อาลีเพย์ จับมือผู้ประกอบการโรงแรม เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “Hotel Pre-Authorization” สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวจีน กันวงเงินระหว่างเข้าพัก สะดวก ปลอดภัย คืนเงินไวหลังเช็คเอ๊าท์ทันที

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 18, 2019 14:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง อาลีเพย์ แพลตฟอร์มบริการชำระเงินผ่านโมบายล์ และไลฟ์สไตล์ระดับโลก ภายใต้การดูแลของบริษัทแอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส กรุ๊ป ส่งฟีเจอร์ใหม่ "Hotel pre-authorization" ช่วยกันวงเงินระหว่างเข้าพักผ่านแอพ เพื่อสร้างประสบการณ์และความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวจีน เริ่มให้บริการแล้วในโรงแรมเครือเมอริออทและเครือไมเนอร์ กรุ๊ป รวม 31 แห่งทั่วประเทศ จากผลสำรวจ Chinese International Travel Monitor 2018 (CITM) โดย Hotels.com เผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายด้านที่พักของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่แล้ว (2018) นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายด้านที่พัก 30 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 1000 บาท) ต่อวัน[1] ขณะที่ระยะเวลาที่ใช้ต่อทริปยาวนานขึ้นโดยเฉลี่ย 8-9 วัน โดยระยะเวลาในการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับจำนวนวันลาพักร้อน (62%) เทศกาลต่างๆ (50%) และกิจกรรมที่ชอบ (50%)[2] ยิ่งไปกว่านั้น การท่องเที่ยวแบบ Bleisure ที่รวม Business Travel และ Leisure ไว้ด้วยกันยังได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน นักท่องเที่ยวมากกว่า 80% ต้องการขยายระยะเวลาการพักผ่อนหลังเสร็จสิ้นภารกิจอีกประมาณ 4 วัน โดยประมาณ 40% ของนักท่องเที่ยวจีนต้องการกลับไปท่องเที่ยวประเทศที่ตนเคยเดินทางไปแล้วแต่จะไปเที่ยวอีกเมืองที่ไม่ซ้ำกัน โดยประเทศไทยติดอันดับท็อปโฟร์ (Top Four) ของประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวจีนอยากกลับมาเที่ยว (revisit) มากที่สุด[3] ผลสำรวจยังระบุว่าแหล่งที่พักที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเข้าพักในปี 2018[4] อันดับหนึ่งได้แก่ โรงแรมท้องถิ่น (55%) ตามด้วย โรงแรมในเครือต่างประเทศ (International Chain Hotel) (49%) บูทีคโฮเทล (33%) โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (23%) และ โรงแรมที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี (21%) คุณสิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทย บริษัท อาลีเพย์ ประเทศไทย กล่าวว่า "รูปแบบการท่องเที่ยวของชาวจีนที่ต้องการความง่ายและสะดวกสะบาย กำลังเป็นความท้าทายที่ธุรกิจบริการต้องบริหารจัดการทุกจุด เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า อาลีเพย์พบว่า นักท่องเที่ยวจีนพิถีพิถันในการหาแหล่งที่พักระหว่างการเดินทางมากขึ้น แหล่งที่พักที่ดีและมีความเตรียมด้านเทคโนโลยีที่จะสร้างความได้เปรียบให้แก่ธุรกิจโรงแรม และเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดหวังว่าจะได้เจอในเมืองที่ตนไปเยือน โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวกับการชำระเงินในโรงแรม อาลีเพย์จึงบุกเบิกการใช้ฟีเจอร์ "Hotel Pre-authorization" เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านการชำระเงินในกลุ่มธุรกิจโรงแรม สามารถเข้าถึงผู้ใช้ชาวจีนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถใช้บริการนี้ได้" "เราเป็นเจ้าแรกของจีนที่เปิดให้บริการรูปแบบนี้ในประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงแรม 17 แห่งในเครือ Marriott และอีก 14 แห่งในเครือ Minor Group ได้นำฟีเจอร์ Hotel Pre-authorization ไปใช้ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเข้าพัก ทั้งนี้ อาลีเพย์ได้รับความเชื่อมั่นจากแบรนด์ธุรกิจทั้งสองว่า แอพอาลีเพย์และฟีเจอร์ Hotel pre-authorization จะเข้ามาช่วยเสริมจุดแข็งด้านการให้ความสะดวกกับนักท่องเที่ยวชาวจีนมากขึ้น เรามองว่า กลุ่มธุรกิจบริการยังสามารถสร้าง customer experience เพื่อตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนได้อีกมาก โดยเรามีแผนที่จะขยายบริการ Pre-Authorized ไปยังธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การเช่ารถ ฯลฯ เราหวังว่าผู้ประกอบการโรงแรมในไทยจะใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์นี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัยให้กับธุรกิจของตนและ นักท่องเที่ยวชาวจีนอีกด้วย" ฟีเจอร์ Hotel Pre-authorization จะเข้ามาดูแลขั้นตอนการวางประกันค่าโรงแรมหรือแหล่งที่พัก ระหว่างนักท่องเที่ยวจีนกับผู้ประกอบการให้เป็นไปอย่างราบรื่นตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อโรงแรมสแกนแอพ อาลีเพย์จะทำการกันวงเงินในระบบออนไลน์ของลูกค้าไว้ชั่วคราวเพื่อยืนยันการเข้าพัก และเมื่อถึงวันเช็คเอาท์ตามกำหนด ระบบจะทำการคืนเงินให้ลูกค้าทันที โดยไม่ต้องรอถึง 15 วันทำการ ดังเช่นระบบธนาคารทั่วไป สำหรับผู้ประกอบการโรงแรมในไทย ที่ต้องการมอบประสบการณ์ที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวชาวจีน สามารถติดต่อได้ที่: เกี่ยวกับ แอนท์ ไฟแนนเชียล กลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส (Ant Financial Services Group) มุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ผู้คนทั่วโลก เทคโนโลยีต่างๆ ของเรา เช่น บล็อกเชน (Blockchain), ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence), ระบบรักษาความปลอดภัย, Internet of Things และระบบประมวลผล ช่วยให้เราและพาร์ทเนอร์ในระบบนิเวศน์ของเราสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Unbanked) หรือกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้บ้าง (Underbanked) โดยนำเสนอบริการด้านการเงินที่ปลอดภัย โปร่งใส ประหยัดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงได้ง่ายสำหรับบุคคลทั่วไปและธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วโลก แอนท์ ไฟแนนเชียล ได้จัดตั้งความร่วมมือระหว่างประเทศกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลก เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในตลาดดังกล่าว และเราให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนในต่างประเทศ ด้วยการเชื่อมโยงอาลีเพย์กับผู้ค้าออนไลน์และออฟไลน์ในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม แบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส ได้แก่ Alipay, Ant Fortune, Zhima Credit, MYbank และ Ant Financial Cloud หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอนท์ ไฟแนนเชียล โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.antgroup.com หรือติดตามเราบน Twitter @AntFinancial เกี่ยวกับอาลีเพย์ อาลีเพย์ (Alipay) ดำเนินงานโดยกลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส (Ant Financial Services Group) เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์และโมบายล์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2547 และปัจจุบันมีสถาบันการเงินในประเทศกว่า 1 พันล้านแห่งเข้าร่วมเป็นพันธมิตร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาลีเพย์ได้พัฒนาจากบริการดิจิตอลวอลเล็ต (Digital Wallet) สู่เครื่องมือที่รองรับไลฟ์สไตล์อย่างสมบูรณ์ โดยผู้ใช้สามารถเรียกแท็กซี่ จองห้องพักโรงแรม ซื้อตั๋วภาพยนตร์ จ่ายค่าสาธารณูปโภค นัดหมายเพื่อพบแพทย์ หรือซื้อผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารสินทรัพย์ได้โดยตรงจากภายในแอพ นอกเหนือจากการชำระเงินออนไลน์แล้ว อาลีเพย์ยังขยายครอบคลุมการชำระเงินแบบออฟไลน์ในร้านค้าทั้งในและนอกประเทศจีนอีกด้วย บริการชำระเงินในร้านค้าของอาลีเพย์ยังครอบคลุมกว่า 50 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ส่วนการขอคืนภาษีผ่านอาลีเพย์สามารถทำได้ใน 35 ประเทศและภูมิภาค อาลีเพย์ร่วมมือกับสถาบันการเงินและผู้ให้บริการชำระเงินในต่างประเทศกว่า 250 แห่ง เพื่อรองรับการชำระเงินระหว่างประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงลูกค้าต่างชาติที่ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซของจีน ปัจจุบันอาลีเพย์รองรับ 27 สกุลเงิน [1] Hotel.com - Chinese International Travel Monitor 2018 (CITM) – page 10 [2] Hotel.com - Chinese International Travel Monitor 2018 (CITM) – page 16 [3] Hotel.com - Chinese International Travel Monitor 2018 (CITM) [4] Hotel.com - Chinese International Travel Monitor 2018 (CITM) – page 17
แท็ก โมบาย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ