ปภ.รายงานมีจังหวัดประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย 20 จังหวัด บูรณาการทุกภาคส่วนเร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

ข่าวทั่วไป Tuesday June 13, 2017 12:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 13 มิถุนายน 2560 เกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 30 จังหวัด รวม 112 อำเภอ 527 ตำบล 3,371 หมู่บ้าน ประชาชน ผู้เสียชีวิต 5 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) 20 จังหวัด รวม 92 อำเภอ 481 ตำบล 3,251 หมู่บ้าน 45 ชุมชน ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยด่วนแล้ว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ โดยตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 13 มิถุนายน 2560มีพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย 30 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร ลำปาง เลย อุดรธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ สุพรรณบุรี สระบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนองเพชรบูรณ์ ตาก อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี นครปฐม จันทบุรี สระแก้ว และพังงา รวม 112 อำเภอ 527 ตำบล3,371 หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต 5 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด อยู่ระหว่างการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยโดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี สุโขทัย นครศรีธรรมราช สุพรรณบุรี เชียงใหม่ เลย ลำปางสุราษฎร์ธานี ลำพูน ระนอง ชลบุรี ขอนแก่น นครสวรรค์ พิจิตร ร้อยเอ็ด และสระบุรี รวม 92 อำเภอ 481 ตำบล3,251 หมู่บ้าน 45 ชุมชน ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลด้านการดำรงชีพของผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการจัดหาอาหาร และน้ำดื่มสะอาดให้เพียงพอการดูแลสุขภาพอนามัยและรักษาพยาบาล รวมถึงการแจกจ่ายถุงยังชีพให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน อีกทั้งฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบภัยให้กลับเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศอินเดียด้านตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง ซึ่ง ปภ.จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด หากมีแนวโน้มเกิดสถานการณ์ภัยจะได้เตรียมพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ