“ไทย-ออสเตรีย” ร่วมมือ สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ศิลปะของไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday September 11, 2018 13:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--พีอาร์มงกุฏเพชร - พูดถึง "นักอนุรักษ์ศิลปะ" ประเทศไทยอาจไม่คุ้นหู แต่ประเทศที่เจริญแล้วโดยเฉพาะฝั่งยุโรป ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมโบราณเป็นอย่างมาก - ณ ปัจจุบันมีการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาอนุรักษ์งานศิลปะเพื่อให้คงอยู่ยาวนานสืบไป - กล่าวกันว่า ศิลปะโบราณ คือ การเรียนรู้รากเหง้า บอกว่าเราเป็นอะไร และจะเติบโตไปทางไหน - เร็วๆ นี้จะมีความร่วมมือทางวิชาการด้านหลักสูตรนักอนุรักษ์ศิลปะ หลักสูตรนานาชาติระหว่างสองสถาบันชั้นนำในไทย-ออสเตรีย ผศ.ดร.วันชัย สุทธะนันท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ผศ.ดร.สมพิศ ขัตติยพิกุล คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ University of Applied Arts, Institute of Conservation กรุงเวียนนา ออสเตรีย และ สถานเอกอัครราชทูตประเทศออสเตรีย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ศิลปะ เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรของ ประเทศ ตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรมเพื่อธำรงไว้ซึ่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม โดยมี Dr.Tatjana Bayerova พร้อมคณะ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์งานศิลปะ จากหลักสูตรที่สั่งสมมากว่า 150 ปี และประสบการณ์จากากรอนุรักษ์ศิลปะระดับโลกร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก H.E Eva Hager เอกอัครทูตออสเตรียประจำประเทศไทย มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารเข้าร่วมในครั้งนี้ด้ว เมื่อเร็วๆ นี้ ( วันที่ 3-7 กันยายน ณ บ้านเลขที่ 1 สี่พระยา) ภายในงาน Dr.Tatjana Bayerova จากสถาบัน University of Applied Arts, Institute of Conservation มหาวิทยาลัย University of Applied Arts เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยศาสตร์ในการอนุรักษ์งานศิลปะ ซึ่งในการอบรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบชิ้นส่วนศิลปวัตถุโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษจาก Mag.Bernhard Kernegger, Head of Studies และ Professor Dr.Krist Gabriela, Head of Conservation School มหาวิทยาลัย University of Applied Arts ในเรื่องระบบการศึกษาของประเทศออสเตรียและงานอนุรักษ์ในทวีปยุโรป ทั้งนี้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยังเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรียครบรอบ 150 ปี ผศ.ดร.สมพิศ ขัตติยพิกุล คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลงานศิลปะที่นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่หนึ่งในปัญหาที่ประเทศไทยประสบคือการขาดแคลนบุคลากรด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ การขาดความรู้ในด้านดังกล่าวอาจส่งผลให้มีการเลือกใช้วิธีซ่อมแซมผลงานหรือใช้วัสดุอุปกรณ์ เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจทำให้มรดกทางวัฒนธรรมอันมีค่าของชาริเสื่อมสภาพลงได้ มหาวิทยาลัยศิลปากรมีชื่อเสียงทางด้านศิลปะตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2486 อีกทั้งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยคือการอนุรักษ์ศิลปกรรมเพื่อธำรงไว้ซึ่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และเพื่อการศึกษาอย่างยั่งยืนในศาสตร์แขนงต่างๆ การให้ความรู้จึงเป็นหนึ่งในพันธกิจ ดังนั้นจึงมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับสถาบัน Institute of Conservation มหาวิทยาลัยUniversity of Applied Artsเพื่อสร้างองค์ความรู้ เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ทราบหลักการและเทคนิควิธีการปฏิบัติด้านการอนุรักษ์จากผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิชาการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านอนุรักษ์ศิลปกรรม Prof. Dr. Krist Gabriela จาก Institute of Conservation มหาวิทยาลัย University of Applied Arts เผยว่า "ประเทศไทยมีความหลากหลาย มรดกทางวัฒนธรรมของไทยมีการขึ้นทะเบียนระดับโลกจำนวนมาก ควรรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง ในความรู้สึกคิดว่าประเทศไทยมีต้นทุนที่ดีมาก นอกจากความสวยงามของประเทศแล้ว ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอีกมากมาย ทั้งทัศนียภาพก็งดงาม แต่เนื่องจากเรามาสายอนุรักษ์ จึงประทับใจศิลปะด้านวัตถุของประเทศไทยมากเป็นพิเศษ มีผลงานหลายชิ้น ที่สะท้อนความเป็นตัวตนอย่างเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งมีอัตลักษณ์ชี้ให้เห็นถึงความปราณีตบรรจงของบรรพบุรุษไทยแต่ครั้งบรรพกาล" ความสำคัญกับการการอนุรักษ์ศิลปะ? "ในยุโรปการอนุรักษ์มรดกเป็นสิ่งที่ตระหนักมานานแล้ว เรามีประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์มาร้อยกว่าปี เพราะเราเชื่อว่า งานอนุรักษ์อะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือสำคัญต่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่สำคัญมากต่อประชาชนทั่วโลก เราไม่ได้เป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นของประเทศเราเท่านั้น ศิลปะเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ทุกคน ทุกชนชาติ ด้านประเทศไทยมีมรดกทางศิลปะนี้ค่อนข้างมาก เห็นได้ว่าแต่ละปี จะมีนักท่องเที่ยวมากมายต้องการมาประเทศไทย เพื่อเข้ามาศึกษา ชื่นชม ศิลปะโบราณ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องพัฒนาสิ่งเหล่านี้ พร้อมเรียนรู้วิธีการรักษาให้ยั่งยืนยาวนานที่สุด และควรปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตอนุรักษ์ศิลปะตั้งแต่เด็ก การเรียนรู้วัฒนธรรมมีความสำคัญ ทำให้รู้ว่ารากเหง้าว่าเรามาจากไหน และอนาคตเราจะเป็นอย่างไร ในยุโรปมีการพัฒนาสาขาอนุรักษ์ศิลปะโบราณมานานแล้ว แต่ของเมืองไทยเพิ่งเริ่ม ยังต้องใช้เวลาพัฒนาอีกมาก เพื่อพัฒนาคนที่เชี่ยวชาญงานอนุรักษ์ การมาครั้งนี้นับเป็นโอกาส และการร่วมมือกันก็จะช่วยสร้างโอกาส สร้างหลักสูตรที่มีคุณภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ