สร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนด้วย “ตราสารหนี้” ได้อย่างไร ในวันที่เศรษฐกิจโลกชะลอ

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday February 3, 2020 14:34 —ThaiPR.net

สร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนด้วย “ตราสารหนี้” ได้อย่างไร ในวันที่เศรษฐกิจโลกชะลอ กรุงเทพฯ--3 ก.พ.--ชมฉวีวรรณ ในปี 2562 ที่ผ่านมา แม้มีหลายปัจจัยเข้ามาสร้างความผันผวนต่อการลงทุน แต่ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ต่างๆ ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนในปี 2563 เป็นปีที่มีความท้าทายจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า และภาวะความตึงเครียดทางการเมืองในหลายประเทศ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ นักลงทุนจะบริหารพอร์ตเพื่อสร้างโอกาสอย่างไร เมื่อเร็วๆ นี้ ทีเอ็มบี เวลท์ แบงก์กิ้ง ได้จัดงานสัมมนาการลงทุน (Investment Talk) ในหัวข้อ "กลยุทธ์การบริหารพอร์ตตราสารหนี้ เพื่อสร้างโอกาสท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก" สำหรับลูกค้าธนบดีธนกิจของทีเอ็มบี ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการลงทุน พร้อมนำเสนอกลยุทธ์การสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญการลงทุน Mr. Supreet Bhan, Head of Southeast Asia Funds and Institutional, J.P. Morgan Asset Management, นายพงศ์สรร ยอดเมืองเจริญ FRM ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนบริหารผลิตภัณฑ์ ทีเอ็มบี อีสปริง และนายศรายุทธ แก้วเกษ เจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน ผลิตภัณฑ์กองทุนรวม ทีเอ็มบี "ไม่มีสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอไป ดังนั้น การกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์จะดีที่สุด เนื่องจากช่วยลดความผันผวนของพอร์ตได้" ด้วยบทสรุปนี้ นำมาสู่กลยุทธ์บริหารพอร์ตลงทุนของ J.P. Morgan Asset Management ซึ่งมีหลักการกระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์ เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทน และรับมือกับภาวะผันผวนที่อาจเกิดขึ้น โดยในปีนี้ช่วงเวลาสำคัญที่ต้องจับตามองว่าอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุน คือ เดือนกรกฎาคมที่ทั่วโลกต้องจับตาการส่งชื่อผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของพรรคเดโมแครตที่อาจมีแนวคิดซ้ายจัด และอาจมีความปั่นป่วนเกิดขึ้นในตลาดทุน และช่วงที่สำคัญที่สุดในเดือนพฤศจิกายนที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงในบางช่วง ดังนั้น การกระจายความเสี่ยงลงทุนใน "ตราสารหนี้" จะเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงทำให้พอร์ตการลงทุนไม่ผันผวนมาก "ตราสารหนี้" เป็นหนึ่งสินทรัพย์ที่ถูกมองว่ายังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ในปีนี้ แม้จะไม่สูงเท่ากับปี 2562 ซึ่งให้ผลตอบแทนระหว่าง 5-15% โดยผลตอบแทนของตราสารหนี้มีสองส่วนคือ ส่วนต่างราคา (Capital Gain) และ ดอกเบี้ย หรือ คูปอง (Coupon) ซึ่งปีที่ผ่านมาส่วนต่างราคาเป็นตัวสร้างผลตอบแทนที่ดีเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปีนี้การคาดหวังผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเริ่มคลี่คลายและมีโอกาสน้อยที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศจะปรับลดดอกเบี้ยต่อ ทำให้ในปีนี้เรายังคาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในตราสารนั้นๆเป็นหลัก ดังนั้นการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยสูงมีความน่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยที่ต่ำจนกระทั่งทำให้พันธบัตรหลายประเทศติดลบ เพราะแม้ว่าในปีนี้มีแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกจะเติบโตแบบชะลอลง แต่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาถูกมองว่ายังสามารถเติบโตได้ดี โดยภาคการบริโภคเป็นตัวจักรสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังทำงานได้ดี สะท้อนได้จากดัชนีชี้วัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจ้างงาน การเติบโตของค่าจ้าง ตัวเลขการสร้างบ้าน ล้วนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังชำระหนี้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ค่าจ้างในสหรัฐอเมริกาที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น แม้จะยังมีความกังวลในภาคการลงทุนที่ตัวเลขชะลอตัวลง อันมีสาเหตุหลักมาจากสงครามการค้า แต่มองว่าจะเป็นผลกระทบที่ไม่ได้ยาวนานมากนัก จึงทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริการเติบโตได้ดีกว่าหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม ตราสารหนี้มีหลากหลายประเภท ทั้งตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง ตราสารหนี้ที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ตราสารหนี้ที่เป็นอินเวสเมนท์เกรด หรือพันธบัตรรัฐบาลที่มีคุณภาพดี ซึ่งแต่ละประเภทจะให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงแตกต่างกันไป โดยเมื่อดูจากสถิติย้อนหลังไปหลายปีพบว่า ไม่มีตราสารหนี้ใดให้ผลตอบแทนสูงสุดหรือต่ำสุดเสมอไป บางปีตราสารหนี้หนึ่งให้ผลตอบแทนสูงมาก แต่ในอีกปีต่อมากลับมีตราสารหนี้อื่นให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น การกระจายการลงทุนอย่างหลากหลายจะดีที่สุด เพราะแม้อาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แต่ความผันผวนที่ต้องแบกรับก็ไม่ได้สูงมากเช่นกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยง แม้ปัจจุบันโลกการลงทุนเปิดกว้างให้นักลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงไปได้ทั่วทุกภูมิภาค แต่หลายคนอาจมีข้อจำกัดบางประการ ดังนั้น การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทน ซึ่งกองทุนทีเอ็มบี อีสปริง โกลบอล สมาร์ท บอนด์ ฟันด์ เป็นกองทุนที่มุ่งหาผลตอบแทนในการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก มีหลักการกระจายลงทุนไปในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ให้แก่นักลงทุนได้เป็นอย่างดี ด้วยจุดเด่นคือ A (Attractive Income Opportunities) ยิลด์ของพอร์ตอยู่ในระดับสูง (ประมาณ 5%), C (Controlled Risk)ความผันผวนไม่สูง โดยค่าเฉลี่ยความผันผวนย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 2.2% และ E (Effective Downside Protection) Max Drawdown (โอกาสที่จะขาดทุนจากการลงทุนในกองทุนนี้) อยู่ในระดับต่ำ โดยค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ -1.1% กองทุนนี้มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนที่ยืดหยุ่น มีความรวดเร็วในการปรับพอร์ตลงทุนให้เหมาะกับสถานการณ์ รวมถึงมีวิธีการทำกำไรทั้งในช่วงที่ดอกเบี้ยขาขึ้นและขาลง พูดง่ายๆ คือปรับพอร์ตไว และทำกำไรทั้งดอกเบี้ยขาขึ้นและขาลง ขณะที่มีการควบคุมความเสี่ยงและความผันผวนให้อยู่ในระดับต่ำด้วยการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลาย จึงมองว่ากองทุนนี้จะสามารถช่วยลูกค้าให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ไม่สูงมากนัก อีกทั้งกองทุนนี้มีการบริหารจัดการภายใต้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในตราสารหนี้รายภูมิภาค และแต่ละประเภทของตราสารหนี้ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตลงทุนได้ดี ท่ามกลางสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ตลอดจนรับมือกับภาวะความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้ในปีนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ