นิทรรศการงานรำลึกสงครามเกาหลี ครบรอบ 50 ปี : (1-4 พฤศจิกายน 2543)

ข่าวทั่วไป Thursday October 26, 2000 11:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--กองทัพอากาศ
พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2493 เกาหลีเหนือยกกำลัง บุกเกาหลีใต้ (สาธารณรัฐเกาหลี) องค์การสหประชาชาติได้ขอความร่วมมือด้านกำลังรบ จากประเทศต่างๆ ที่เป็น สมาชิก เพื่อยับยั้งการรุกราน ของเกาหลีเหนือ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิก จึงได้ส่งกำลังทหารส่วนใหญ่ ออกเดินทางไปร่วมรบ กับกองกำลังสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหาร ผลัดเปลี่ยนไปปฏิบัติหน้าที่จนเสร็จสิ้นภารกิจ
นับจากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็นเวลา 50 ปีแล้ว กับประวัติการรบของทหารไทย ในสงครามเกาหลี จึงเป็นเกียรติประวัติอย่างยิ่งของทหารไทย ที่ได้รับการยกย่อง เช่นเดียวกับทหารจากนานาประเทศ ตลอดจน เป็นการยับยั้ง สกัดกั้น นโยบายการรุกราน ของลัทธิ คอมมิวนิสต์ ที่กำลังเพิ่มขยายอิทธิพล ในทวีปเอเชีย ขณะนั้นด้วย นอกจากนั้น ยังได้รับประสบการณ์ ทั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีมา พัฒนากองทัพอากาศ ให้เจริญก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อ การป้องกันประเทศ ต่อไปในอนาคต
การปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ
กองทัพอากาศ ได้เข้าร่วมปฏิบัติ การ กับกองทัพสหประชาชาติ ซึ่งในครั้งแรกนั้นได้ส่งเจ้าหน้าที่ ที่เป็นนายแพทย์-พยาบาล ไปปฏิบัติ ภารกิจด้านบริการ ทางการแพทย์ ด้านเดียว จำนวน 7 คน ทำหน้าที่ลำเลียงผู้ป่วยทาง อากาศ ตั้งแต่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2493 การจัดชุดพยาบาล ทหารอากาศนี้ ได้ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกัน ปฏิบัติหน้าที่ จนเสร็จสิ้นภารกิจ
ครั้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ.2494 กระทรวงกลาโหมได้ให้กองทัพอากาศ จัดส่งกำลังเป็นเครื่องบินลำเลียง 1 หมู่ จำนวน 3 เครื่อง พร้อมเจ้าหน้าที่ ไปร่วมรบกับสหประชาติ โดยแบ่งชุด ปฏิบัติ ออกเป็น 3 หน่วย ได้แก่
ชุดนายทหารติดต่อฝ่ายทหารอากาศ
ชุดหน่วยบินลำเลียง
ชุดพยาบาลทหารอากาศ
1. ชุดนายทหารติดต่อ
มีนาวาอากาศโท สวน จิตรไพฑูรย์ เป็น หน.ชุดคนแรก ผลัดเปลี่ยนกันชุดละ 1 ปี ทำหน้าที่ประสานงาน อำนวย ความสะดวก ดูแลทหารอากาศ ที่ส่งไปปฏิบัติ หน้าที่การรบ และมี นาวาอากาศโท ลิขิต สุวรรณทัต เป็น หน.ชุด คนสุดท้าย
2. ชุดหน่วยบินลำเลียง
ประกอบด้วยเครื่องบินจำนวน 4 เครื่อง ประจำการอยู่ที่ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2494 โดยมี นาวาอากาศตรี ปราโมทย์ ภูติพันธ์ เป็น หน.ชุดหน่วยบิน คนแรก การจัดกำลังเป็นเครื่องบินลำเลียง แบบ บ.ล.2 (C-47) จำนวน 3 เครื่อง ภายหลังเครื่อง บ.ล.2 เกิดเหตุขัดข้อง จึงได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบ บ.ล.4 (C-123B) ไปประจำ การแทน บ.ล.2 จำนวน 2 เครื่อง
3. ชุดพยาบาล
แพทย์และพยาบาลที่เข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ เป็น จนท.ชุดแรก ของกองทัพอากาศไทย ประกอบด้วย นายแพทย์ 4 คน พยาบาล 3 คน ประจำที่ตั้ง ในโรงพยาบาลที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนาวาอากาศตรี นายแพทย์ ตระกูล ถาวรเวช เป็น หน.ชุดคนแรก--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ