สสว. บุกภาคตะวันออก รุกตลาดจีน ส่งเสริมการใช้ Application ต่อยอดธุรกิจ ภายใต้งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center)

ข่าวทั่วไป Tuesday June 18, 2019 17:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สสว. จัดกิจกรรมอบรมและเสวนาในหัวข้อ "การใช้ Application อย่างไรให้โดนตลาดจีน"ภายใต้งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ และสาระต่างๆ ที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจต่อไปในอนาคต ดร. เพชรมณี ดาวเวียง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs ปฏิบัติงานช่วยควบคุม กำกับ ศูนย์ให้บริการ SMEs ครบวงจร (OSS) กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินงานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center) โดยมุ่งเน้นองค์ความรู้ในด้าน Digital Economy เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ ผ่านสื่อ Digital ต่างๆ ที่ สสว. ให้บริการผ่านศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) ซึ่งมีศูนย์ฯ อยู่ทั่วประเทศ และผ่านหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนต่างๆ จังหวัดชลบุรีเป็นหนึ่งเป้าหมายที่สสว. ต้องการให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงการใช้ application ของจีนเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ และสาระต่างๆ ที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดความรู้ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการ เพิ่มศักยภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล ภิติวัจน์ วงษ์จิระโรจน์ รองประธานหอการค้าฝ่ายพาณิชย์จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ตลาดการค้าในประเทศจีน ท่ามกลางการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจีน คนจีนให้ความสำคัญในการใช้ Application กันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทที่เด่นชัดขึ้นในแทบทุกด้าน จุดเด่นที่สำคัญของตลาดการค้าจีนพบว่า ตลาดมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจภายในประเทศมีความมั่นคงมากขึ้น แสดงให้เห็นการขับเคลื่อนทางการค้าที่เพิ่มขึ้นและถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การใช้งานโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสารเพียงอย่างเดียวดูจะเป็นเรื่องที่ธรรมดาไป การจัดสัมมนาในครั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยในชลบุรีและภาคตะวันออก จะได้เรียนรู้ และนำข้อมูลความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สินค้าไทยสามารถตอบโจทย์กับกลุ่มตลาดเป้าหมาย และนับเป็นการเปิดตลาดสินค้าเอสเอ็มอีไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด วิทยากร กล่าวว่า การถ่ายทอดเทคนิคและความรู้ต่าง ๆ ผ่านทางช่องทาง Application จะเป็นแรงบันดาลใจให้ขายสินค้าโดนใจลูกค้าจีน สิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องเตรียมนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากงานสัมมนานี้ไปต่อยอดเปิดการค้ากับประเทศจีนในทุกมิติ ประเทศจีนมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ประเทศจีนอาจมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าสหรัฐก็จริง แต่ถ้าเทียบสัดส่วนจากประชากรทั้งประเทศแล้ว สัดส่วนของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาจะมีมากถึงร้อยละ 89 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 290 ล้านคน จากทั่วประเทศแต่สำหรับการใช้งาน Mobile Payment หรือการทำธุรกรรมออนไลน์บนมือถือ ปรากฏว่าคนจีนมียอดการใช้งานสูงกว่าสหรัฐถึงกว่าร้อยละ 22 ทั้งนี้ แบ่งเป็นจำนวนผู้ใช้งาน Mobile Payment ของจีนที่ 520 ล้านคน เท่ากับคิดเป็น 37% ของจำนวนประชากรจีนทั้งหมดในขณะที่สหรัฐอเมริกา มีจำนวนผู้ใช้งาน Mobile Payment อยู่ที่ 48 ล้านคนเท่ากับเพียง 15% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้นนับว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของคนจีนในการใช้งานแอปสำคัญเช่น Alipay และ WeChat Pay ที่สามารถครอบคลุมในการชำระเงินและค่าบริการต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีการหาค่าเฉลี่ยพบว่า มีการใช้งานถึงสามครั้งต่อวัน สำหรับแอปโซเชียลในมือถือที่ใช้งานมากที่สุด ได้แก่ WeChat Qzone และ Weibo ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า Application ของจีนเป็นกระแสใหญ่ของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วโลกในเวลานี้ ซึ่งสำหรับของจีนแล้ว มีรายงานว่ามีผู้ใช้บริการออนไลน์สดบน Livestreaming จากในปีที่ผ่านมา มากถึง 398 ล้านคนสำหรับในปี 2019 คาดว่ายอดของเจ้าของร้านออนไลน์ที่ทำ Live เหล่านี้จะเพิ่มถึง 500 ล้านคน นั่นเท่ากับว่าการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ขณะเดียวกัน มีรายงานอีกว่า อัตราการเติบโตของผู้ใช้งานในภาพรวมก็มีจำนวนลดลง แต่สาเหตุหนึ่งก็เพราะแพลทฟอร์มมีความหลากหลายขึ้น ทำให้มีแนวโน้มว่าเจ้าของร้านออนไลน์เหล่านี้จะพยายามไปใช้งานแพลทฟอร์มที่เหมาะกับสินค้าและกลุ่มเป้าหมายของตนเองมากขึ้น สสว. เล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้ดังกล่าว สามารถสืบค้นเนื้อหาด้านองค์ความรู้ต่างๆ จาก www.smeknowledgecenter.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ