แสดงความยินดี “ดร.พัชราภรณ์ วงษา” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP

ข่าวทั่วไป Wednesday March 11, 2020 08:31 —ThaiPR.net

แสดงความยินดี “ดร.พัชราภรณ์ วงษา” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP กรุงเทพฯ--30 มิ.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีและปรบมือให้กับ ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP (Registered Technology Transfer Professional) พร้อมทั้งได้รับใบ Certificate และเข็มกลัดจาก ATTP ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของพันธมิตร (Alliance) จาก 14 Associations ทั่วโลก ที่ทำหน้าที่พัฒนาบุคคลากรด้าน Knowledge exchange, Knowledge transfer และ Technology transfer เช่น AUTM, ASTP, ISTA, KCA และ PRAXIS AURIL เป็นต้น โดยดร.พัชราภรณ์ วงษา ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นผู้มี Core competencies และประสบการณ์ในการทำงานด้าน Knowledge transfer และ Technology transfer โดย Core competencies ที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาธุรกิจความรู้ด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ขั้นตอนการถ่ายทอดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาธุรกิจ Start-up รวมทั้งการทำงานระดับนโยบายในการผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม ในการยื่นขอ RTTP มีขั้นตอนและมีคุณสมบัติดังนี้ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่จัดขึ้นโดย Associations ที่เป็น Alliance ของ ATTP สำหรับประเทศไทย สามารถเข้ารับการอบรมได้ที่ APEC Biomedical Technology Commercialization Training Center (TCTC) ซึ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้ก่อตั้งขึ้นผ่านการสนับสนุนของ AUTM จากเวที APEC ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับเครดิตจาก AUTM ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมและสะสมเครดิตจนได้จำนวนอย่างน้อย 60 เครดิต และทำงานในสายงานอาชีพ Knowledge transfer และ Technology transfer เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป โดยเขียนบทความ (Essay) เป็นภาษาอังกฤษ ที่แสดงถึงการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ทำงานในอาชีพดังกล่าวอย่างประสบความสำเร็จ โดยส่งบทความภาษาอังกฤษไปที่ ATTP และจะมีการประเมิน (Review) อย่างเข้มข้น ด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติหลายท่าน หากผู้ใดผ่านการประเมิน จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP พร้อมทั้งได้รับใบ Certificate และเข็มกลัดจาก ATTP ในปัจจุบันมีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น RTTP แล้วทั่วโลกประมาณ 500 กว่าคน มีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหลักสูตร TCTC แล้วจำนวน 3 ท่าน คือ ดร.เลอสรร ธนสุกาณจน์, Ms. Eliza Stefaniw และ ดร.พัชราภรณ์ วงษา โดย ดร.พัชราภรณ์ เป็นคนไทยคนที่ 3 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน RTTP จากหลักสูตร TCTC
แท็ก ชีววิทยา   GIS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ