ไฟเซอร์ ประเทศไทย แนะนำ ยายับยั้งการทำงานของโปรตีนซีเคดี 4/6 ที่ได้รับการรับรองจาก อย.

ข่าวทั่วไป Tuesday November 7, 2017 12:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--ไฟเซอร์ ไฟเซอร์ ประเทศไทย หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมยาคุณภาพของโลก เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ในการรักษามะเร็งเต้านมในระยะลุกลามและแพร่กระจาย โดยยาดังกล่าวเป็นทางเลือกใหม่ให้กับแพทย์ เพื่อใช้ควบคู่กับการให้ยาต้านฮอร์โมนที่ยับยั้งสัญญาณที่ทำให้เซลล์เจริญเติบโต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายชนิด มีผลการตรวจตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก (HR+) และมีผลการตรวจตัวรับเฮอร์ทูเป็นลบ (HER2-) มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก โดยมีอุบัติการณ์ในผู้ป่วยรายใหม่สูงถึง 1.7 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2551(1) และในประเทศไทย พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่สูงถึง 10,193 ราย หรือคิดเป็นอัตราส่วน 28.6 ต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี พ.ศ. 2551 โดยพบมากในผู้หญิงไทยในช่วงอายุ 45-50 ปี มะเร็งเต้านมเริ่มจากพัฒนาการของเซลล์ที่ผิดปกติในเนื้อเยื่อเต้านม โดยมะเร็งนั้นอาจจะอยู่เฉพาะที่บริเวณเต้านม หรือ แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย หรือรู้จักกันว่ามะเร็งเต้านมระยะที่ 4 ซึ่งถือเป็นระยะสุดท้าย โดยเป็นระยะที่มะเร็งจะแพร่กระจายจากเต้านมและต่อมน้ำเหลืองโดยรอบไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งที่พบมากจะกระจายไปสู่กระดูก ปอด ตับ และสมอง โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตคือการแพร่กระจายของมะเร็งสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ภายหลังการตรวจพบในครั้งแรกพบว่าร้อยละ 30 ของมะเร็งเต้านมจะมีการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มะเร็งเต้านมชนิดที่มีการสนองตอบต่อยาต้านฮอร์โมน 2 เป็นชนิดที่พบได้ร้อยละ 65 ของสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมที่มีอายุระหว่าง 35-65 ปี และ ร้อยละ 82 ของสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป(2) การค้นพบนวัตกรรมการรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญ และนับเป็นยาตัวแรกของยาต้านมะเร็งชนิดที่ยับยั้งการทำงานของโปรตีนซีดีเค 4/6 ซึ่งใช้ร่วมกับการรักษาโดยการให้ยาต้านฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นๆ โดยยาดังกล่าวได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้ใช้เป็นยาอันดับแรก (First Line) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือแพร่กระจายชนิด ER+/HER 2- วัยหมดประจำเดือน และจะเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาเพื่อยืดอายุ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยในประเทศไทย นวัตกรรมใหม่นี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของไฟเซอร์ เนื่องจากยาชนิดนี้เมื่อใช้ร่วมกับ Letrozole สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยโรคสงบเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับการรักษาโดยให้ Letrozole เพียงอย่างเดียว ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มนี้ "บริษัทไฟเซอร์ ในฐานะผู้นำด้านมะเร็งวิทยามีความภูมิใจในการนำเสนอทางเลือกให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย โดยมีการพัฒนานวัตกรรมยาและทางเลือกใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษามะเร็งซึ่งเป็นโรคที่มีความซับซ้อนสูง คุณลักษณวรรณ ตั้งไพบูลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจไฟเซอร์ อินโนเวทีฟ เฮลท์, ประเทศไทยและอินโดนีเซีย, บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว ด้าน รศ.นพ. นรินทร์ วรวุฒิ อายุรศาสตร์, มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "ไฟเซอร์ได้พยายามคิดค้น และนำเสนอยาที่สามารถยืดอายุให้กับผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายสูงสุดในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจายก็คือ การยืดอายุผู้ป่วยให้ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" แพทย์หญิง คิมเบอร์ลีย์ ลินน์ แบล็คเวลล์ หนึ่งในวิทยากรรับเชิญในงานเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการรักษามะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย ได้ให้ความเห็นว่า "ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานความเข้าใจของไฟเซอร์เกี่ยวกับชีววิทยาของมะเร็งทำให้สามารถสร้างสรรค์พัฒนาการด้านการรักษาใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับทั้งแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยด้วย" บริษัทฯ มีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับสังคมไทย รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรคต่างๆ และการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตระหนักถึงปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม และความต้องการในการเข้าถึงการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสมทั่วโลก โดยเราให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นแรงผลักดัน และเป็นแรงบันดาลใจให้แผนกมะเร็งวิทยาของไฟเซอร์สร้างสรรค์นวัตกรรมยาที่ล้ำหน้าในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง การเปิดตัวนวัตกรรมยาสำหรับรับประทานเพื่อรักษามะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งของไฟเซอร์ด้านการวิจัย และวิทยาศาสตร์เพื่อนำเสนอยารักษาโรคที่มีนัยสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วย เอกสารอ้างอิง 1. www.ema.europa.eu http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=pages/news_and_events/news/2016/09/news_detail_002604.jsp&mid=WC0b01ac058004d5c 2. www.ema.europa.eu http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=pages/news_and_events/news/2016/09/news_detail_002604.jsp&mid=WC0b01ac058004d5c

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ