"หมอปราเสริฐ" พูดบนเวทีวิชาการ 50 ปีแพทยสภาเมื่อไหร่จะมีใครพูดถึงเรื่องการร่วมจ่าย ( co-payment ) บ้าง ?

ข่าวทั่วไป Wednesday June 20, 2018 16:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--Med Agency การประชุมวิชาการครบ 50 ปีแพทยสภา เพื่อแสดงผลงาน การทำงานร่วมกันกับเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทิศทางการทำงานต่อไปของแพทยสภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้แพทย์และประชาชนในด้านการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม กระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายวิชาการกับแพทยสภา กระตุ้นให้แพทย์ทำเวชปฏิบัติที่ทันสมัยและติดตามความก้าว หน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง แสดงสิ่งที่แพทยสภาคาดหวังจะทำและประสบ ความสำเร็จในอีก 10 ปีข้างหน้า แสดงความก้าวหน้าด้านวิชาการของ เครือข่ายต่างๆ ของแพทยสภา และแสดงความสำคัญและผลงานที่โดดเด่น ของแพทยสภา ในวาระครบรอบ 50 ปี โดยงานมีจนถึง 22 มิถุนายน 2561 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค อาคาร Impact Forum ชั้นที่ 2 เมืองทองธานี เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook รายงานว่า การปาฐกถาเรื่องการแพทย์ไทยในยุค 4.0 ในการประชุม 50 ปีแพทยสภาวันที่ 20 มิ.ย. 2561 โดย ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวตอนหนึ่งว่า "ระบบสาธารณสุขได้มีการใช้ Value Based Medicine กล่าวคือ ดูแลปชช.ให้ได้มากที่สุด โดยใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ ประชาชนคนไทยได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดในโลกรวมทั้งได้รับการดูแลสุขภาพแบบเท่าเทียมกัน ไม่มีใครต้องล้มละลายจากการเจ็บป่วย มีงบประมาณจำกัด การกระจายงบประมาณ และบุคลากรไม่ดีกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ดูแลปชช.และเจ้าหน้าที่ให้มีความสุข จะสร้างหมอครอบครอบครัว หมอ 1 คน ดูแลปชช. 10,000 คนจะจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอมีนายอำเภอ เป็นประธาน มีหลายกระทรวงมาเป็นกรรมการร่วม มีสาธารณสุขอำเภอเป็นเลขา เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ เพราะสุขภาพไม่ใช่เรื่องของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ขณะที่ นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานกก.บริหาร บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ( มหาชน ) หรือ BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนกลุ่มใหญ่ที่สุดของไทยพูดในชม.ต่อมาว่า เมื่อไหรจะใครพูดถึงเรื่องการร่วมจ่าย ( co-payment ) บ้าง เป็นคำพูดที่เข้าใจระบบสาธารณสุขไทย ในตอนนี้ดีจริงๆ เพราะหากอ่านผิวเผินถึงเรื่องการร่วมจ่าย ( co-payment ) ประชาชนบางส่วนอาจจะไม่เข้าใจ แต่ทางการแพทย์จะเข้าใจดี ซึ่งในที่ประชุมก็มีแต่แพทย์ทั้งนั้น แล้ว ใยไม่พูดความจริงว่า "หากมีการร่วมจ่าย ( co-payment ) ประชาชนคนไทยจะได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก โดยใช้งบประมาณตามความจริง และ ได้รับการดูแลสุขภาพแบบเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ไม่มีใครล้มละลายจากการเจ็บป่วย ประชาชนพึงพอใจ รัฐบาลมีความสงบ บุคลากรทางการแพทย์ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข วันแรกจากเวทีแก้ปัญหา กลายเป็นเวทีแถลงผลงาน อนาคตข้างหน้าคนไทยต้องเก็บเงินเอาไว้เยอะๆ เพราะการรักษาพยาบาลจะต้องกลายเป็น "คนมีเงินที่ได้รับการรักษาอย่างดี" ส่วนไม่มี ไม่เก็บเงิน แต่ก็อนาถาต่อไป
แท็ก ศรัทธา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ