วศ.อว. แนะใส่ใจเลือกภาชนะเมลามีนเหมาะสม ปลอดภัยในช่วงกินร้อนป้องกันโควิด – 19

ข่าวทั่วไป Friday May 15, 2020 10:17 —ThaiPR.net

วศ.อว. แนะใส่ใจเลือกภาชนะเมลามีนเหมาะสม ปลอดภัยในช่วงกินร้อนป้องกันโควิด – 19 กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)แนะนำประชาชนผู้บริโภคให้ใส่ใจในการเลือกใช้ภาชนะเมลามีนบรรจุอาหาร ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานบรรจุอาหารในช่วงที่ต้องอุ่นอาหารให้รร้อนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 นี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยศุนย์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหารมีภารกิจหลักในการทดสอบคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ อาหาร น้ำ และวัสดุสัมผัสอาหารด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ รวมถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจ การเลือกใช้วัสดุสัมผัสอาหาร หรือภาชนะบรรจุอาหารให้เหมาะสม ลดความเสี่ยงการใช้ภาชะที่ไม่มีคุณภาพ จะได้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่มากับภาชนะบรรจุ โดยเฉพาะภาชนะเมลามีนที่คนส่วนใหญ่มักนำมาใช้งานไม่เหมาะสม เนื่องจากเข้าใจผิด คิดว่าภาชนะเมลามีนเป็นภาชนะที่ทนความร้อนได้สูงมาใช้บรรจุอาหารร้อนจัดซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้มีสารละลายปนเปื้อนมากับอาหารได้ จึงมีข้อแนะนำการใช้เมลามีนดั้งนี้ 1.ควรเลือกภาชนะที่มีเครื่องหมาย มอก. 2.ไม่นำไปใช้กับของร้อนอุณหภูมิสูงกว่า 95 องศาเซลเซียสงเป็นเวลานาน 3.ไม่นำไปใช้กับอาหารรสจัด 4.ห้ามใช้งานกับไมโครเวฟ 5. ไม่ควรใช้อุปกรณ์แข็งในการล้างทำความสะอาดป้องกันการเกิดรอยขีดข่วน การเลือกภาชนะบรรจุอาหารควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน และควรระวังไม่ใช้ภาชนะพลาสติกเมลามีนเลียนแบบที่ทำจากพลาสติกยูเรีย – ฟอร์มาลดีไฮด์ ลักษณะที่คล้ายกับภาชนะเมลามีนวางขาย ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้บรรจุอาหาร บางครั้งจะเลียนแบบโดยการเคลือบผิวด้วยพลาสติกเมลามีน ทำให้แยกแยะได้ยากยิ่งขึ้น ภาชนะเลียนแบบเหล่านี้ทนอุณหภูมิได้ต่ำเมื่อนำมาใช้งานจึงมีความเสี่ยงสูงกับการได้รับสารปนเปื้อนมากับอาหาร ข้อสังเกตคือภาชนะเลียนแบบเหล่านี้จะมีราคาถูกวางขายทั้งที่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐาน ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ศูนย์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 02-201-7308 หรือเบอร์ 02-2017000 ในวันและเวลาราชการ หรือติดตามข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้ทางเพจ Doctor D. ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ