สร้างมาตรฐานคนภาคอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0

ข่าวทั่วไป Tuesday April 25, 2017 14:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.-- สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ หรือ MASCI เปิดตัวโครงการ "MASCI Academy Phase 1" เพื่อยกระดับมาตรฐานที่สูงขึ้นเป็นทั้งการเตรียมความพร้อมและเสริมแกร่งให้ภาคอุตสาหกรรมไทย ตอบโจทย์ 4.0 อย่างตรงเป้า โดยคอนเซ็ปท์เป็นการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วน แต่หวังผลลัพธ์ปลายทางเดียวกัน หรือที่เรียกว่า Cross-Sector Collaboration. โดย SMEs ทั่วประเทศเป็นกลุ่มเป้าหมาย แบ่งโครงการออกเป็น 3 ระยะตั้งแต่ปี 60-64 ใช้รูปแบบการผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน เพื่อระดมสรรพกำลัง สรรพประสบการณ์ที่มีอยู่ ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งระดับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการ ตลอดจนกลุ่มวิทยากรผู้ที่จะไปถ่ายทอดองค์ความรู้อีกทอดหนึ่ง ซึ่งในระยะแรกพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยมี บมจ.ปตท.สถาบันเครือข่ายภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมทุกแห่ง (ถ้าจำไม่ผิดมีอยู่ร่วม 10 สถาบัน) เครือข่ายผู้เชียวชาญภาคอุตสาหกรรม และผู้เกษียณจากภาคอุตสาหกรรม เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ร่วมโครงการ รวมๆแล้วล้วนแต่เป็นกุนซือคนสำคัญในยุทธจักรอุตสาหกรรมทั้งสิ้น คุณเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม ประธานกรรมการอุตสาหกรรมมูลนิธิ กล่าวว่าไว้อย่างน่าสนใจว่า MASCI Academyจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ในการสร้างมาตรฐานด้านการพัฒนาบุคคลากร ให้มีความเป็นเลิศ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การผนึกกำลังกับผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่างๆยิ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ ซึ่งการขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ เพื่อสร้างบุคลากรอุตสาหกรรม ยิ่งจะเป็นการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ความสำเร็จ จะทำให้ก้าวไปสู่ไทยแลนด์4.0 และอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับคุณปราโมท วิทยาสุข ประธานกรรมการ คณะกรรมการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอกล่าวว่า โครงการ MASCI Academy.จะเป็นศูนย์กลางในการยกระดับบุคลากรวิชาชีพด้านมาตรฐาน การบริหารจัดการและการตรวจสอบรับรอง ทั้งสถานประกอบการและผู้ให้บริการ โดยวางโครงการออกเป็น 3 ระยะ (60-64) ในปีนี้ตั้งเป้าที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยจะมีการยกระดับให้เกิดองค์ความรู้ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ ตลอดจนบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ วิทยากรหรือพี่เลี้ยงของผู้ประกอบการ การผนึกกำลังกับสถานประกอบการขนาดใหญ่ ผู้เชียวชาญที่เกษียณอายุจากภาคอุตสาหกรรม ยิ่งเป็นการเติมเต็มความรู้จากผู้รู้อย่างแท้จริง และในปีต่อๆไป เราจะขยายผลให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม คาดหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย ขับเคลื่อน SMEs ของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น คุณพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ขยายความเพิ่มเติมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกันว่า MASCI คือหน่วยงานด้านการรับรองมาตรฐาน หัวใจสำคัญคือการพัฒนามาตรฐานให้ดียิ่งขึ้น สำหรับการจัดตั้งMASCI Academy เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 มุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ/หรือ Health, Wellness & Bio-Med. โดยพัฒนาบุคลากรวิชาชีพด้านมาตรฐานการจัดการ ทั้งการฝึกอบรมภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบการSMEs/ในห่วงโซ่อุปทาน 2 กลุ่มหลัก คือ บุคลากรของสถานประกอบการระดับผู้บริหาร (Executive) และระดับผู้แทนฝ่ายบริหาร (Management Representative) รวม 150 คน และบุคลากรผู้ให้บริการที่จะเป็นวิทยากร (Trainer) และผู้ตรวจประเมิน (Auditor) รวม 20 คน เป็นการจุดประกายครั้งสำคัญที่จะช่วยยกระดับให้ SMEs เกิดความเข้มแข็ง กลายเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย ภายได้แรงผลักดันของผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง เพราะการสร้างมาตรฐานคนภาคอุตสาหกรรม เท่ากับการสร้างแรงเหวี่ยงที่สำคัญให้แก่สังคม นำพาประเทศไทยก้าวไกลอย่างยั่งยืน
แท็ก อุตสาหกรรม   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ