ความเสี่ยงเงินทุนไหลออกและการโจมตีค่าเงิน

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday June 25, 2018 11:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เตือน เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets และอาเซียนบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี รัสเซีย มีความเสี่ยงถูกโจมตีค่าเงินและตลาดการเงินอีก ขณะที่ไทยยังมีความเสี่ยงต่ำแต่ยังต้องเผชิญกระแสเงินทุนระยะสั้นไหลออกอีกระยะหนึ่ง อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 33.50-34.00 ในไตรมาสสามได้ เงินบาทอ่อนลงส่งผลดีต่อภาคส่งออกไม่มากนักเพราะมีความผันผวนสูง และ ค่าเงินกลุ่มประเทศคู่แข่งใน Emerging Markets ก็ปรับตัวอ่อนค่าเช่นกัน ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยสำคัญ การปรับตัวลดลงและการปรับฐานราคาครั้งใหญ่ของราคาหุ้นจึงเป็นผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ การทำ QE Exit และ ความวิตกกังวลเรื่องสงครามการค้า ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนการประเมินตัวเลขจีดีพีโดยมองอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปี พ.ศ. 2561 ยังคงอยู่ที่ 4.1-4.7% อัตราเงินเฟ้อขยับขึ้นมาอยู่ที่1.0-1.5% เนื่องจากผลของสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯระยะสั้นและระยะปานกลางยังคงมีทั้งผลบวกและผลลบต่อภาคส่งออกของไทย ส่วนหากปล่อยให้สงครามการค้ายืดเยื้อจะเกิดความเสียหายต่อปริมาณการค้าโลกและกระทบสุทธิต่อภาคส่งออกไทยเป็นลบ 14.00 น. 24 มิ.ย. 2561 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นต่อสถานการณ์การไหลออกของเงินทุนระยะสั้นและการโจมตีค่าเงิน ว่า เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ Emerging Markets และอาเซียนบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี รัสเซีย มีความเสี่ยงถูกโจมตีค่าเงินและตลาดการเงินอีก เงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้นในตลาดการเงินไหลออกกลับสหรัฐอเมริกาซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้และเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวอย่าง แข็งแกร่ง อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ที่ระดับ 2.5% ภาวะดังกล่าวทำให้ค่าเงินของประเทศในกลุ่ม Emerging Markets อ่อนตัวถ้วนหน้าโดยเฉพาะประเทศที่มีการฐานะดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอ่อนแอและมีทุนสำรองระหว่างประเทศไม่สูงนัก รวมทั้งมีระดับเงินเฟ้อสูง ประเทศไหนที่มีเงินไหลออกมากๆจะเป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีค่าเงินได้อีก บางประเทศอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดการไหลออกของเงินทุน อย่างประเทศฟิลิปปินส์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 3.5% เพื่อสกัดเงินไหลออกและเงินเฟ้อ ขณะที่บางประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอจะอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากหากต้องตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ ขณะที่เงินบาทไทยยังมีความเสี่ยงต่ำที่จะถูกโจมตีเพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง เงินเฟ้อต่ำและยังคงเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังต้องเผชิญกระแสเงินทุนระยะสั้นไหลออกอีกระยะหนึ่ง อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 33.50-34.00 ในไตรมาสสามได้ เงินบาทอ่อนลงส่งผลดีต่อภาคส่งออกไม่มากนักเพราะมีความผันผวนสูง และ ค่าเงินกลุ่มประเทศคู่แข่งใน Emerging Markets ก็ปรับตัวอ่อนค่าเช่นกัน และตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแต่อย่างใด หากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน เงินยังคงไหลออกจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ทางการไทยอาจต้องพิจารณาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยสำคัญ การปรับตัวลดลงและการปรับฐานราคาครั้งใหญ่ของราคาหุ้นจึงเป็นผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ การทำ QE Exit และ ความวิตกกังวลเรื่องสงครามการค้า ต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิไปแล้ว 165,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากในช่วงสองไตรมาสแรกของปีนี้ หากรวมยอดขายสะสมสุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ที่เริ่มมีเงินทุนระยะสั้นไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ จะได้ยอดขายสะสมทั้งหมดที่สูงถึง 498,000 ล้านบาท ตอนนี้ นักลงทุนต่างชาติมีน้ำหนักหุ้นไทยเฉลี่ยที่ 2.8% ซึ่งใกล้เคียงกับน้ำหนักหุ้นไทยใน MSCI Asia ex. Japan Index ที่ 2.6% แรงขายเพิ่มเติมจะเกิดจากการลดน้ำหนักการลงทุนของกองทุนต่างชาติในตลาดเกิดใหม่ ส่วนปัจจัยภายในของไทยที่กระตุ้นให้เกิดแรงเทขายจะเป็นผลมาจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง ความเสี่ยงทางการเมืองมากกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน คณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนการประเมินตัวเลขจีดีพีโดยมองอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปี พ.ศ. 2561 ยังคงอยู่ที่ 4.1-4.7% อัตราเงินเฟ้อขยับขึ้นมาอยู่ที่1.0-1.5% เนื่องจากผลของสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯระยะสั้นและระยะปานกลางยังคงมีทั้งผลบวกและผลลบต่อภาคส่งออกของไทย ส่วนหากปล่อยให้สงครามการค้ายืดเยื้อจะเกิดความเสียหายต่อปริมาณการค้าโลกและกระทบสุทธิต่อภาคส่งออกไทยเป็นลบ โดยในปี พ.ศ. 2561 ดุลการค้ายังคงเกินดุลต่อเนื่องที่ระดับ 29-30 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าจะมีการเร่งตัวของการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าทุน สะท้อนการฟื้นตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนโดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนน่าจะขยายตัวได้ในระดับ 3-4% อย่างไรก็ตาม ภาคการลงทุนจะชะลอตัวลงทันทีหากประเทศไทยไม่สามารถจัดการเลือกตั้งหรือกลับคืนสู่ประชาธิปไตยได้ในช่วงต้นปีหน้า การบริโภคเอกชนจะขยายตัวได้ในระดับ 3% การลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยไม่ได้ส่งผลให้ภาคบริโภคกระเตื้องขึ้นมากนักเพราะมีการชะลอการสร้างหนี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในปี พ.ศ. 2018 การก่อหนี้เพื่อการบริโภคต่ำกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ สถาบันการเงินมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นในการปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภค ครัวเรือนหนี้สูงมีแนวโน้มชะลอก่อหนี้ใหม่ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยยังมีลักษณะเป็นการเติบโตที่ยังกระจุกตัวในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกของบรรษัทข้ามชาติที่ใช้เทคโนโลยีและทุนเข้มข้น ขณะเดียวกันรายได้และผลประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่กระจายมายังกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กและประชาชนโดยทั่วไปมากนัก ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรบางตัวปรับตัวลดลงมากทำให้กำลังซื้อในภาคชนบทไม่ดีนัก ตารางตัวเลขเศรษฐกิจโลก การคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี พ.ศ. 2561 2557 2558 2559 2560F 2561F (พย.60 ) (มิ.ย. 61) เศรษฐกิจโลก(%) 3.6 3.4 3.2 3.6 3.9 สหรัฐอเมริกา 2.6 2.9 1.5 2.2 2.5 ยูโรโซน 1.3 2.0 1.8 2.1 1.9 ญี่ปุ่น 0.3 1.1 1.0 1.5 0.7 จีน 7.3 6.9 6.7 6.8 6.5 ปริมาณการค้าโลก(%) 3.4 2.8 2.6 4.2 4.0 อัตราแลกเปลี่ยน(บาท/ดอลลาร์ สรอ.) – เฉลี่ย 32.48 34.29 35.29 33.3 33.5-34.50 ราคาน้ำมันดิบดูไบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) – เฉลี่ย 96.5 50.9 41.4 50-60 55-65 ราคาส่งออก ดอลลาร์ สรอ. (%) - 1.0 -4.1 -0.4 0.5-1.5 1.5-2.0 ราคานำเข้า ดอลลาร์ สรอ. (%) - 1.8 -10.8 -2.7 2.5-3.5 2.0-3.0 จำนวนนักท่องเที่ยว(ล้านคน) 24.8 1.54 1.76 35-36 37-39 ที่มา : ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป คณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต/สศช /อนุสรณ์ ธรรมใจ Forecast

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ