"ณัฐพงศ์ เทียมดาว" 1 ใน 5 Ramamedic เตรียมนำเสนอผลวิจัย ในงานประชุม EUSEM 2018

ข่าวทั่วไป Monday July 2, 2018 13:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--Med Agency อย่างที่เคยทำสกู๊ปข่าวเรื่อง การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ Emergency Medicine เป็นสาขาขาดแคลน เนื่องมาจากภาครัฐเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการมีแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency physician: EP) และต้องการเร่งผลิตให้มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ นโยบายกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีแพทย์ฉุกเฉินอย่างน้อย 1,000 คนใน 5 ปี ซึ่งปัจจุบัน ในโรงพยาบาลรัฐ มีแพทย์ฉุกเฉินปฏิบัติงานอยู่ไม่ถึง 200 คน ดังนั้นจึงเป็นสาขาที่นักศึกษาแพทย์หันมาเรียนต่อด้านนี้จำนวนมาก ไม่เฉพาะโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐเพราะ ภาคเอกชนก็มีความต้องการแพทย์ฉุกเฉินอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในวงการแพทย์ จะพบว่า เวชศาสตร์ฉุกเฉินเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปแบบก้าวกระโดด นักศึกษาแพทย์ฉุกเฉินจบใหม่เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดดเด่นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าดีใจต่อระบบสุขภาพ และ คนไทย ล่าสุด ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook รายงานว่า ทาง Ramamedic ได้แสดงความยินดีกับ นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 และ 3 ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบไปด้วย นศ.นฉพ.จิรยุทธ เพชรเครือ นศ.นฉพ.เจษฎากร เจนพาณิชพงศ์ นศ.นฉพ.ชัพวิชญ์ ศิลารักษ์ นศ.นฉพ.ณัฐกิต ศรีเนาเวช และ นศ.นฉพ.ณัฐพงศ์ เทียมดาว โดยทั้งหมดได้รับการตอบรับในการนำเสนอผลงานในรูปแบบ e Poster presentation รูปแบบภาษาอังกฤษ ในเรื่อง "Comparison of prone and kneeling intubation in mannequin model with limitation of neck movement, a cross over design" ในงานประชุมวิชาการ The European Society for Emergency Medicine ( EUSEM 2018 ) ณ เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ในวันที่ 8-12 กันยายน 2561 ภายในงาน EUSEM 2018 มีผลงานวิจัยของนักศึกษาในหลักสูตร RAMAMEDIC ถึง 4 เรื่องด้วยกัน ทั้งนี้ 1 ใน 5 มีผลงานวิจัยของ นศ.นฉพ.ณัฐพงศ์ เทียมดาว หรือ นัท นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งความหวังของทั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คนไทยทั้งประเทศ อย่างที่เราทราบกันดีว่าสาขาแพทย์เฉพาะทาง Emergency Medicine เป็นสาขาที่ขาดแคลน จึงเป็นที่ต้องการของสังคมไทย ในการจะเข้ามาเป็นแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นแพทย์ด่านแรกที่ประชาชน ผู้ป่วยจะได้เจอ และ สื่อสารด้วย เป็นหน้างานที่ท้าทายอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่ผลันแปรในห้องฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละวัน ! และต้องขอขอบคุณ Paramedic รามาธิบดี ที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงสู่ระบบสาธารณสุขเมืองไทยด้วยค่ะ ซึ่งจากสกู๊ปข่าวชิ้นนี้น่าจะสร้างแรงบันดาลใจกับนักเยาวชนไทยไม่มากก็น้อย
แท็ก Medicine  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ