เมื่ออาการปวดหัวในเด็ก อาจไม่ใช่เรื่องเด็กๆ อย่างที่คิด

ข่าวทั่วไป Friday November 26, 2021 16:36 —ThaiPR.net

เมื่ออาการปวดหัวในเด็ก อาจไม่ใช่เรื่องเด็กๆ อย่างที่คิด

เมื่ออาการปวดหัวในเด็ก อาจไม่ใช่เรื่องเด็กๆ อย่างที่คิด

อาการปวดหัวในเด็ก เป็นหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น มีภาวะไข้, ไซนัสอักเสบ, จากความเครียด (Tension headache) แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะปวดหัวในเด็ก อาจเกิดจากสาเหตุที่อันตรายได้ ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง จึงควรใส่ใจและไม่เพิกเฉยต่ออาการปวดหัวของลูก

อาการปวดหัวในเด็กเกิดจากอะไร?อาการปวดหัวในเด็ก สามารถแบ่งได้ เป็น 2 แบบ

  • อาการปวดหัวแบบปฐมภูมิ (Primary headache) เป็นอาการปวดหัวที่ไม่มีสาเหตุหรือพยาธิสภาพที่ชัดเจน เช่น อาการปวดหัวไมเกรน (Migraine headache), อาการปวดหัวจากความเครียด(Tension typed headache)
  • อาการปวดหัวแบบทุติยภูมิ (Secondary headache)เป็นอาการปวดหัวที่มีสาเหตุหรือพยาธิสภาพ โดยอาจจะมีสาเหตุที่ไม่อันตราย เช่น มีไข้ หรือ การติดเชื้อบริเวณไซนัส แล้วปวดหัวหรือ มีสาเหตุที่อันตราย อย่างเช่น มีภาวะติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS infection), มีก้อนเนื้องอกในระบบประสาท, มีเลือดออกในสมอง หรือ มีภาวะความดันในสมองสูง (Increased intracranial pressure) ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา อาจจะส่งผลถึงแก่ชีวิตได้
  • ปวดหัวอย่างไร? ที่พ่อแม่ไม่ควรเพิกเฉย ควรรีบมาพบแพทย์หากบุตรของท่านมีอาการปวดหัวลักษณะแบบนี้ ควรรีบมาพบแพทย์

    • อาการปวดหัวรุนแรงฉับพลันทันที อาจจะเกิดจาก ภาวะเลือดออกในสมองได้
    • มีอาการอื่นทางระบบประสาทร่วมด้วย ชัก อ่อนแรง ซึม เดินเซ เห็นภาพซ้อน หรือ จะจำง่ายๆ ว่า "ชัก อ่อน ซึม เซ ซ้อน"
    • อาการปวดหัวเรื้อรังที่ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆปวดมากจนอาเจียน
    • มีอาการปวดหัวมากจนต้องตื่นมาตอนกลางคืน (awakening pain) หรือ ตื่นมาแล้วปวดหัวมาก
    • มีอาการปวดหัวมากขึ้น เมื่อ ไอ จาม เบ่ง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการปวดหัวอันตรายหรือไม่?โดยปกติ มักวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจค้นเพิ่มเติม จะทำในกรณีที่ประวัติและการตรวจร่างกาย สงสัยว่าอาจจะมีสาเหตุที่อันตรายในสมอง

    • การตรวจภาพสมอง (CT scan หรือ MRI) พิจารณาทำ ในกรณีที่จากประวัติและการตรวจร่างกาย ชวนให้สงสัยว่าอาจจะมีพยาธิสภาพในสมอง เช่น มีเนื้องอกในสมอง มีน้ำคั่งในโพรงสมอง
    • การเจาะน้ำไขสันหลัง จะพิจารณาในกรณีที่สงสัยภาวะติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง หรือ ความดันในสมองสูงแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Intracranial Hypertension)

    เด็กปวดหัวแต่ละแบบ รักษาอย่างไร?

    • หากปวดหัวฉับพลันแต่ไม่รุนแรงมาก ไม่รบกวนชีวิตประจำวัน และ มีสาเหตุที่พออธิบายได้ เช่น มีไข้ อากาศร้อน นอนไม่พอ หลังได้ยินเสียงดัง อาจจะพิจารณาให้ยาพาราเซตามอลร่วมกับให้นอนพัก และ สังเกตอาการ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์
    • หากปวดหัวฉับพลันอย่างรุนแรง หรือ ปวดหัวฉับพลันร่วมกับมีสัญญาณเตือนอย่างที่อธิบายไว้ข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์
    • หากปวดหัวเรื้อรัง (ปวดหัว นานเกินกว่า 15 วัน) ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาตามการวินิจฉัย

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1629

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ