เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดาวตก

ข่าวทั่วไป Wednesday November 14, 2001 12:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มจากฝุ่นอวกาศจำนวนมากที่เหลื่อจากการสร้างระบบสุริยะของเราและบางส่วนมาจากดาวหางปล่อยไว้เวลาดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทั้งหมดนี้เรียกว่า"สะเก็ดดาว(meteoroid)" เมื่อโลกโคจรไปในอวกาศและผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีสะเก็ดดาวเหล่านี้ สะเก็ดดาวบางส่วนจะตกลงสู่ผิวโลกและเกิดเสียดสีกับบรรยากาศของโลกเกิดลุกไหม้ในเวลากลางคืนคนบนโลกจะเห็นเสมือนแสงไฟวาบตกจากท้องฟ้าจึงเรียกว่า"ดาวตก(meteor)"ซึ่งคนไทยเรียกว่า"ผีพุ่งไต้"(คนไทยสมัยเก่านอกเมืองสมัยนี้ใช้ไต้หรือขี้ไต้เป็นแท่งยาวจุดไฟถือส่องทางตอนกลางคืน ถ้าเอาไต้ที่ติดไฟพุ่งไปในอากาศก็จะเห็นไฟติดไปเป็นทางยาวแล้วก็ดับลง)โดยทั่วไปสะเก็ดดาวที่ตกเป็นดาวตกจะไหม้ไปหมด ถ้าลูกใหญ่ไหม้ไม่หมดจะตกลงพื้นโลกระเบิดดังทำให้พื้นดินเป็นหลุมเรียกสะเก็ดดาวที่ตกถึงพื้นว่า"อุกกาบาต(meteorite)" แต่ละคืนจะมีดาวตกบ้าง นานๆเป็นชั่วโมงจะเห็นสักครั้ง มีดาวตกมากดวงเช่นเป็นสิบเป็นร้อยดวงต่อชั่วโมงก็เรียกว่า"ฝนดาวตก(shower)"
แต่หากว่ามีดาวตกมากมายนับร้อยนับพันดวงต่อชั่วโมงก็เรียกว่า"พายุฝนดาวตก (strom) หากดาวตกสว่างมากลุกจ้าเป้นแบบระเบิดก็เรียก"ลูกไฟ(fire ball) ฝนดาวตกเลโอนิดมองเห็นเสมือนพุ่งมาจากกลุ่มดาวสิงโต เป็นผลมาจากฝุ่นที่เหลือของดาวหางเทมเปิล-ทัดเดิลซึ่งโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ทุกๆ 33 ปี
คนไทนมีโอกาสเห็นฝนดาวตกนี้อีกครั้ง คาดว่าจะเห็นได้ดี 00.30-04.30 น.วันจันทร์ที่ 19 พ.ย.44 นี้ ถ้าจะให้ดีแนะนำให้ดูคืนวันเสาร์ที่17 พ.ย.44 เวลา เที่ยงคืนครึ่งเป็นต้นไป
ถึงประมาณตีสี่ครึ่ง(เปิดวิทยุฟังรายการรายงานฝนดาวตกเป็นเพื่อนจะได้ไม่หลับและตกข่าว) และคืนวันที่อาทิตย์ที่ 18 พ.ย.44 ดูอีกครั้งเวลาเดิม
การดูดาวตกดูด้วยตาเปล่า ใช้เตียงผ้าใบแบบชายหาดหรือปูเสื่อนอนดูควรเลือกที่มืดแต่ปลอยภัยจากคนร้าย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมองกว้างๆ โดยเลือกตำแหน่งที่ให้ตัวเมืองอยู่ด้านหลังแสงเมืองจะได้ไม่รบกวน มองไปทางทิศตะวันออกโล่งไม่มีอะไรบัง ให้มีที่หลบฝนอยู่ใกล้ๆเผื่อฝนตก ควรดูหลายๆคนคุยกันไปด้วยกันเผลอหลับ มีไฟฉายและยาหรือเครื่องไล่ยุง
ถ้าจะบันทึกจำนวนที่ได้เห็นและช่วงเวลาด้วยก็ดี
ขอให้สนุกกับฝนดาวตก....สวัสดี จาก ;
ผศ.มานิต รุจิวโรดม
Manit Rujiwarodom ,Assistant Professor
Department of Physics. http://www.phys.sc.chula.ac.th
Faculty of Science.
Chulalongkorn University. Bangkok.10330.THAILAND-- จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ