กรมส่งเสริมสหกรณ์ เตรียมปลดแอกหนี้สิน 1.7 แสนล้านบาท ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday June 21, 2019 10:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เตรียมปฏิวัติการแก้หนี้สมาชิกสหกรณ์กว่า 1.7 แสนล้านบาท เตรีมหารือธกส. พักหนี้สมาชิก 3 ปี ให้ทุนสมาชิกกู้สร้างรายได้ เงินคล่องมือค่อยเริ่มชำระหนี้ หลังธปท.พบไม่แก้พาลงเหวทั้งระบบ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า เตรียมดันโครงการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับสมาชิกสหกรณ์ให้มากขึ้น เพิ่มเติมจากรายได้จากปลูกพืชชนิดเดียวหรือรอรายได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตปีละเพียงหนึ่งครั้ง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่พอจ่าย กระทบต่อการชำระหนี้กับสหกรณ์หรือสถาบันการเงิน โดยโครงการดังกล่าวให้แต่ละสหกรณ์ไปคิดว่าต้องการทำอาชีพอะไร เพื่อที่จะได้ขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ จากนั้นกรมจะช่วยเหลือในเรื่องทุนให้กับสมาชิกผ่านสหกรณ์ " ทั้งนี้เป็นผลจากการหารือระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ที่พบว่า ลูกค้าธกส.จะกู้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ หรือกู้สหกรณ์มาชำระธกส.และปรับสัญญาใหม่ ซึ่งกรณีนี้มีรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พบว่า กลุ่ม เอส 3 หรือกลุ่มสหกรณ์ เกษตรกร ไม่ได้ชำระจริง แต่เป็นการกู้เงินจากที่อื่น เพื่อนำเงินมาหมุนชำระหนี้ธกส. เพื่อขอปรับบัญชีเป็นการเพิ่มหนี้แบบพอกหางหมู ซึ่งเป็นประเด็นที่ทางธปท. กังวลว่าอนาคตธกส.จะมีปัญหา ฉะนั้นธกส.พร้อมจะช่วยสหกรณ์แก้ไขอย่างจริงจัง เพราะมาตรการพักหนี้ที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรไม่ได้มีการสร้างายได้เพิ่ม หากไม่ช่วยกันแก้ไขเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ใน 3-4 ปี ทั้งธกส.และสหกรณ์มีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะเหตุสำคัญที่สมาชิกไม่ชำระหนี้หรือค้างชำระเพราะรายได้ไม่เพียงพอ" นายพิเชษฐ์กล่าว ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่า สหกรณ์ส่วนมากไม่ค่อยทำธุรกิจสร้างรายได้ แต่ไปเน้นในเรื่องกิจการปล่อยกู้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหกรณ์ไม่ค่อยทำบทบาทสร้างรายได้ให้สมาชิก โครงการนี้จะมาตอบโจทย์ ซึ่งกรมจะใช้เงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์(กพส.) ปล่อยกู้สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้สหกรณ์ทำแผนงานโครงการเสนอเข้ามา เพื่อนำเงินไปปล่อยให้สมาชิกสหกรณ์กู้ ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อให้สหกรณ์ปล่อยกู้กับสมาชิก นำไปสร้างอาชีพใหม่เพื่อสร้างรายได้และมีเงินส่งชำระหนี้คืนสหกรณ์ นายสุพิทยา พุกจินดา ผู้เชี่ยวชาญกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ต้องเร่งเดินหน้าโครงการเพิ่มรายได้ให้กับสหกรณ์ เพื่อความล้มสลายขององค์การสหกรณ์ทั้งประเทศ เนื่องจากพบว่า เงินในระบบสหกรณ์ทั้งประเทศมีประมาณ 2ล้านล้านบาท แต่พบว่า ปี 2560 สมาชิกมีหนี้ร่วม 175,063ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ของสหกรณ์ภาคเกษตร 163,585 ล้านบาท ภาคประมง 590 ล้านบาท นิคมสหกรณ์การเกษตร 8,227 ล้านบาท หนี้กลุ่มเกษตรกร 2,660 ล้านบาท โดยหนี้สมาชิกทั้งหมดเป็นหนี้ปกติ 133,445 ล้านบาท หนี้เอ็นพีแอล 41,618 ล้านบาท "ตัวเลขทรัพย์สินสหกรณ์ กว่า 2 ล้านล้านบาท ดูดี แต่ ที่น่ากลัว คือ หนี้สมาชิกทั้งสิ้นมี 175,000 ล้านล้านบาท 1.75 แสนล้านแยกเป็น หนี้ปกติ 1.3 แสนล้านบาท หนี้เตรียมเบี้ยว หรือเอ็นพีแอล 4 หมื่นล้านบาท นอกจากนั้นหนี้ 1.3 แสนล้านบาทมีหนี้หมกอีกมาก และเมื่อมาดูเอ็นพีแอลพบว่าน่ากังวลเพราะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2558 เอ็นพีแอล 31,367 ล้านบาท ปี ปี 59 เอ็นพีแอล 36,848 ล้านบาท ปี 60 เอ็นพีแอล 40,996 ล้านบาท เพราะฉะนั้นขณะนี้ต้องรวมกันคิดและพัฒนาเพื่อให้สมาชิกมีรายได้เข้ามา" นายสุพิทยากล่าว นอกจากนั้นพบว่า สหกรณ์การเกษตร มีเงินออมประมาณ 20,788 บาทต่อคนต่อปี หนี้สิน 27,759 บาท ติดลบ 6,971 บาท ต่อคนต่อปี สหกรณ์ประมง เงินออม 20,252 บาทหนี้สิน 39,562 บาท ติดลบ 19,310 บาทต่อคน สหกรณ์นิคม เงินออม 20,306 หนี้สิน39,855 หนี้สิน 15,548 บาทต่อคน กลุ่มเกษตรกร เงินออม 2,751 หนี้สิน 5,442 ติดลบ 2,691 บาทต่อคน นายสุทิน ปันดี ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับแนวทางของกรมที่จะส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก เพราะส่วนตนเดิมเข้ามาที่สหกรณ์แห่งนี้ ปี 2543 ก็พบปัญหามาก ท้อแท้มาก สหกรณ์ไม่มีรายได้ ปล่อยกู้ เก็บหนี้ไม่ได้ เมื่อ สิบปีก่อนปล่อยกู้ 2 ล้านบาท เก็บหนี้ยาก โดนต่อว่าว่าสหกรณ์ไม่หารายได้เลย หลังจากเราทุ่มเททำงาน ที่จะส่งเสริมอาชีพให้มั่นคง ให้เกษตรกรอยู่ได้ เรามุ่งเน้นสร้างรายได้ส่งเสริมอาชีพ สหกรณ์ปลูกพืชเศรษฐกิจ 9 ชนิด เช่น ข้าวโพด ปาล์ม มันสำปะหลัง ถั่ว และกรณีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เริ่มปลูกข้าวโพด ขณะนั้นสมาชิกไม่มั่นใจเพราะเป็นสหกรณ์เล็ก จึงนำร่องในกลุ่มกรรมการ 50 ไร่ เมื่อมีรายได้เกษตรกรเริ่มทำตามขยับเป็นพันไร่ และ 4 พันไร่ และปัจจุบันที่เข้าโครงการ 9 พืช พืชเศรษฐกิจ ทำให้สมาชิกมีรายได้จากการขายผลผลิตมีรายได้ ทำให้สมาชิกมีเงินมาฝากถึง 30 กว่าล้านบาท ต่อไปจะทำเมล็ดพันธุ์พืช เช่นข้าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ