มาปล่อยพลังเมกเกอร์ไปพร้อมกันที่งาน Maker Faire Bangkok 2019 มหกรรมแสดงผลงานและสิ่งประดิษฐ์ของเมกเกอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวทั่วไป Friday January 11, 2019 14:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--เวเบอร์ แชนวิค บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกลุ่มเมกเกอร์ในประเทศไทย เชิญร่วมงาน "Maker Faire Bangkok 2019: WE ARE ALL MAKERS ปล่อยพลังเมกเกอร์ในตัวคุณ" งานมหกรรมรวมพลเมกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างวันที่ 19 – 20 มกราคม 2562 ตั้งแต่เวลา 14:00 ถึง 20:00 น. ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา พบกับบูธจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มาจากพลังไอเดียของเหล่าเมกเกอร์ทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 70 บูธ อาทิ ผลงานศิลปะหลากหลายสไตล์เมกเกอร์ วาไรตี้หุ่นยนต์ ของเล่นอินเตอร์แอคทีฟแสนสนุก มหกรรมรถไฟฟ้าสร้างเองได้ ตลอดจนขบวนอิเลคทริคพาเหรดสุดปังที่ทุกคนรอคอยกับธีมกลองยาวเป็นครั้งแรก!!! พร้อมลุ้นผลผู้ชนะเลิศผลงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อโลกสีเขียวของนักเรียนสายสามัญและอาชีวะ โครงการ Enjoy Science: Young Makers Contest ปีสาม และสนุกกับกิจกรรมเวิร์กช็อป DIY มากมายที่จะทำให้ทุกคนได้ปล่อยพลังเมกเกอร์ออกมา เข้าชมฟรีตลอดงาน! ดูรายละเอียดของงาน Maker Faire Bangkok 2019 และเงื่อนไขของกิจกรรมเวิร์กช็อปเพิ่มเติมได้ที่ www.makerfairebangkok.com และ https://www.facebook.com/makerfairebangkok/ เกี่ยวกับโครงการ "Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต" โครงการระยะยาว 5 ปี ด้วยงบประมาณรวมกว่า 1,000 ล้านบาท ที่บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ริเริ่มขึ้นในปี 2558 เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศไทย ผ่านการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม (STEM) รวมถึงการศึกษาสายอาชีพหรืออาชีวศึกษาครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา สังคม และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีสถาบันคีนันแห่งเอเซียเป็นผู้ดูแลโครงการ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ