ผู้ว่าการ วว.ร่วมงาน CEO Innovation Forum 2017 นวัตกรรมนำไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้ว

ข่าวทั่วไป Monday March 13, 2017 11:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน CEO Innovation Forum 2017 นวัตกรรมนำไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้ว จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาคเอกชนเห็นความสำคัญของการให้ข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนเห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา โอกาสนี้ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นเกียรติในงานและเสวนาพิเศษ หัวข้อ "นโยบายและยุทธศาสตร์ประเทศในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรม" ในการนี้ ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน และเป็นวิทยากรงานเสวนาหัวข้อ "Thailand as a global food innovation hub for ASEAN" ร่วมกับผู้บริหารจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ สำหรับการเสวนาหัวข้อ "Thailand as a global food innovation hub for ASEAN" ได้รับเกียรติผู้บริหารจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยและพัฒนา เครือเบทาโกร โดย ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ CEO Food Innopolis และ รองเลขาธิการ สวทน. เป็นผู้ดำเนินรายการ โอกาสนี้ ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงศักยภาพของ วว. ในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมของอาหารใน ASEAN ว่า วว.มีความพร้อมที่จะสนับสนุนงานของโครงการ Food Innopolis ของประเทศ เนื่องจาก วว.มีความพร้อมทั้งในส่วนของงานวิจัยและงานบริการด้านอาหารครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ (Dietary supplement) ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ (Functional Foods) ผลิตภัณฑ์ส่วนผสมอาหารจากธรรมชาติ (natural functional ingredients) น่าจะเป็นโอกาสให้แก่ภาคเอกชนที่จะสามารถนำไปในเชิงพาณิชย์ รวมถึง วว.ยังมีศูนย์ความเชี่ยวชาญที่สามารถรองรับ เน้นการทำงานวิจัยที่ตอบโจทย์ของประเทศ รวมถึงทิศทางความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ