NIDA Poll เรื่อง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

ข่าวทั่วไป Monday July 2, 2018 12:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 – 28 มิถุนายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง ครึ่งปีที่ผ่านมา (มกราคม – มิถุนายน 2561) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.88 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจแย่ลง เพราะ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น รองลงมา ร้อยละ 30.24 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจเท่าเดิม เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเลย และร้อยละ 14.88 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะ มีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่บางส่วนระบุว่า ราคาพืชผลทางการเกษตรมีการขยับตัวสูงขึ้น ด้านข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายที่อยากให้รัฐบาลนำไปใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.68 ระบุว่า นโยบายรับซื้ออุดหนุนพืชผลทางการเกษตร รองลงมา ร้อยละ 42.80 ระบุว่า นโยบายควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 19.84 ระบุว่า นโยบายเพิ่มงานเพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน และแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 17.44 ระบุว่า นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยและคงอัตราภาษี ร้อยละ 17.04 ระบุว่านโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยละ 12.64 ระบุว่า นโยบายมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อยเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ11.68 ระบุว่า นโยบายในการสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการจัดการเลือกตั้ง ร้อยละ 8.80 ระบุว่า นโยบายที่สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ร้อยละ 7.28 ระบุว่า นโยบายที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการส่งออกของประเทศไทย ร้อยละ 5.12 ระบุว่า นโยบายพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) และร้อยละ 2.88 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นโยบายการลดราคาน้ำมัน การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลดำเนินการก็ดีอยู่แล้ว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีนโยบายที่จะนำเสนอ สำหรับความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงครึ่งปีหลังจะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.64 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ช่วยประชาชนทุกระดับอย่างแท้จริง เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นโครงการที่ไม่ต่อเนื่อง และเป็นโครงการระยะสั้น รองลงมา ร้อยละ 38.32 ระบุว่า มีความเชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นโครงการที่ดี ทำให้หลาย ๆอย่างดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีผู้นำที่ดีและมีความเข้มแข็ง และร้อยละ 5.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเมื่อมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลชุดใหม่ จะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.64 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางในการบริหารและพัฒนาประเทศได้ดีกว่า รองลงมา ร้อยละ 22.40 ระบุว่า เศรษฐกิจของไทยจะเหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็เหมือนเดิม ร้อยละ 2.00 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และจะ ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหา และร้อยละ 14.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.32 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.56 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.40 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.64 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.28 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.88 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.52 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.68 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.32 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.56 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 93.28 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.12 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.36 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.44 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 68.80 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.88 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.88 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.80 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.28 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.60 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.80 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.24 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.32 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.04 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.00 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.36 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.72 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.52 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.28 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.68 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ