รีวิวไอเดีย เด็กวิศวฯ AUTO-TU ธรรมศาสตร์ สนุกกับเครื่องกล ยานยนต์ ที่ชอบกับอนาคตงานสดใสที่ใช่กับยานยนต์แห่งอนาคต

ข่าวทั่วไป Wednesday February 26, 2020 11:36 —ThaiPR.net

รีวิวไอเดีย เด็กวิศวฯ AUTO-TU ธรรมศาสตร์ สนุกกับเครื่องกล ยานยนต์ ที่ชอบกับอนาคตงานสดใสที่ใช่กับยานยนต์แห่งอนาคต กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ ไฮไลท์ 2 ปี AUTO-TU สู่ศูนย์พัทยา บรรยากาศร่มรื่น อยู่ติดแหล่งอุตสาหกรรมการผลิต หลักสูตรอัดแน่น เรียนรู้ศาสตร์ดีไซน์ การผลิตยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ สร้างบัณฑิตคุณภาพ ขานรับนโยบาย S-Curve ภาครัฐ ดันประเทศไทยสู่ Hub ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทุกวันนี้แม้ว่าโลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยแค่ไหน ผ่านมาหลายศตวรรษ "ยานยนต์" ยังคงเป็นพาหนะสำคัญสำหรับพวกเราทุกคน เพื่อใช้ในการเดินทางไปตามจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน บ้าน ตลาด และสถานที่ท่องเที่ยว แต่ขณะนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกกำลังทรานส์ฟอร์เมชั่นครั้งใหญ่ จากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า และในอนาคตเทคโนโลยีพัฒนาไปไกลถึงขั้นมีรถยนต์ไร้ขับคนเพิ่มความล้ำยุคไปอีก สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จากการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ตัวเลขจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดการณ์ในปี 2562 การส่งออกรถยนต์ราว 1.1 ล้านคัน ดังนั้นในอนาคตตลาดแรงงานจึงต้องการผู้ที่มีความรู้และความสามารถทางด้านวิศวกรรมยานยนต์จำนวนมาก โดยในครั้งนี้น้อง ๆ นักศึกษา จากสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO-TU) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หรือ TSE มาถ่ายทอดประสบการณ์การเรียน ที่ศูนย์พัทยา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ารั้วมหาวิทยาลัย เทคนิคการสอนอาจารย์ดีเยี่ยม มิตรภาพคำว่าเพื่อน นายวีรภัทร ทวีปรีดา นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO-TU) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. เนื่องจากแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตอีกมาก สวนทางกับตลาดแรงงานที่ไม่สามารถผลิตบุคคลากรสอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ จึงตัดสินใจเลือกเรียนสายวิศวกรรมยานยนต์ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์อัจฉริยะ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งของโลก การเรียนการสอนหลักสูตร AUTO-TU มีความโดดเด่นและน่าสนใจ โดยยึดหลักให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ควบคู่กับการมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมกับเป็นการเรียนแบบบูรณาการระหว่างการเรียนกับการทำงาน (Work Integration learning) เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เทอม 2 ได้ประสบการณ์การฝึกงานจากเครือข่ายพันธมิตรและภาคอุตสาหกรรม หรือร่วมกับองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาฝึกงานประมาณ 2 - 3 เดือน และเมื่อเรียนปี 4 เทอม 2 สามารถเลือกทำวิจัยในหัวข้อที่สนใจหรืออาจารย์กำหนด หรือจะเลือกไปทำงานกับบริษัทที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยก็ได้ นายวีรภัทร เล่าว่า การเรียนหลักสูตร AUTO-TU ใช้ระยะเวลา 4 ปี โดย 2 ปีแรก จะเรียนที่ศูนย์รังสิต และ 2 ปีหลังจะเรียนที่ศูนย์พัทยา บรรยากาศการเรียนการสอนของอาจารย์เปิดกว้างให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด และเมื่อมาเรียนที่ศูนย์พัทยาแล้ว ยิ่งมีความประทับใจ เพราะการเรียนมีความเข้มข้นเข้าถึงเนื้อหาได้เป็นอย่างดี โดยมีอาจารย์คอยชี้แนะแนวทางตลอดการเรียนที่นี่ 2 ปี ส่งเสริมนักศึกษามีมุมมองกว้างขึ้น พรั่งพร้อมด้วยห้องแล็ปในการค้นหาและวิจัย เรียกว่ามีความครบครันทุกมิติ "ประสบการณ์การเรียน AUTO-TU อันล้ำค่า ที่ศูนย์พัทยา มีมากมายทั้งมิตรภาพจากเพื่อนๆ เทคนิคการสอนของอาจารย์ให้อิสระทางความคิด และการเรียนรู้ในสังคม ทำให้ถูกหล่อหลอมเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น และการศึกษาที่ มธ. ผมจึงได้รับโอกาสเปิดโลกกว้างมากขึ้น ได้รับทุนการศึกษาของสยาม มอเตอร์ กรุ๊ป โดยจะฝึกงานที่ประเทศไทย 2 สัปดาห์ และเดินทางไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่นเกือบ 2 เดือน" สำหรับเป้าหมายของชีวิต มีความมุ่งมั่นสู่อาชีพวิศวกรรมยานยนต์ เพื่อเดินตามหาความฝัน หลังจากเรียนจบต้องทำงานให้กับสยาม มอเตอร์ กรุ๊ป เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยตั้งใจจะนำความรู้ที่เรียนและประสบการณ์การฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไร้คนขับ มาสร้างสรรค์และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ และเป็นอุตสาหกรรมหลักสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไปในอนาคต 'ศูนย์พัทยา' โรงงานขนาดย่อมฝึกภาคปฏิบัติเพิ่มทักษะ นายกตัญ จันทร์แสนวิไล นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO-TU) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) เล่าว่า การตัดสินใจเข้ามาเรียน AUTO-TU เพราะชื่นชอบรถยนต์มาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งโต รู้สึกว่าตัวเองมีความหลงใหลศาสตร์ของเครื่องกล พอได้มาเรียนที่นี่ทำให้ผมเรียนรู้เทคโนโลยียานยนต์ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตหลากหลาย ซึ่งศูนย์พัทยา มีความพรั่งพร้อมทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนอันทันสมัย ทำให้นักศึกษาสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้จากทฤษฎีมาประยุกต์กับการปฏิบัติ ช่วยเพิ่มทักษะให้กับนักศึกษาที่กำลังจะก้าวไปสู่โลกของการทำงาน "เรียนในศูนย์พัทยา มีพื้นที่กว้างเปรียบเสมือนโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ขนาดย่อม มีเครื่องจักรแขนกล รถยก รถเครน ผมว่าอุปกรณ์ครบครันและมีความอันสมัยมาก การเรียนการสอนมุ่งการปฏิบัติเปิดกว้างทางความคิดให้กับนักศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ผมว่าดีเยี่ยม อากาศดีเพราะเป็นสถานที่เรียนรายล้อมด้วยภูเขา ขณะเดียวกันนักศึกษามีโอกาสได้ดูงาน ในโรงงานผลิตรถยนต์ชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี เรียกว่า เติมเต็มการเรียนรู้ได้ครอบคลุม" หลังจากจบการศึกษา AUTO-TU มุ่งหวังนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะสั่งสมมาตลอด 4 ปี ก้าวสู่อาชีพวิศวกรรมยานยนต์ 2 ด้านหลัก ๆ ที่ตัวเองใฝ่ฝัน คือเป็นวิศวกรรมผลิตยานยนต์ในเชิงพาณิชย์กับผู้ออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ และหากมีโอกาสวางแผนเรียนต่อประเทศเยอรมัน เพราะเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ขั้นสูง ส่วนทางด้านภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานกับบริษัทต่างชาติหรือหากต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศ เนื่องจาก AUTO-TU เป็นหลักสูตรภายใต้โครงการวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (TEP-TEPE) ดังนั้นการเรียนการสอนจึงเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาทุกคนจึงสามารถสื่อสารได้ดีอยู่แล้ว รศ. ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. หรือ TSE เผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัจจุบันมีมูลค่าถึงร้อยละ 5.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลกำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในการขับเคลื่อนไปอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดย TSE เปิดหลักสูตรวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO-TU) บ่มเพาะบัณฑิตรุ่นใหม่ด้วยศาสตร์แนวใหม่ "เป็นมากกว่าวิศวกร" เพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพก้าวสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ (Hub) ในอนาคต สำหรับการเรียนการสอน AUTO-TU มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลเป็นฐานสำคัญ อาทิ พลศาสตร์ความร้อน กลศาสตร์ของไหล การสั่นสะเทือนเชิงกล ฯลฯ รวมถึงวิชาเฉพาะทางเกี่ยวกับยานยนต์ อาทิ ออกแบบยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ การบริหารกระบวนการผลิตรถยนต์ ฯลฯ ภายใต้โครงการวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (TEP-TEPE) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ TSE ยังมีหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์" หรือ V-TECH หลักสูตรพันธุ์ใหม่ด้านเทคโนโลยียานยนต์ ที่สอนเป็นภาษาไทย เน้นการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ร่วมกับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ณ สถานประกอบการชั้นนำด้านเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศ โดยที่หลักสูตรดังกล่าว จะเป็นการเรียนการสอนที่ ศูนย์พัทยา เป็นเวลา 4 ปีการศึกษา "เรามุ่งการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning : WIL) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experimental Learning) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการฝึกงานกับองค์กรชั้นนำ เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานจริง และนำไปประยุกต์ใช้ก่อนสำเร็จการศึกษา" โอกาสดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ทาง TSE สนับสนุนการศึกษาผ่านโครงการ TEP-TEPE สำหรับนักศึกษาที่สนใจ สามารถยื่นคะแนนสอบวิชาเฉพาะของทางคณะฯ ผ่านระบบ TCAS (วิธีการสมัครอาจมีการเปลี่ยนแปลงในปีถัดไป) โดยทุนดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นทุนการศึกษาบางส่วน และทุนการศึกษาเต็มจำนวน ตลอดจนมีสิทธิ์ได้รับทุนดังกล่าวอีกในปีถัด ๆ ไป หากสามารถรักษาผลการเรียนและปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ตามที่ทางคณะกำหนด โดยนักศึกษาปี 2 มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.5 ขึ้นไป ยังมีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาจำนวนกว่า 450,000 บาท จากบริษัท สยามกลการ จำกัด หากผ่านการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการคัดเลือกของบริษัท และมีสิทธิ์เข้าทำงานกับบริษัททันทีเมื่อเรียนจบเป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO-TU) และหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) มีกำหนดเปิดรับสมัครในระบบ TCAS จำนวน 2 รอบ ดังนี้ ** Ffos.comns.in.thงแต่วันนี้ - รอบ 3 แอดมิชชัน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 17-27 เมษายน 2563 สมัครได้ที่ omนออก ได้แก่ จ.อรัญประเทศ จ.ฉะเชิงเทรา จ.จันทบุรี จ.ชลบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ตราด จ.สระแก้ว สมัครได้ที่ www.mytcas.com รอบ 4 แอดมิชชัน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-20 พฤษภาคม 2563 สมัครได้ที่ www.mytcas.com ติดตามความเคลื่อนไหวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ได้ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT หรือเว็บไซต์ www.engr.tu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ