กรมสุขภาพจิตชู ชุมชนแม่ปูคา ต้นแบบชุมชนสุขภาพจิตดีเด่น ภาคเหนือ

ข่าวทั่วไป Thursday June 22, 2017 15:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--โฟร์พีแอดส์ (96) นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ชุมชน ต.แม่ปูคา เป็นชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพจิต ที่เกิดจากการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน อาศัยกลไกตำบลจัดการสุขภาพ ที่มีกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ เป็นพื้นฐานรองรับให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ และดำเนินการได้จริงตามปัญหาสุขภาพจิตและสภาพบริบทของพื้นที่ในทุกกลุ่มวัย ควบคู่ไปกับการดำเนินการได้จริงตามปัญหาสุขภาพจิตและสภาพบริบทของพื้นที่ในทุกกลุ่มวัย ควบคู่ไปกับการดำเนินงานสุขภาพทางกาย ให้ชุมชนสามารถดูแลกันเองได้ และสามารถอยู่ร่วมกั้นได้กับผู้ป่วยทางจิต ทั้งนี้ ในเขตสุขภาพที่ 1 ประกอบด้วย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน) มีผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ประมาณ 3 แสนกว่าคน จากประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น ยาบ้า รองลงมา คือ โรคประสาท โรคจิตเภท ความผิดปกติทางอารมณ์ และเสพติดสุรา เป็นต้น ซึ่งในชุมชน ต. แม่ปูคา มีผู้ป่วยจิตเวช 17 คน ใน 9 หมู่บ้าน จากประชากรประมาณ 5,000 คน โดยทั้งหมดได้รับการดูแลและรับยาต่อเนื่องด้วยการบูรณาการงานร่วมกัน สะท้อนถึงการเป็นชุมชนที่เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า ความโดดเด่นของชุมชนนี้อยู่ที่ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัย โดยชมรมอุ่นใจ ที่เกิดจากการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนร่วมกัน ทั้งจากเจ้าอาวาส กำนันผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล โรงเรียน รพ.สต.และอสม. จากทุกหมู่บ้านใน ต.แม่ปูคา รวมทั้งชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย จ.เชียงใหม่ การดำเนินงาน มีทั้งการตรวจประเมินพัฒนาการล่าช้า มีกิจกรรรมกระตุ้นโดยใช้อุปกรณืที่มีในครอบครัว ส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับชุมชน ดูแลและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ญาติ และผู้ดูแล ด้วยแบบคัดกรอง 2Q และการเยี่ยมบ้านร่วมกับอสม. ตลอดจนมีการคิดค้นนวัตกรรมแก้ปัญหาผู้ป่วยขาดยาและไม่มาพบแพทย์ตามนัด เป็นต้น ที่สำคัญดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนส่งกลับคืนสู่สังคม สามารถหาเลี้ยงชีพ และใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติสุข "กระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชนั้น หลักสำคัญ คือ ต้อง 3 ประสาน ได้แก่ โรงพยาบาล ครอบครัว และชุมชน ที่ต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ไม่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย ให้การยอมรรับ และให้โอกาสกับพวกเขา เข้าถึงบริการด้านการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคทางจิตเวชทุกโรครักษาได้ เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ไม่ขาดยา หรือลดยาเอง ที่สำคัญไม่ใช้สารเสพติด โดยเฉพาะยาบ้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจำทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางจิตขั้นรุนแรง การลงพื้นที่ชุมชนในครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการให้สังคมภายนอกได้เห็นถึงพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงศักยภาพของผู้ป่วยที่พร้อมกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคม สามารถใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนและสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้ และเป็นภาระต่อผู้อื่นน้อยที่สุด"อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว ด้านนายแพทย์มนตรี นามมงคล ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 ได้พัฒนา อสม.ต้นแบบสุขภาพจิตชุมชนจากในระดับจังหวัดของ จ.เชียงใหม่ โดยเน้นการบูรณาการระหว่างงานส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตามกลุ่มวัยและการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช นอกจากนี้ ได้อบรมแกนนำและอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยทางจิตเพื่อให้สามารถดูแลกันได้ในชุมชน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดูแลผู้ป่วยทางจิต ขณะที่ การดูแลสุขภาพจิตชุมชนในระยะยาว จะใช้แนวทางการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม พัฒนาผู้นำและทีมในการดำเนินงาน สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พัฒนาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้งพลังในชุมชนด้วยการเสริมสร้างความรู้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ