ม.มหิดล จับมือ มจธ. ลงนามความร่วมมือวิจัยพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ พัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ของไทยอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Wednesday December 12, 2018 15:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--outdoorpr ม.มหิดล จับมือ มจธ. ลงนามความร่วมมือวิจัยพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ พัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ของไทยอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ด้านวิชาการและวิจัยพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ ร่วมกันพัฒนานวัตกรรม ด้านวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ อีกหนึ่งความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ชาติ สาธารณสุข ๔.๐ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัยและพัฒนาวัสดุฉลาด เพื่องาน ทางการแพทย์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ที่จะช่วยกันสนับสนุนงานวิจัย และ พัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ของไทยอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของงานวิจัยวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ ภาพรวมของวงการแพทย์ไทยในระดับสากล และส่งผลต่อการมีสุขภาพดีของคนภายในประเทศต่อไป การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะทำให้องค์ความรู้ และผลงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ขยายผลออกไปในวงกว้าง รวมถึงร่วมมือวิจัยและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขของประเทศ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จ ตามยุทธศาสตร์ชาติ สาธารณสุข ๔.๐ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ โดยสำเร็จสมบูรณ์ อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ด้าน รศ.ดร.นพ.ฑิตพงษ์ ส่งแสง ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ยินดี ซึ่งเราไปถึงจุดที่ผลิตใช้เองให้เหมาะสมกับคนไทยและคนเอเชียได้แล้ว ทำให้มี โอกาสช่วยเหลือผู้ป่วยจำนวนมากๆ ได้ และยังสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับแพทย์เฉพาะทาง รุ่นใหม่ๆ เป็นการยกระดับเทคโนโลยีการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ซึ่งการลงนามความ ร่วมมือด้านงานวิจัยวัสดุฉลาดสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลกับคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนั้น เริ่มต้นจาก การที่ทั้งสองแห่งมองเห็นปัญหาที่ตรงกันคือ การขาดแคลนเทคโนโลยี และความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยกับวิศวกรที่มี ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ทำให้ สถานการณ์การบริการทางสาธารณสุขของประเทศนั้นยังคงมีปัญหา จากการต้องนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ทาง การแพทย์จากต่างประเทศในมูลค่าที่สูงประกอบกับ รัฐฯ เองก็ไม่สามารถดูแล และให้บริการด้านสุขภาพ แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง "ในวันนี้ ทีมนักวิจัยจากทั้งสองสถาบันได้ทำงานร่วมกัน จนทำให้มั่นใจได้ว่า นับจากจากนี้ไป ประเทศไทยจะเปลี่ยนเป็นประเทศที่สามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ที่มีเทคโนโลยี และสามารถช่วยเหลือ รักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำโดย รศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ และนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้ร่วมมือกันเพื่อ ออกแบบและพัฒนาการผลิตอุปกรณ์ขดลวดค้ำยันที่ใช้ในการลากลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลันหรือที่เรียกว่า Retriever stent ที่ต้องใช้เวลาทำการ วิจัยและพัฒนาประมาณ2-3 ปี โดยออกแบบจากวัสดุโลหะผสมจำรูป จากส่วนประกอบของนิกเกิล และ ไทเทเนียม ให้มีคุณสมบัติ ความยืดหยุ่นยิ่งยวด เพื่อให้สามารถที่สอดอุปกรณ์ดังกล่าว เข้าไปเข้าไปใน สายสวน ที่มีขนาดเล็กมากกว่าหลอดเลือด เพื่อสามารถนำพาอุปกรณ์ตัวนี้ไปยังจุดที่ต้องการ เมื่อปล่อย ออกจากสายสวน อุปกรณ์สามารถคืนรูปเดิมและทำการลากลิ่มเลือดออกมาจากหลอดเลือดได้ โดย ไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ ซึ่งเป็นการรักษาที่ทันท่วงที และมีอาการบาดเจ็บจากการผ่าตัดน้อยที่สุด" รศ.ดร.นพ. ฑิตพงษ์กล่าว รศ.ดร.อนรรฆขันธะชวนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด กล่าวว่าครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการทำงานวิจัยที่มีเป้าหมาย ชัดเจนระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ที่มีความเข้มแข็ง การร่วมมือในครั้งนี้ได้ใช้ ความรู้ความสามารถและความ เชี่ยวชาญของเราในเรื่องของวัสดุฉลาดนำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบ พัฒนาอุปกรณ์สายสวน โดยเริ่มจากขดลวดค้ำยันสำหรับลากลิ่มเลือดให้กับผู้ป่วยโรคสมองที่มีจำนวนมาก ในประเทศไทย เรามุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาการออกแบบให้แข่งขันกับต่างประเทศได้มีความน่าเชื่อถือและ มีราคาที่เหมาะสมตลอดจนผลักดันให้ภาครัฐฯสามารถเบิกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไปได้ ในอนาคตคาดว่าถ้างานวิจัยนี้ทำสำเร็จแล้ว จะเห็นสิ่งที่ตามมาอีกเพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์รักษา ชนิดสายสวนหลายๆประเภท เช่น ขดลวดค้ำยันชนิดลากลิ่มเลือดเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และอุปกรณ์อุดรอยรั่วหัวใจสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ที่กล่าวมานั้นไม่มีการผลิตในประเทศไทยและ มีราคาแพงงานวิจัย ครั้งนี้จึงถือว่ามีความสำคัญกับประเทศชาติมากและสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เราทำงาน วิจัยนี้ได้ คือ ความตั้งใจอย่างเข้มแข็งและมุ่งมั่น ของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมวิศวกร ซึ่งจะเป็น โอกาสที่ท้าทายของประเทศไทยมาก อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์วัสดุฝังในเป็นการนำองค์ความรู้ด้านวัสดุฉลาด คือ โลหะผสมจำรูป ที่มี ความยืดหยุ่นสูง ปลอดภัยเมื่อนำไปไปใช้กับร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการ แพทย์ และมีบทความทางวิชาการ เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยลวดโลหะผสมจำรูปถือได้ว่าเป็นวัสดุพื้นฐาน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์การแพทย์ ที่มีลักษณะเป็นโครงร่างค้ำยัน หรือ สามารถใช้เป็น อวัยวะเทียมเพื่อฟื้นฟูร่างกายได้ ซึ่งโครงการความร่วมมือนี้มุ่งเน้นในการศึกษาการฟื้นฟูโรคหลอดเลือด สมองตีบตันระยะเฉียบพลันและโรคหัวใจ โดยนำลวดโลหะผสมจำรูปมาผลิตโดยใช้ เทคโนโลยีการสาน ที่มีรูปแบบที่ชัดเจนได้แก่ การสานแบบ Braiding และใช้เครื่องมือสำหรับทดสอบเฉพาะทาง โดยอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมานั้นจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. StentRetrieverเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตด้วยวิธีการสานแบบ Braiding ใช้สำหรับรักษาโรค หลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลันที่มีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเป็นโรค อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เนื่อง จากการอุดตันของลิ่มเลือด ที่มีลักษณะเป็นโครงถักรูปทรงกระบอก มีส่วนปลายสำหรับกรองลิ่ม เลือด ออกมาจากตำแหน่งที่อุดตัน ดังรูปที่ 1 งานวิจัยที่ทางห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาดทำการศึกษา ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรแล้ว โดยมีเลขที่คำขอคือ 1701003152 หัวข้อเรื่อง "ขดลวดค้ำยันชนิด ลากลิ่มเลือด จากโลหะผสมจำรูป สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตันแบบเฉียบพลัน และ กรรมวิธีการผลิต" 2. ASD Occluderที่ผลิตด้วยวิธีการสานแบบ Braiding ใช้ สำหรับรักษา โรคหัวใจ อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับเป็นร่ม 2 ชั้น (Double Umbrella) และออกแบบให้สามารถติดตั้งเข้ากับชุดสายสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) ดังรูปที่ 2 แต่มีฟังก์การใช้การที่แตกต่างกัน 2.1 ASD Occluderเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีรูรั่วที่ผนังห้องหัวใจห้องบน จากวิจัยที่ทางห้องปฏิบัติการ Smartlabทำการศึกษาได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรแล้ว โดยมีเลขที่ คำขอคือ 1701000917 หัวข้อเรื่อง "วิธีการผลิตอุปกรณ์อุดผนังหัวใจห้องบนที่สร้างจากลวดโลหะ ผสมจำรูป" "ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยมหิดล คาดหวัง ว่าความร่วมมือระหว่างสองสถาบัน จะช่วยสร้างสรรค์ผลงานในเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของพลเมืองและเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย นำไปสู่ประเทศที่พัฒนา แล้ว ในอนาคต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพวกเราทุกๆ คน " รศ.ดร.อนรรฆกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ