สสส. เปิดเวที “สุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นวาระสร้างสุขภาวะ13 กลุ่มประชากร” พบ 10 ปัญหากระทบสุขภาวะของชุมชน ต้องเร่งแก้ไขหนี้สินครัวเรือน-ภัยพิบัติ-จัดการอาหาร ชี้ภาวะผู้นำช่วยได้ เร่งบ่มเพาะสุดยอดผู้นำท้องถิ่นทั่วไทยเกราะป้องกันช่วยฟื้นฟูท้อ

ข่าวทั่วไป Thursday October 3, 2019 17:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดเวที "สุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นวาระสร้างสุขภาวะ13 กลุ่มประชากร" โดยมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน ผู้นำชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ ร่วมงานเกือบ 4,000 คน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อกระตุ้นกลไกการทำงานในพื้นที่ พร้อมเสริมศักยภาพผู้นำท้องถิ่นเพื่อสร้างสุขภาวะ 13 กลุ่มประชากร เปิดโอกาสให้ผู้นำในท้องถิ่นแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่ และขยายแนวคิดเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมทำงานสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนทั่วประเทศ จากข้อมูลระบบฐานข้อมูลตำบล จาก 2,148 อปท. ครอบคลุม 2.4 ครัวเรือน ประชากร 8.8 ล้านกว่าคน ที่เก็บข้อมูลทุกมิติของชุมชน ทั้งสุขภาพ เครษฐกิจ ทำให้วิเคราะห์พบปัญหาที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับผลกระทบ 10 ประเด็นสุขภาวะ ดังนี้ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ครัวเรือนมีผู้สูงอายุ 52.8% ในจำนวนนี้ อยู่คนเดียวลำพัง 11.3% 2.การดูแลเด็กปฐมวัยในชุมชน 3.การเฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัว พบว่า ครัวเรือนมีหนี้สิน 51.4% วัยทำงานว่างงาน 6.1% ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 4.การจัดการขยะ แม้ชุมชนจัดการขยะมากถึง 86.1% แต่ยังมีปัญหาเรื่องบ่อขยะ ปัญหาจัดการขยะอินทรีย์ 5.การจัดการภัยพิบัติ มีครัวเรือน 34.7% ได้รับผลกระทบภัยพิบัติธรรมชาติโดยเฉพาะปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมมาก น.ส. ดวงพร กล่าวต่อว่า 6.การดูแลสุขภาพชุมชน พบผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7% ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานมากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐเน้นการอบรม อสม. แต่ไม่เพียงพอ จึงต้องทำความรอบรู้สุขภาพไปถึงครอบครัวให้ได้ด้วย 7.การจัดการอาหารชุมชน มีการทำเกษตรมากถึง 97.1% ซึ่งเป็นฐานที่เลี้ยงคนทั้งประเทศได้ แต่จะทำอย่างไรให้ผลผลิตที่ออกมาปลอดภัย ปลอดสารเคมี เพราะพบการใช้สารคมีสูงถึง 12.5% 8.การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด มีคนสูบบุหรี่ 6.8% 9ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอุบัติเหตุจราจร มีคนที่ดื่มประจำ 7.5% ดื่มแล้วขับ 6.9% และ 10. เศรษฐกิจชุมชน จะสำรวจต่อไปในเครือข่าย ทั้งนี้สสส. ได้ร่วมกับเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 3,131 แห่งทั่วประเทศ ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนทั้งการสร้างองค์ความรู้ สร้างกลไกการกระบวนการทำงาน สร้างเครือข่ายการทำงาน เพื่อยกระดับให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีทุกมิติ โดยน้อมนำศาสตร์ของพระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ด้านนายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. กล่าวว่า สสส. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาวะผู้นำ เพราะผู้นำคือ คนที่คนยอมรับและคนเชื่อถือ ทั้งเรื่องความคิด คำพูด การกระทำ ซึ่งภาวะผู้นำเรียนรู้กันได้ สสส. จึงมุ่งฝึกบุคลากรของชุมชนท้องถิ่นให้มีภาวะความเป็นผู้นำ เพื่อพัฒนาส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในพื้นที่ได้ และยกระดับให้เป็นสุดยอดผู้นำคือ คนที่สร้างผู้นำ โดยความเป็นผู้นำประกอบด้วย 10 ประการ ดังนี้ 1.คำนึงประโยชน์ส่วนรวม 2.ตั้งใจเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่ 3.ซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใส ตรวจสอบได้ 4.รักษาไว้ซึ่งคุณธรรม มีจริยธรรมไม่เลือกปฏิบัติ 5.คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่หยุดนิ่ง 6.ทำงานร่วมกับทุกฝ่ายทุกภาคส่วน 7.เรียนรู้และพัฒนาด้วยข้อมูลที่เป็นจริง 8.ประพฤติตนให้เป็นที่ยอมรับ 9.ร่วมสร้างผู้นำชุมชนท้องถิ่นรุ่นใหม่ และ10. สร้างเครือข่ายในหลากหลายลักษณะ ทั้งนี้ ประชากรกลุ่มเฉพาะ 13 กลุ่ม ประกอบด้วย เด็ก 0-2 ปี, เด็ก 3-5 ปี, เด็ก 6-12 ปี, เด็กและเยาวชน, หญิงตั้งครรภ์, วัยทำงาน, ผู้สูงอายุ, ผู้ติดเชื้อ, ผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ป่วยเรื้อรัง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, คนพิการ และผู้ต้องการความช่วยเหลือ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ