ปภ.แนะผู้ขับขี่เรียนรู้ลักษณะ และปัจจัยที่ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ...ลดเสี่ยงอุบัติเหตุยางระเบิด

ข่าวทั่วไป Monday July 3, 2017 11:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรรู้เกี่ยวกับลักษณะและปัจจัย ที่ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ดังนี้ ลักษณะของยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ จะมีเนื้อยางแข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่น แรงดันลมยางอ่อนกว่าค่าที่กำหนด รถมีอาการสั่น ควบคุมและบังคับทิศทางได้ยางกว่าปกติปัจจัยที่ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ อาทิ ขับรถด้วยความเร็วสูง บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป เบรกหรือเลี้ยวรถกะทันหัน ออกรถ ด้วยความเร็วสูง ขับรถบนเส้นทางขรุขระ เป็นหลุมบ่อ ขับรถเบียดถนน หรือขอบฟุตบาท จอดรถอยู่กับที่ หรือจอดรถกลางแดดเป็นเวลานาน ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีสารกัดกร่อนเนื้อยาง ทำให้เนื้อยางเปื่อย หรือแข็งกระด้าง รวมถึง ขาดความยืดหยุ่น นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ยางรถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งบ่อยครั้งมักเกิดอุบัติเหตุยางระเบิดที่มีสาเหตุจากยางเสื่อมสภาพ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรรู้เกี่ยวกับลักษณะและปัจจัยที่ทำให้ ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ดังนี้ ลักษณะของยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ สภาพยาง เนื้อยางแข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่น มีรอยปริ ปูด บวม หลุดร่อน ร่องยางตื้น ไม่มีดอกยาง หรือดอกยางโล้น ลมยาง แรงดันลมยางอ่อนกว่าค่าที่กำหนด ทำให้ต้องเติมลมยางบ่อยครั้ง หรือเติมลมยางไม่เข้า ความผิดปกติของรถ รถมีอาการสั่น ควบคุม และบังคับทิศทางรถได้ยากกว่าปกติ โดยเฉพาะขณะเลี้ยว หรือเข้าโค้ง ปัจจัยที่ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ขับรถด้วยความเร็วสูงทำให้ยางเกิดแรงเสียดทาน และความร้อนสูง บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป ทำให้หน้ายางบิดตัว และสัมผัสพื้นผิวถนนมากกว่าปกติ จึงเกิดความร้อนได้ง่าย เบรกหรือเลี้ยวรถกะทันหัน ทำให้ยางลื่นไถลไปกับพื้นถนนอย่างรุนแรง ส่งผลให้สูญเสียผิวสัมผัสของหน้ายาง ออกรถด้วยความเร็วสูง ทำให้ล้อหมุนฟรี หน้ายางเสียดสีกับพื้นถนนอย่างรุนแรง ขับรถบนเส้นทางขรุขระ เป็นหลุมบ่อทำให้ยางเกิดการกระแทกและเสียดสีกับผิวถนน หากต้องขับรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ควรเลือกใช้ยางให้ถูกประเภท และลดความเร็วในการขับรถ ขับรถเบียดถนน หรือขอบฟุตบาท ทำให้แก้มยางได้รับความเสียหาย จอดรถอยู่กับที่เป็นเวลานานทำให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นถนนมากจนเกิดการสึกหรอ จอดรถกลางแดดเป็นเวลานาน ความร้อนและอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ ทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ใช้น้ำยาทำความสะอาด ที่มีสารกัดกร่อนเนื้อยาง ทำให้เนื้อยางเปื่อยยุ่ย หรือแข็งกระด้าง รวมถึงขาดความยืดหยุ่น ทั้งนี้ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรม การขับรถ และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของยาง และลดความเสี่ยงต่อการ เกิดอุบัติเหตุยางระเบิด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ