สพฉ.แจงปมอนุญาตจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการกู้ชีพระบุ เป็นอำนาจหน้าที่พิจาณารับรองของ คณะอนุกรรมการรับรององค์กรการศึกษาหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการฯ (อศป.)

ข่าวทั่วไป Wednesday January 18, 2017 17:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สพฉ.แจงปมอนุญาตจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการกู้ชีพ ระบุ เป็นอำนาจหน้าที่พิจาณารับรองของ คณะอนุกรรมการรับรององค์กรการศึกษาหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการฯ (อศป.) เพื่อผลประโยชน์หลักของ ประชาชนที่จะได้ใช้บริการจากผู้ปฏิบัติการที่มีคุณภาพและมาตรฐานเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน ชี้มีหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตจัดตั้งที่ชัดเจนโปร่งใส ตรวจสอบได้ ภายหลังจากที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ถูกร้องเรียนในเรื่องของการอนุญาตจัดตั้งองค์กรฝึก อบรมด้านการกู้ชีพ โดยผู้ร้องเรียนได้ระบุว่า สพฉ. ถ่วงเวลา เลือกปฏิบัติ และอนุญาตให้มีการจัดตั้งองค์กร ฝึกอบรมด้านการกู้ชีพแต่พรรคพวกของตนเองนั้น นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง ถึงประเด็นร้องเรียนต่าง ๆ เหล่านี้ว่า ข้อเท็จจริงและขั้นตอนในการที่จะรับรองให้หน่วยงานใดเปิดหลักสูตร ในการฝึกอบรมด้านการกู้ชีพได้นั้นจะเป็นอำนาจหน้าที่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการรับรององค์กรและ หลักสูตรการศึกษาหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการและการให้ประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม หรือชื่อย่อเรียกว่า อศป. ที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ สพฉ. มีหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินและ อศป. ซึ่ง สพฉ. ไม่ได้มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติ หรือ รับรองให้องค์กรหนึ่งองค์กรใดเปิดหลักสูตรในการฝึกอบรมด้านการกู้ชีพแก่ผู้ปฏิบัติการได้ ดังนั้น ข้อร้องเรียนที่ว่า สพฉ. ถ่วงเวลา เลือกปฏิบัติ และอนุญาตให้มีการจัดตั้งองค์กรฝึกอบรมด้านการกู้ชีพ แต่พรรค พวกของตนเองนั้น จึงไม่เป็นความจริง เพราะทุกอย่างมีระบบและขั้นตอนที่ต้องผ่านคณะอนุกรรมการฯ ไม่ใช่สพฉ.เป็นผู้พิจาณา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่าหน้าที่ของเราคือเป็นฝ่ายเลขานุการที่จะคอย รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับข้อบังคับที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน และ อศป. รวมถึง ประกาศให้ทราบว่าหน่วยงานใดบ้างที่ผ่านเกณฑ์การรับรองให้เปิดหลักสูตรได้ตามความเห็นชอบของ อศป. ซึ่งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรององค์กรฝึกอบรมที่ดำเนินการฝึกอบรมปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง ตามประกาศของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติตามมติของคณะกรรมการการแพทย์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2557ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า องค์กรที่จะขอตั้งเป็นองค์กรฝึกอบรมนั้นจะต้องเป็นสถาบันการศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือองค์กรที่เปิดหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินหรือศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาหรือคณะแพทยศาสตร์หรือแหล่งฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือองค์กรที่มีขีดความสามารถเทียบเท่าสถาบันหลักข้างต้นที่ อศป.รับรอง กรณีไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นต้อง ขอสมทบกับสถาบันหลัก ทั้งนี้ต้องผ่านการตรวจรับรองจากสถาบันหลักก่อนเปิดการฝึกอบรมตามที่อศป. กำหนด ซึ่งองค์กรใด ๆที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดก็สามารถขอรับรองจาก อศป.ได้ หากผ่านหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขก็สามารถเปิดการอบรมได้ ไม่จำกัดเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และไม่สามารถเลือกปฏิบัติ หรือเลือกพวกพ้องได้ นพ.อนุชา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของหลักเกณฑ์เงื่อนไข เกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ในการขอรับรองเป็นองค์กรฝึกอบรมไม่ใช่ข้อมูลปิด เราได้ประกาศบนเว็บไซด์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งประชาชนและหน่วยงานที่สนใจก็สามารถดาวน์โหลดอ่านได้ "การกล่าวหาว่า สพฉ. ถ่วงเวลา เลือกปฏิบัติ และอนุญาตให้มีการจัดตั้งองค์กรฝึกอบรมด้านการ กู้ชีพแต่พรรคพวกของตนเองนั้น จึงเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงและไม่เป็นความจริงเพราะขั้นตอน และระบบ ในการรับรองมี คณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาอย่างชัดเจนและรอบคอบตรวจสอบ ได้ทุกขั้นตอน ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก เพราะการอนุมัติให้หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดได้รับการจัดตั้งเป็นองค์กรฝึกอบรม นั้น ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมากที่สุดคือประชาชนที่จะได้รับการให้บริการจากหน่วยงานและผู้ปฏิบัติการที่มี คุณภาพ มาตรฐาน เพราะมันหมายถึงความเป็นความตายของชีวิตผู้คน หน่วยงานที่จะได้รับการรับรอง จึงต้องผ่านการพิจารณาและตรวจสอบหลายขั้นตอน ซึ่งในเบื้องต้นหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติ ให้จัดตั้ง เป็นองค์กรฝึกอบรมได้นั้น เป็นโรงพยาบาลในแต่ละจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด" เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติระบุ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ