ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง

ข่าวทั่วไป Friday January 27, 2017 14:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ม.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา และพัทลุง รวม 43 อำเภอ 272 ตำบล 1,484 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ133,913 ครัวเรือน 463,877 คน ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรเร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ว่า ฝนที่ตกหนักตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2560 ส่งผลให้เกิดอุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีจังหวัดได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด รวม 129 อำเภอ 835 ตำบล 6,307 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ587,544 ครัวเรือน 1,815,618 คน ผู้เสียชีวิต 90 ราย ผู้สูญหาย 4 ราย ถนน 4,314 จุด คอสะพาน 348 แห่ง ท่อระบายน้ำ 270 แห่ง ฝาย126 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง สถานที่ราชการเสียหาย 70 แห่ง โรงเรียน 2,336 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 5จังหวัด ได้แก่ ระนอง กระบี่ ตรัง ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์ใน 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา และพัทลุง รวม 43 อำเภอ 272 ตำบล 1,484 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 133,913 ครัวเรือน 463,877 คน โดยนครศรีธรรมราช มีสถานการณ์ น้ำท่วมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร และอำเภอเชียรใหญ่ รวม 38 ตำบล 337 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 49,731 ครัวเรือน 167,963 คน ประชาชนอพยพ 35 ครัวเรือน 175 คน ผู้เสียชีวิต 26 ราย สุราษฎร์ธานี มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพุนพิน และอำเภอบ้านนาเดิม รวม 8 ตำบล 18 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 1,725 ครัวเรือน 5,192 คน ประชาชนอพยพ 109 ครัวเรือน 328 คน ผู้เสียชีวิต 15 ราย ปัตตานี มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอสายบุรี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอแม่ลาน อำเภอปะนาเระ อำเภอไม้แก่น อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะรัง อำเภอกะพ้อ อำเภอยะหริ่ง และอำเภอหนองจิก รวม 104 ตำบล 499 หมู่บ้าน 11 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,318 ครัวเรือน 102,058 คน ผู้เสียชีวิต 8 ราย นราธิวาส มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอตากใบ อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก – ลก อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ และอำเภอเจาะไอร้อง รวม 66 ตำบล 408 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,212 ครัวเรือน 111,691 คนประชาชนอพยพ 143 ครัวเรือน 593 คน ยะลา มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน อำเภอยะหา อำเภอเบตง และอำเภอบันนังสตา รวม 36 ตำบล 164 หมู่บ้าน 2 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,651 ครัวเรือน 23,390 คน ประชาชนอพยพ 10 ครัวเรือน 50 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย สงขลา มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอระโนด และอำเภอสะบ้าย้อย รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 13,432 ครัวเรือน 39,332 คน ประชาชนอพยพ 55 ครัวเรือน 257 คน ผู้เสียชีวิต 10 ราย พัทลุง มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนขนุน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน อำเภอเมืองพัทลุง และอำเภอปากพะยูน รวม 11 ตำบล 33 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,844 ครัวเรือน 14,251 คน ผู้เสียชีวิต 12 ราย ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ ตลอดจนเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยที่ครอบคลุมทั้งด้านการดำรงชีพ ชีวิต และทรัพย์สินการประกอบอาชีพ และสิ่งสาธารณประโยชน์ อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 29 มกราคม 2560 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 18 ภูเก็ต เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักต่อเนื่อง โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็ววัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อได้ทาง สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ