“แผลกดทับ” ป้องกันได้ เริ่มที่ดูแลผิวให้แข็งแรง

ข่าวทั่วไป Tuesday November 12, 2019 11:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--3เอ็ม ประเทศไทย ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง นอกจากการกินยา และดูแลตามความจำเป็นในชีวิตประจำวันแล้ว เรื่องใหญ่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคงไม่พ้นเรื่อง "แผลกดทับ" เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ แต่รู้หรือไม่ว่า "แผลกดทับ" นั้นป้องกันได้ วันนี้ 3เอ็ม คาวิลอน จะมาช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "แผลกดทับ" ที่เป็นการบาดเจ็บหรือเกิดแผล อันเป็นผลจากเนื้อเยื่อถูกกดทับเป็นเวลานานหรือกดทับรุนแรง ทำให้เลือดผ่านมาเลี้ยงได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนและสารอาหารจนในที่สุดเนื้อเยื่อจะบาดเจ็บและตาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นเช่น สภาพผิวหนังที่อ่อนแอ เนื่องจากผิวเปียกชื้น ผิวบวมน้ำ การขาดสารอาหาร โรคและการรักษาที่มีผลต่อสภาพผิว รวมถึงการเสียดสี ทำให้เกิดเป็นแผลในที่สุด - ใครเสี่ยงต่อการเป็นแผลกดทับบ้าง? หลักๆ แล้วคือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ "ติดเตียง" ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมากๆ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่ขาดสารอาหาร และผู้ป่วยที่การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี โดยบริเวณที่เกิดแผลกดทับได้บ่อย ได้แก่ บริเวณที่มีหนังหุ้มกระดูก ตามปุ่มกระดูก เช่น ผู้ที่นอนหงายท่าเดียวนานๆ มักจะพบแผลกดทับที่บริเวณ กระดูกส้นเท้า กระดูกก้นกบ ข้อศอก สะบัก หรือผู้ที่นอนตะแคงท่าเดียวนาน ๆ จะพบแผลกดทับที่บริเวณ สันตะโพก ต้นแขน หู ตาตุ่ม เป็นต้น - แผลกดทับ น่ากลัวกว่าที่คิด เพราะแผลกดทับไม่ใช่แค่แผลธรรมดาทั่วไป อาจจะรุนแรงลึกถึงกระดูก เกิดการติดเชื้อและเนื้อตายซึ่งอาจลามไปสู่การตัดอวัยวะบางส่วนได้ โดยบริเวณที่ต้องดูแลเป็นอย่างมากเพราะเสี่ยงจะเป็นแผลกดทับและติดเชื้อได้ง่าย นั่นคือ บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งขับถ่ายนั่นเอง เพราะคนเราต้องขับถ่าย ผู้ป่วยติดเตียงก็เช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ เมื่อผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะแล้วของเสียมักจะค้างอยู่ในผ้าอ้อมระยะเวลาหนึ่งก่อนได้รับการทำความสะอาด จึงเกิดความอับชื้นได้ง่าย เสี่ยงต่อการอักเสบของผิวและเกิดแผลกดทับได้ง่ายที่สุด - ทำความสะอาดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง หนึ่งในการดูแลสุขภาพผิวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับคือดูแลให้สภาพผิวแข็งแรง มีความชุ่มชื้นที่พอดี และเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยนเหมาะสมกับสภาวะผิวของคนป่วยจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดแผลได้ เพราะในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่กลั้นสิ่งขับถ่ายไม่ได้ ผิวจะเปียกชื้นและอาจมีการอักเสบจากด่างและเอนไซม์ในอุจจาระ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นด่างต่อผิวและการขัดถู และความเปียกชื้นจากการล้างน้ำบ่อยครั้ง จะเสริมให้เกิดการอักเสบได้ด้วย ซึ่งผิวที่อักเสบแล้วมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้สูงถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับสภาพผิวปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงยังไม่มีแผลกดทับ 3เอ็ม คาวิลอน แนะนำว่า การป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบจากสิ่งขับถ่ายก็สำคัญ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ใน 3 ขั้นตอน 1. ทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์กรดอ่อนหรือสเปรย์ชนิดไม่ต้องล้างน้ำ ช่วยคงคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนของผิว ชนิดสเปรย์ใช้หลังจากเช็ดอุจจาระออกแล้ว ใช้แทนสบู่และน้ำหรือใช้แทนสำลีชุบน้ำ เพื่อลดความระคายเคือง 2. คืนความชุ่มชื้นผิวแห้ง คืนค่าความสมดุลให้กับผิวด้วยครีมที่มีค่า pH สมดุล เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการเกิดผิวหนังแตกแห้งจากการทำความสะอาดร่างกายทั่วไปในแต่ละครั้ง 3. เคลือบปกป้องผิวเปียกชื้น การใช้ครีมหรือสเปรย์ฟิล์มเคลือบปกป้องผิวก้นก่อนการใส่ผ้าอ้อม จะช่วยลดการเกิดการระคายเคืองจากการแช่สัมผัสสิ่งขับถ่าย เพียงแค่ใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้มีสภาพผิวที่แข็งแรงช่วยให้ห่างไกลจากแผลกดทับ จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวด ทรมาน และความเสี่ยงจากการติดเชื้อรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ