ส่องโอกาสการลงทุนหลังวิกฤต COVID-19 นิคมฯจีน-ไทย ฉงจั่ว..ประตูสู่อาเซียน

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday April 27, 2020 15:48 —ThaiPR.net

ส่องโอกาสการลงทุนหลังวิกฤต COVID-19 นิคมฯจีน-ไทย ฉงจั่ว..ประตูสู่อาเซียน กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--ไทย บิซ พาโนราม่า แม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงภาคอุตสาหกรรม แต่อาจไม่กระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย ฉงจั่ว ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองฉงจั่ว เมืองชายแดนทางตอนใต้ของจีนที่เต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ เป็นประตูเชื่อมต่อจีนกับอาเซียน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองของจีนที่ไร้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เมืองฉงจั่ว เป็นเมืองข้อต่อที่สำคัญบนเส้นทางคมนาคมทางบกจีน-อาเซียน อาเซียน ดังสมญานามที่ว่า “ประตูสู่เวียดนาม เดินสองก้าวถึงอาเซียน” โดยตั้งอยู่ติดชายแดนเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม 240 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย 1,700 กิโลเมตร ห่างจากท่าเรือนานาชาติชินโจว 130 กิโลเมตร ห่างจากฮ่องกง 1,100 กิโลเมตร และห่างจากนครหนานหนิง เมืองเอกของมณฑล 70 กิโลเมตร นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย ฉงจั่ว ตั้งอยู่ทางเหนือและตะวันออกของเมืองฉงจั่ว เป็นนิคมฯ ที่ฉงจั่วจัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าร่วมยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” และกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้ากับอาเซียน นิคมฯ มีช่องทางการคมนาคมที่สะดวกหลากหลาย (ทางด่วน: มีทางด่วนหลายเส้นผ่านนิคมฯ เช่น ทางด่วนหนานหนิง-เวียดนาม, ทางด่วนคุนหมิง-ท่าเรือนานาชาติอ่าวเป่ยปู้ / ทางรถไฟ: มีเส้นทางรถไฟขนส่งระหว่างประเทศสายมอสโก-ปักกิ่ง-ฮานอย และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่กำลังก่อสร้างตัดผ่านนิคมฯ / ทางน้ำ: จากนิคมฯ สามารถล่องแม่น้ำจั่วเจียง มุ่งขึ้นเหนือไปยังประเทศเวียดนาม มุ่งลงใต้ไปยังกว่างโจวและฮ่องกง / ทางเครื่องบิน: นิคมฯ อยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติวูซู่ 70 กิโลเมตร มีเที่ยวบินให้บริการเกือบ 200 เที่ยว ไปยังปลายทางกว่า 100 เมือง) นอกจากนี้ นิคมฯ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแรงงาน ทรัพยากรดิน แร่ธาตุ และป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของฉงจั่ว เพื่อสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมต่างๆ ทิศทางการดำเนินงานของนิคมฯ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างจีนและไทยที่มีอยู่เดิม เสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่ (Strategic Emerging Industry) มุ่งเน้นการสร้างโครงการและฐานอุตสาหกรรมใน 6 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมวัสดุรูปแบบใหม่ อุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อยหมุนเวียน อุตสาหกรรมอาหารอาเซียน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบันนิคมฯ มีห่วงโซ่อุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลอ้อยหมุนเวียนที่ค่อนข้างครบวงจร มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมแปรรูปแมงกานีสและแร่ธาตุหายากที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ประสบความสำเร็จในการดึงดูดบริษัทที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศกว่า 100 แห่งเข้ามาลงทุนในนิคมฯ เช่น น้ำตาลมิตรผล, PRINCE, CHALCO, COFCO, CNBM, Angel Yeast, CITIC Dameng ฯลฯ กลายเป็นกำลังหลักให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองฉงจั่ว โอกาสการลงทุนในนิคมฯจีน-ไทย ฉงจั่ว จึงยังมีอีกมาก หลังวิกฤต COVID-19 โดยนิคมฯ พร้อมเดินหน้าสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ยกระดับคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง สร้างเขตอุตสาหกรรมใหม่ด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและคุณภาพดีเยี่ยม พร้อมเปิดต้อนรับนักลงทุนเข้ามาศึกษาดูงานและลงทุนปักฐานความสำเร็จที่นิคมฯ เมื่อมีวิกฤตย่อมมีโอกาส ถึงเวลาเตรียมแผนรับมือฟ้าหลังฝน เดินหน้าการลงทุนอีกครั้ง หลังสถานการณ์ต่างๆเริ่มฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ