรี 5,491 คน ระดับปริญญาโท 179 คน และระดับปริญญาเอก 8 คน รวมทั้งสิ้น 5,678 คน มีบัณฑิตที่กรอกข้อมูลการมีงานทำทั้งสิ้น 4,934 คน คิดเป็น 86.9% ของบัณฑิตทั้งหมด โดยพบว่าปัจจุบันบัณฑิตมีงานทำมากถึง 3,781 คน คิดเป็น 76.63%โดยคณะที่มีงานทำมากที่สุด ได้แก่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 85.21% รองลงมา คือ วิทยาลัยแพทย์แผนไทย จำนวน 82.26% คณะบริหารธุรกิจ 79.8%คณะศิลปศาสตร์ 79.09% ตามลำดับ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า สำหรับคณะที่ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 18,669 บาท/เดือน รองลงมาคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 17,706 บาท/เดือน และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14,124 บาท/เดือน โดยสาขาวิชาที่มีงานทำมากที่สุด คือ บัณฑิตจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมโยธา มีงานทำ 100% สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร 94.44% ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม 92.31% สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 88.42% และสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 86.18% คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจ 91.94% สาขาวิชาการบัญชี 89.93% โดยบัณฑิตได้งานทำทันทีหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว 19.94% และระยะเวลาที่ได้งานทำหลังจากสำเร็จการศึกษาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1-3 เดือน 38.95% นอกจากนี้บัณฑิตคณะที่มีการศึกษาต่อมากที่สุด ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6.12% รองลงมา คือคณะเทคโนโลยีการเกษตร 4.29% และคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ 3.38% "จาก ตัวเลขทำให้เห็นว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์รวมถึงสาขาดีไซน์และออกแบบใน กลุ่มของสถาปัตย์และออกแบบซอฟแวร์ กลุ่มวิศวกรรมพื้นฐานทั้งหมด รวมถึงแพทย์แผนไทย ล้วนมีงานทำเป็นส่วนใหญ่และมีเงินเดือนค่อนข้างสูง ทำให้มองได้ว่าเทรนด์เมกะโปรเจคที่จะเกิดขึ้น จะมีความต้องการแรงงานในกลุ่มเหล่านี้มากขึ้น ส่วนสายสังคมการมีงานทำยังคงลดลง" รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวและว่า ทั้ง นี้สายสังคมที่ยังมีแนวโน้มไปได้อยู่ คือ การท่องเที่ยวและการโรงแรมยังสามารถตอบโจทย์การมีงานทำทั้งในปัจจุบันและ อนาคต โดยการมุ่งผลิตบัณฑิตจากนี้ไปต้องเน้นไปที่สายอาชีพและเมกะโปรเจค เช่น กลุ่มที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี ไบโอเทคโนโลยี ออกแบบและดีไซน์ กลุ่มคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองเมกะโปรเจคของรัฐบาลจะต้องมีการพัฒนา ครู อาจารย์ก่อน ซึ่งมหาวิทยาลัยมีการอบรมบุคลากรเฉพาะทาง ครู อาจารย์จะต้องมีความรู้ความสามารถตามนวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ ต่อไปการผลิตบัณฑิตของทุกมหาวิทยาลัยจะต้องผลิตบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ