กระทรวงพลังงานสร้างความรู้ความเข้าใจ แผน PDP 2015 ผ่านกิจกรรม Energy Trading

ข่าวทั่วไป Tuesday August 8, 2017 10:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--กระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานจัดอบรมฝึกปฏิบัติการครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมสื่อการสอนผ่านกิจกรรมEnergy Trading หวังกระตุ้นให้เยาวชนตระหนักรู้ด้านพลังงาน ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า สืบเนื่องจากสภาวะวิกฤติก๊าซธรรมชาติ อันเกิดจากผลพวงของความล่าช้าในการเปิดสัมปทานแหล่งก๊าซ บงกชและเอราวัณ รวมทั้งกรณี โรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่และเทพา ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไปไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทำให้ต้องมีปรับแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ(GAS Plan) หนึ่งในแผน PDP2015 จากสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนพลังงานและการจัดหาพลังงานทดแทน โดยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดอบรมครู 800 คนทั่วประเทศ เรื่องการใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์พลังงานเสริมทักษะสะเต็มศึกษา ในโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาพลังงานในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งโครงการนี้เป็นการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาเนื้อหาวิชาพลังงาน สื่อการสอนและกิจกรรมส่งเสริมการสอนด้านพลังงาน นำไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยกระทรวงพลังงานมุ่งหวังว่า กิจกรรมEnergy Trading จะช่วยจุดประกายความรู้ให้กับเยาวชนในชาติเกิดความตระหนักรู้ด้านพลังงาน สามารถตัดสินใจเลือกแหล่งผลิตหรือเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่มีความมั่นคง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป ด้านรศ.ดร.ธงชัย ฟองสมุทร รองคณบดีฝ่ายนโยบาย วิจัย และบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา เรื่อง "การใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์พลังงานเสริมทักษะด้านสะเต็มศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน" จึงได้นำกิจกรรมสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม EnergyTrading Game มาให้ความรู้แก่ครู เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงาน การใช้ การผลิต การนำเข้าพลังงาน สัดส่วนการใช้พลังงานจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ และแนวโน้มการใช้พลังงานในประเทศไทย ทั้งนี้ยังมีเรื่องความปลอดภัยของการใช้พลังงานที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นการแสดงถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้พลังงานซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย และการสำรวจแหล่งพลังงานต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งพลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ ความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณสำรอง คือปริมาณโตรเลียมที่ยืนยันการค้นพบด้วยการเจาะหลุมแล้ว ปริมาณน้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติเหลว ที่อยู่ในแหล่งกักเก็บซึ่งจะสามารถผลิตขึ้นมาได้ภายใต้ภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปัจจุบัน ขณะที่จำนวนประชากร อัตราการเพิ่มของประชากร และระดับของการพัฒนา ซึ่งประเทศที่ยิ่งพัฒนามากเท่าไหร่ จะยิ่งมีการบริโภคพลังงานมากขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลต่อการผลิตการนำเข้าพลังงาน การใช้พลังงานและการซื้อขายทรัพยากรต่างๆ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ