กองทุนแสงอาทิตย์ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มอีก 3 โรงพยาบาล ในภาคอีสาน ขับเคลื่อนมาตรการ Net Metering

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 22, 2019 13:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนและนักปั่นจักรยานอิสระ ร่วมติดตั้งระบบโซลาร์รูปท็อปที่โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่นในช่วงวันที่ 18,19 และ 22 ตุลาคมตามลาดับ พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคสมทบทุนเข้ากองทุนแสงอาทิตย์และร่วมลงชื่อผลักดันให้คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกมาตรการ Net Metering ระบบการรับซื้อไฟฟ้าหักลบหน่วยที่เป็นธรรมจากโซลาร์รูฟของบ้านเรือนประชาชน จักรยานรณรงค์ "ปั่นเพื่อโรงพยาบาลแสงอาทิตย์" เริ่มขบวนจากสถานีรถไฟวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี นับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 เป็นต้นมา และเดินทางไปสิ้นสุดที่โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยมีนักปั่นหลักและนักปั่นสมทบตลอดระยะทางราว 550 กิโลเมตร กองทุนแสงอาทิตย์เปิดระดมการบริจาคออนไลน์(Crowdfunding) โดยมีเป้าหมายติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้กับโรงพยาบาล7แห่งในทุกภูมิภาคภายในปี 2562 นี้ [1]ระบบการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์นี้เป็นระบบออนกริดหรือโดยไม่ใช้แบตเตอรี่สารองแต่ยังเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้าฯ นาไปสู่การลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมกันทั้งสิ้นราว 18ล้านบาทต่อปี[2] และลดผลกระทบจากการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลขนาดใหญ่ทั่วประเทศตามที่ระบุในแผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย [3] "โรงพยาบาลจะต้องนางบประมาณที่ได้รับในแต่ละรอบปีงบประมาณมาใช้จ่ายค่าไฟฟ้าปีละหลายล้านบาทเพื่อการดูแลรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วย การบริจาคของประชาชนทั่วประเทศให้กับโรงพยาบาลในภาคอีสานทั้ง 3 แห่งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษและขอนแก่นเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์กาลังผลิตติดตั้งแห่งละ 30กิโลวัตต์ จะทาให้แต่ละโรงพยาบาลสามารถลดค่าไฟฟ้าอย่างน้อยปีละ 2 แสนบาทตลอดอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ และโรงพยาบาลตั้งเป้าหมายที่จะระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง" แพทย์หญิงดวงพร อัศวราชันย์ ผู้อานวยการโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กล่าว "โรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขจะต้องใช้งบประมาณอย่างน้อย 1ใน3ส่วนของงบประมาณที่จะได้รับในแต่ละปีงบประมาณมาใช้จ่ายค่าไฟฟ้า ซึ่งเงินเหล่านั้นก็มาจากเงินภาษีของประชาชน หากหน่วยงานของรัฐให้ความสาคัญกับการพึ่งตนเองด้านพลังงาน หันมาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ใช้เองจะทาให้สามารถลดค่าไฟฟ้าและงบประมาณได้ปีละหลายล้านบาท ดังนั้นกองทุนแสงอาทิตย์จะเดินหน้าร่วมกับประชาชนทั่วประเทศในการระดมทุนเพื่อให้เกิดโรงพยาบาลแสงอาทิตย์ให้ครบทั้ง 7แห่งภายในปีนี้เพื่อเป็นโมเดลให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดอื่นๆ" สารี อ๋องสมหวัง กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ กล่าว ประเทศไทยจาเป็นต้องนามาตรการ Net Metering การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของครัวเรือนอย่างเป็นธรรม [4] มาใช้เพื่อรับประกันถึงสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้และต้องแบกภาระค่าไฟฟ้าทุกเดือนมาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าและสามารถขายไฟฟ้ากลับเข้าสู่ระบบสายส่ง จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซประเทศไทย กล่าวปิดท้าย " มาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปของครัวเรือนที่มีอยู่ขาดเจตนารมย์ที่มุ่งมั่นของของคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน(กกพ.)ในการส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและขายคืนส่วนที่เกินเข้าสายส่งในราคาที่เป็นธรรม การเพิกเฉยดังกล่าวสะท้อนถึงการจัดการพลังงานที่ยังคงผลักภาระต้นทุนให้กับประชาชน" หมายเหตุ : [1] กองทุนแสงอาทิตย์เปิดรับบริจาคเงินจากประชาชนทั่วประเทศผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด(มหาชน) สาขาเซ็นเตอร์วัน ช้อปปิ้งพลาซ่า ชื่อบัญชี "กองทุนแสงอาทิตย์โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" เลขที่บัญชี 429-017697-4 โดยมีช่องทางการรับบริจาคและรับหลักฐานการบริจาคเงินทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.thailandsolarfund.org ทั้งนี้การบริจาคเงิน สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีประจาปีได้ ด้วยมูลนิธิฯ เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ลาดับที่ 576 ตามประกาศกระทรวงการคลัง [2] กองทุนแสงอาทิตย์เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาสังคมที่หลากหลายทั้งด้านผู้บริโภค การพัฒนาเด็ก สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อระดมทรัพยากรติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ทางานรณรงค์ผลักดันให้เกิดขยายตัวของระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในระดับครัวเรือน หน่วยงานและสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน และภาคธุรกิจ บนพื้นฐานของการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปพลังงานโดยการลงมือทาจริงในพื้นที่เป้าหมายและนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานหมุนเวียน www.thailandsolarfund.org เครือข่ายกองทุนแสงอาทิตย์ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน(คอบช), สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ), เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค, สมาคมประชาสังคมชุมพร, มูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต, บริษัทศูนย์บ่มเพาะวิศวกร จากัด, Solarder, โรงเรียนศรีแสงธรรม, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด), เครือข่ายสลัม4ภาค, มูลนิธิภาคใต้สีเขียว, เครือข่ายลันตาโกกรีน Lanta Goes Green, มูลนิธิสุขภาพไทย และกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [3] แผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย (Power Development Plan : PDP) 2561-2580 สานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ