ทีม RMUTP RACING สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย คว้าชัยชนะการแข่งขันประเภท รถต้นแบบแห่งอนาคต จากการแข่งขัน เชลล์อีโค-มาราธอน ณ ประเทศมาเลเซีย

ข่าวยานยนต์ Tuesday May 7, 2019 14:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของงาน Make the Future Live ณ สนามแข่งรถเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยทีมเยาวชนจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ด้วยสถิติการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังคว้ารางวัลด้านสื่อสารยอดเยี่ยมไปครอง โดยการแข่งขันในปีนี้มีทีมนักเรียนและนักศึกษาร่วมเข้าแข่งขันกว่า 100 ทีม จาก 18 ประเทศ ผู้ชนะการแข่งขันประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ทีม RMUTP RACING จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประเทศไทย ได้คิดค้นและพัฒนารถต้นแบบแห่งอนาคต โดยใช้เชื้อเพลิงเอทานอลและสามารถคว้าชัยทีมที่ทำสถิติที่ดีที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้ ด้วยระยะทาง 1,546.9 กิโลเมตรเทียบเท่าการใช้เชื้อเพลิงเอทานอล 1 ลิตร หรือคำนวนเป็นระยะการเดินทางระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์และกรุงเทพมหานคร "พวกเราดีใจมากที่สามารถคว้าชัยชนะมาได้ในครั้งนี้ เราเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และ การเรียนรู้จากการเข้าร่วมแข่งขันตลอด 3 ปี และครั้งนี้พวกเราทำได้ สิ่งที่เรายึดถือจนทำให้คว้าชัยชนะมาได้คือการทำงานเป็นทีมครับ" นายพีรพล บุญช่วย ผู้จัดการทีม กล่าว ผู้ชนะทีมอื่นๆ ในรอบการแข่งขันประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ได้แก่ ทีม HuaQi-EV จากจีน ในรอบการแข่งขันประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ด้วยสถิติ 501.6 กิโลเมตร/กิโลวัตต์ชั่วโมง และทีม TP ECO FLASH จากสิงคโปร์ ในรอบการแข่งขันประเภทไฮโดรเจน ด้วยสถิติ 403.3 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร ผู้เข้ารอบการแข่งขันค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมันจากรถยนต์ประเภทเสมือนจริง การแข่งขันเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ทีมที่ทำสถิติเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ของรถรูปแบบที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน ทั้งหมด 9 เข้าร่วมแข่งขันเพื่อค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมัน และในที่สุด ทีม Nanyang E Drive จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University จากสิงคโปร์ วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นทีมแรกในการแข่งขันอันน่าตื่นเต้น สามารถเอาชนะรถยนต์ UrbanConcept หรือรถยนต์ประเภทเสมือนจริงของทีมอื่นได้โดยใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดไปได้ "พวกเราดีใจมาก เพราะเราไม่คิดว่าทีมเราจะชนะและพวกเราก็ยังเข้ารอบแบบเฉียดฉิวในเกือบทุกครั้งด้วย เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของเราคือการทำงานเป็นทีมที่ดี โดยทีมจะตรวจสอบรถในทุกรายละเอียด ทำให้รู้ว่าต้องใช้พลังงานเท่าไหร่และต้องใช้ในส่วนไหน" นายโคลิน โล ผู้ขับจากทีม Nanyang E Drive กล่าว นอกจากนี้ ทีม ITS Team 5 จากมหาวิทยาลัย Institut Teknologi Sepuluh Nopember อินโดนีเซีย คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 2 และทีม LH – EST จากมหาวิทยาลัย Lac Hong University จากวียดนาม คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ไปครอง ทีมชนะเลิศ 3 อันดับแรกจากรอบคัดเลือกในภูมิภาคเอเชียจะได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันการค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมันกับตัวแทนจากภูมิภาคอเมริกาและยุโรป ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเทศกาล Make the Future Live ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 นี้ โดยทีมชนะเลิศจะได้รับเชิญไปเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ สคูเดอเรีย เฟอร์รารี่ ประเทศอิตาลี และได้เข้าร่วมการสัมมนาและเรียนรู้จากเฟอร์รารี่อีกด้วย นายนอร์แมน คอช ผู้จัดการทั่วไป โครงการ Make the Future Live กล่าวว่า "การแข่งขันค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมัน เป็นการแข่งขันที่ผสานการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของรถ เทคนิค และทักษะของผู้ขับ โดยการแข่งขันครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้กลยุทธ์ในการควบคุมจัดการรถขณะที่บริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าเราเห็นผลงานอันน่าทึ่งจาการแข่งขันครั้งนี้ และผมขอแสดงความยินดีกับทุกทีมครับ" การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2019 จบลงด้วยงานมอบรางวัลในพิธีมอบรางวัลฉลองความสำเร็จของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจากหลากหลายภูมิภาคกว่า 18 ประเทศ ทั่วเอเซียและภูมิภาคตะวันออกกลาง รางวัลหลากหลายเหนือขีดจำกัด การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เป็นมากกว่าชัยชนะบนสนามแข่ง โดยนักเรียนนักศึกษายังได้รับการยอมรับทั้งในด้านการสื่อสาร นวัตกรรม การออกแบบ ความปลอดภัย และความอุตสาหะ รางวัลประเภทแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Award) เป็นรางวัลสาขาใหม่ของปีนี้ เพื่อฉลองความสำเร็จของทีมที่สาธิตแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในรูปแบบกรอบความคิด การออกแบบ และระบบการทำงานรถของทีม และกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษานำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาผสานกับการคิดค้นวัตถุ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรมในชีวิตจริงและการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค ทีม MMU Gruene Welt จากมหาวิทยาลัย Multimedia University Melaka Campus จากมาเลเซีย สามารถคว้ารางวัลประเภทแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปได้ด้วยการออกแบบรถ ความเป็นไปได้ของการหมุนเวียนของส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตรถ และการผสานวิธีการประเมินเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ ไปครอง รางวัลอื่นๆ จากการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2019 รางวัลด้านสื่อสารยอดเยี่ยม (Communications Award) ทีม KMUTT E-Drive Revolution จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถคว้ารางวัลด้านการสื่อสารยอดเยี่ยมจากการนำเสนอโปรโมททีมผ่าน social media ต่าง ในระหว่างการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2019 และได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ รางวัลด้านนวัตกรรม (Technical Innovation Award) ทีม GUC Innovators จากมหาวิทยาลัย German University วิทยาเขตกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ได้คิดค้นระบบสำหรับผู้ขับรถที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ (เช่น ไม่มีแขนหรือขา) โดยใช้ระบบที่ควบคุมโดยเซ็นเซอร์คลื่นสมองและเซ็นเซอร์หน้า ซึ่งนำมาใช้ได้จริง โดยได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ รางวัลการออกแบบรถต้นแบบแห่งอนาคต (Vehicle Design Prototype Award) ทีม AVERERA จากมหาวิทยาลัย Institute of Technology - Banaras Hindu University ประเทศอินเดีย ได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ สำหรับนวัตกรรมการออกแบบและการลงมือปฏิบัติ ซึ่งทีมได้พบอุปสรรคและวิเคราะห์หาสาเหตุด้วยการจำลองเหตุการณ์ และสามารถพบวิธีการแก้ไขจากการคัดเลือกวัสดุและการปรับปรุงการออกแบบ รางวัลการออกแบบรถที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ในปัจจุบัน (Vehicle Design UrbanConcept Award) ทีม Nanyang E Drive จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ จากการออกแบบรถล้ำสมัย น้ำหนักเบา 1 ที่นั่ง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากลำตัวและปีกของด้วงสายพันธุ์ Green Dock รางวัลด้านความปลอดภัย (Safety Award) ทีม CUT Eco-Racing UC จากสถาบัน Cairo University ประเทศอียิปต์ คว้าเงินรางวัลจำนวน 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ สำหรับวีถีปฏิบัติด้านความปลอดภัยของทีม โดยระหว่างที่ร่วมการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเอเชียนั้น ทีมนักศึกษาได้แสดงถึงวีธีการปฏิบัติงานที่มีความรอบคอบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งทีมตนเอง และผู้อื่น ทั้งในภายในสนามแข่งและพื้นที่รอบนอก รางวัลสำหรับทีมหน้าใหม่ที่ประดิษฐ์รถประเภทไฮโดรเจน (Hydrogen Newcomer Award) ไฮโดรเจน นับเป็นตัวการสำคัญที่จะพาเราไปสู่อนาคตของพลังงานที่สะอาด โดยทีม ITS Team 5 จากสถาบัน Institut Teknologi Sepuluh Nopember ประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเงินรางวัล 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ จากการนำเสนอรถประเภทไฮโดนเจนที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านดีไซน์ การประหยัดพลังงาน และนวัตกรรม รางวัลความมุ่งมั่นและทีมสปิริตเป็นเลิศ (Perseverance & Spirit of the Event Award) ทีม S.U. Racing จากสถาบัน Satbayev Kazakh National Technical University ประเทศคาซัคสถาน ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและการก้าวข้ามอุปสรรคในการแข่งขันอย่างไม่ย่อท้อ โดยทีม S.U. Racing ได้เรียนรู้จากรายการเชลล์ อีโค-มาราธอนปีที่แล้ว และมีพัฒนาการที่สูงขึ้นในปีนี้อย่างเห็นได้ชัด พวกเขาสามารถตรวจสภาพรถได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว นอกจากนี้ยังได้เตรียมตัวมาอย่างดี และมีความมานะอุตสาหะในการทำงาน ด้วยเหตุนี้ ทีมนักศึกษาจึงได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ เกี่ยวกับโครงการ Make the Future โครงการ Make the Future Live คือโครงการระดับโลกของเชลล์ที่นำผู้คนและไอเดียมารวมตัวกัน และขับเคลื่อนวงการพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลงในอนาคต ในปี 2562 เชลล์ ได้จัดโครงการขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก หัวใจสำคัญของโครงการ Make the Future Live คือ เชลล์ อีโค-มาราธอน ในช่วง 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมา มีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการมาแล้วหลายพันคนจากทั่วทุกมุมโลก สร้างรถที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการออกแบบและใช้พลังงานที่หลากหลาย นอกจากนี้ เรื่องราวด้านความมานะอุตสาหะและความเป็นเลิศทางเทคนิคยังได้รับการกล่าวขานในทุกๆ ปี ของการแข่งขัน เนื่องจากทุกทีมได้ก้าวข้ามผลักขีดจำกัดของสิ่งที่เป็นไปได้ โดยการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเซีย ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับภูมิภาคภายใต้โครงการ Make the Future Live ได้ถูกจัดขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย เกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ได้กลับมาจัดขึ้น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับการแข่งขันในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2553 โดยตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมา รายการเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียได้เติบโตขึ้น ทั้งจำนวนทีมผู้เข้าแข่งขันและจำนวนรถที่ถูกส่งเข้าร่วมรายการ ในปีนี้ มีนักเรียนนักศึกษากว่า 100 ทีม จาก 18 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและตะวันออกกลางเข้าร่วมแข่งขัน โดยเยาวชนเหล่านี้ ได้ใช้ทักษะความเป็นเลิศในด้านวิศวกรรม และเวลาร่วมปีเพื่อออกแบบ และสร้างสรรค์รถที่ใช้พลังงานอย่างพอเพียง เพื่อร่วมทดลองขับ ณ สนามเซปังอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต การแข่งขัน อีโค-มาราธอนเอเชีย มีการแข่งขันหลักสองรายการ โดยการแข่งขันประเภท Mileage Challenge เป็นการทดสอบว่ารถของทีมใดจะวิ่งได้ไกลที่สุด โดยใช้พลังงานที่น้อยที่สุด ซึ่งในการแข่งขันปีที่แล้ว ทีมผู้ชนะได้ประดิษฐ์รถที่วิ่งได้ไกลถึง 2,341 กิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางจากประเทศมาเลเซีย ถึงสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยใช้น้ำมันเพียง 1 ลิตรเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ทีมผู้เข้าแข่งขันที่ชนะการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย จะได้มีโอกาสเข้าร่วมรายการ Drivers' World Championship ซึ่งเป็นรายการที่ใช้ทั้งกลยุทธ์ ทักษะ และความเร็ว เพื่อแข่งขันกันว่ารถของทีมใดจะเข้าเส้นชัยเป็นคันแรกโดยใช้พลังงานไม่เกินที่กำหนด โดยการแข่งขัน Drivers' World Championship ในปีนี้จะจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอณาจักร การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของเชลล์ ในการคิดค้นนวัตกรรมพลังงานเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลก โดยเราได้ร่วมมือกับทั้งนักเรียน นักศึกษา พันธมิตร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ